เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
จากการที่กระทรวงการคลังมีมาตรการบังคับให้รัฐวิสาหกิจต้องส่งรายได้เข้าคลังเพิ่มอีกร้อยละ
15
โดยรายได้ที่ต้องนำส่งในปีงบฯ
2549
แบ่งตามประเภทของรัฐวิสาหกิจ
เช่น
กลุ่มสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพิ่มการนำส่งรายได้เป็นร้อยละ
45
ของกำไรจากเดิมร้อยละ
30
และนำส่งให้เร็วขึ้นจากเดิม
1
ครั้งต่อปี
เป็น
2
ครั้ง
เพื่อให้ทันกับรายจ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นนั้น
มาตรการของกระทรวงการคลังดังกล่าวนี้
นอกจากจะเป็นสัญญาณที่สะท้อนว่าฐานะการคลังของรัฐบาลมาถึงจุดอันตรายแล้ว
นโยบายนี้ยังส่งผลให้รัฐวิสาหกิจเสียโอกาสในการพัฒนาองค์กรอีกด้วย
หากดูตัวเลขเฉพาะรายได้เดือนมีนาคมหลังประกาศมาตรการ
มียอดสุทธิ
1.03
แสนล้านบาท
เกินเป้า
2.19
พันล้านบาท
หรือ
ร้อยละ
2.2
ของเป้าที่ตั้งไว้
เหตุที่เก็บรายได้เกินเป้ามาจากรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ให้รัฐถึง
1.22
หมื่นล้านบาท
ประมาณว่ามาตรการนี้จะทำให้ยอดรายได้ของรัฐบาลที่มาจากรัฐวิสาหกิจเพิ่มเป็นปีละประมาณกว่าแสนล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ
8-10
ของงบฯ
รายจ่ายประจำปี
แท้จริงแล้วมาตรการนี้ออกมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการคลังที่รุนแรง
โดยผลเสียของการแก้ปัญหาระยะสั้น
แต่ในระยะยาวรัฐวิสาหกิจจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
เพราะการดึงรายได้รัฐวิสาหกิจที่ฝากธนาคารมาให้กระทรวงการคลังทั้งหมดจะทำให้ต่อไปรัฐวิสาหกิจไม่มีเงินเก็บเหลือเพียงพอจะนำไปลงทุน
ทั้ง ๆ
ที่เงินส่วนนี้ถือเป็นงบประมาณลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
เป็นส่วนกำไรที่นำไปขยายกิจการ
โดยประมาณว่าในแต่ละปีจะมีงบลงทุนรัฐวิสาหกิจประมาณ
3
แสนล้านบาท
รวมแล้วมากกว่า
100
โครงการ
มาตรการนี้ทำให้งบลงทุนหายไปประมาณแสนล้าน
เหลือเพียง
2
แสนล้านบาทเท่านั้น
หรือเหลือจำนวนโครงการเพียงประมาณ
2
ใน
3
ของโครงการทั้งหมด
หลักเกณฑ์ใหม่ที่กระทรวงการคลังออกมาถือว่า
ทำให้รัฐวิสาหกิจเสียโอกาสที่จะพัฒนาองค์กรของตนหรืออาจเรียกว่า
ดับฝัน
รัฐวิสาหกิจที่จะลงทุนในโครงการใหม่ๆ
ที่พัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีศักยภาพไปพร้อมกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและการแข่งขันกับเอกชนและนักลงทุนต่างชาติ
นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจจะขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
เพราะไม่มีทุนในมือ
และต่อนี้ไปการขยายการลงทุนในโครงการใหม่หรือโครงการขนาดใหญ่
เช่น
การลงทุนขยายสายส่งของบริษัทกฟผ.
การลงทุนด้านเครือข่ายเพื่อแข่งขันกับเอกชนของบริษัททีโอที
หรือการบินไทยจะซื้อเครื่องบินใหม่
จะเป็นไปได้ยาก
เพราะลำพังกระทรวงการคลังเองก็แทบจะเอาตัวเองไม่รอดอยู่แล้ว
มาตรการนี้จะไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องได้
ตราบใดที่รัฐบาลยังดำเนินนโยบายประชานิยม
และขาดวินัยทางการเงินการคลัง
เช่นที่เป็นอยู่นี้
|