เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
การถ่ายโอนอำนาจการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.)
กลับสู่ความสนใจของสังคมอีกครั้ง
เมื่อคณะรัฐมนตรีรักษาการได้มีมติให้มีการถ่ายโอนได้ในบางส่วน
ขณะที่หลายส่วนให้มีการทบทวนกันใหม่การดำเนินการถ่ายโอนโรงเรียนแก่
อปท.
สะท้อนแนวคิดในการดำเนินงานของรัฐบาลดังนี้
ความไม่รอบคอบและไม่ดำเนินงานอยู่บนฐานการวิจัย
เห็นได้จากการไม่มีหลักเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนโรงเรียนที่ถ่ายโอนให้แก่
อปท.
แม้ว่ามติ
ครม.
เมื่อวันที่
8
พฤศจิกายน
2548
ได้กำหนดโควต้าสำหรับ
อปท.
โดยยึดตามประสบการณ์ในการจัดการศึกษา
แต่ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้มีการวิจัยรองรับ
เป็นเพียงตัวเลขที่เกิดจากการต่อรองระหว่างคณะกรรมการการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
(กกถ.)
และกระทรวงศึกษาธิการ
ล่าสุดการรักษาการนายกฯ
ได้เปรยในที่ประชุม
ครม.
เมื่อวันที่
20
มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า
กรณี
อปท.ที่รับโอนโรงเรียนไม่เกิน
10
โรงเรียนให้สามารถถ่ายโอนได้
หากเกินจากนี้ให้มีการศึกษาความพร้อมต่อไป
คำถามคือตัวเลขดังกล่าวมีที่มาที่ไปอย่างไร
เหตุใดจึงกำหนดให้ถ่ายโอนได้ในจำนวนดังกล่าว
ผมเห็นว่า
วิธีการทำงานที่ไม่มีฐานการวิจัยรองรับ
หรือไม่ได้อยู่บนฐานข้อมูลที่ดีนั้น
อาจสร้างความเสียหายต่อประเทศในระยะยาว
ผู้เรียนไม่ควรกลายเป็นหนูทดลองระบบ
ดังตัวอย่างของความวุ่นวายที่เกิดจากระบบแอดมิชชั่นก่อนหน้านี้ไม่นาน
และในส่วนของ
อปท.นั้น
อาจไม่ยุติธรรมสำหรับ
อปท.
ที่สามารถรับผิดชอบจำนวนโรงเรียนที่ไม่เท่ากัน
ดังนั้นการระบุจำนวนที่ตายตัวเกินไปอาจไม่เหมาะสม
แต่รัฐบาลควรใช้หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานอื่นที่เข้มงวดมากกว่าในการกำหนดเงื่อนไข
และในระยะแรกควรมีหลักเกณฑ์ในการประเมินและการตรวจสอบที่เข้มงวดเพื่อรักษามาตรฐานด้านการศึกษา
การสร้างค่านิยมที่ผิดแก่วงการการศึกษา
เห็นได้จากข้อสรุปของที่ประชุมที่ให้ถ่ายโอนโรงเรียนในฝันได้
เพราะข้อเสนอของ
อปท.ที่เสนอจะช่วยเหลือโรงเรียนทั้งในด้านการจัดสรรบุคลากรที่ขาดแคลนและงบประมาณ
โดยเฉพาะการที่
อปท.เสนอที่จะชำระหนี้ของโรงเรียนเหล่านั้นหากยอมให้ถ่ายโอนไปอยู่กับ
อปท.
เหตุผลดังกล่าวถือว่า
เป็นการสร้างค่านิยมที่ไม่ดีแก่โรงเรียน
คือ
การตัดสินใจโดยใช้ผลประโยชน์ทางการเงินเป็นที่ตั้ง
แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพิจารณาว่าเมื่อถ่ายโอนไปแล้วการศึกษาจะมีคุณภาพหรือไม่
ผมเห็นว่า
โครงการของรัฐบาลหลายโครงการมีวัตถุประสงค์ที่ดีในการพัฒนาการศึกษา
แต่ในทางปฏิบัติกลับใช้วิธีการหรือสร้างค่านิยมที่ผิด
โดยเฉพาะการเน้นการสร้างวัตถุและจัดซื้ออุปกรณ์
แต่ไม่ได้พัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพขึ้นมาได้จริง
ดังเช่น
โครงการโรงเรียนในฝัน
ที่มีแนวคิดเพื่อยกระดับโรงเรียนคุณภาพปานกลางให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพดี
แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ
รัฐจัดสรรงบประมาณให้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น
และเกณฑ์การประเมินคุณภาพโรงเรียน
เน้นการพิจารณาวัสดุอุปกรณ์
โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของบริบทแต่ละโรงเรียน
ทำให้โรงเรียนหลายแห่งเน้นการจัดซื้อวัสดุ
คอมพิวเตอร์เข้าโรงเรียน
เพื่อเร่งพัฒนาโรงเรียนให้ผ่านเกณฑ์ประเมินเป็นโรงเรียนในฝัน
แทนที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น
รวมทั้งขาดกลไกให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างจริงจัง
ทำให้การระดมทรัพยากรจากภาคส่วนต่าง
ๆ
ทำได้ยาก
ผลที่ตามมาคือ
หนี้สินกองโตที่ผู้บริหารต้องแบกรับ
ดังกรณีผู้บริหารโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส
ผูกคอตายเนื่องจากเครียดที่เป็นหนี้จัดซื้อคอมฯ
เข้าโรงเรียนกว่า
3
ล้านบาท
เพื่อให้โรงเรียนผ่านการประเมิน
ทีผ่านมารัฐบาลได้รับบทเรียนจำนวนมากที่เกิดจากการดำเนินงานที่ผิดพลาด
และขาดการฟังเสียงจากประชาชน
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องกลับมาคิดทบทวนนโยบายและไม่เดินซ้ำรอยเก่า
โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับลูกหลาน
ซึ่งถือว่าเป็นอนาคตของชาติ
จึงต้องมีความรอบคอบ
จริงใจที่จะเห็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
และไม่ควรเห็นแก่ประโยชน์ระยะสั้น
เพื่อพวกพ้องหรือเห็นแก่ฐานเสียงทางการเมืองเมื่อใกล้ถึงเวลาเลือกตั้ง
เพราะนั่นอาจเป็นการสร้างปัญหาในระยะยาว
และดึงระบบการศึกษาดิ่งลงสู่ห้วงเหวลึก
และยิ่งห่างไกลจากคำว่า
ปฏิรูปการศึกษา
|