เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ในรอบ
3
เดือนที่ผ่านมานั้นดุลการค้าของประเทศ
ขาดดุลต่อเนื่องทั้ง
3
เดือน
ซึ่งสาเหตุหลักของการขาดดุลการค้า
คือ
การนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก
รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเน้นการเพิ่มการส่งออก
ปรับเป้าหมายการส่งออก
เป็นร้อยละ
20
โดยหวังว่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนี้จะช่วยทำให้ประเทศไทยไม่ขาดดุลการค้าหรือขาดดุลการค้าลดลง
แต่ในความเห็นของผมคิดว่าการขยายการส่งออกนั้น
ไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าได้
เนื่องจาก
สาเหตุสำคัญยังไม่ได้รับการแก้ไข
นั่นคือ
เรายังคงต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนมากอยู่
การที่ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันจำนวนมากนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาล
โดยเฉพาะการตรึงราคาน้ำมัน
ซึ่งบิดเบือนกลไกตลาด
ทำให้การใช้น้ำมันดีเซลในประเทศปี
2547
อยู่ในระดับสูง
คือ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ
11.7
เมื่อเปรียบเทียบกับปี
2544-2546
อัตราเพิ่มเฉลี่ยเพียง
ร้อยละ
5.4
ต่อปี
ส่งผลให้สัดส่วนการใช้ดีเซลต่อน้ำมันรวมทุกประเภทในปี
2547
เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ
47.1
จากร้อยละ
44.6
ในปี
2544
นอกจากนี้การตรึงราคาน้ำมันบิดยังสร้างภาระให้แก่ประชาชนมากขึ้นด้วย
เนื่องจาก
กองทุนน้ำมันได้ใช้เงินตรึงราคาน้ำมันไปแล้วถึง
83,594
ล้านบาท
(26
เม.ย.2548)
และรัฐบาลได้ออกพันธบัตรเพื่อหาเงินมาคืนโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ย
5%
ซึ่งเท่ากับว่าประชาชนต้องรับภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นปีละ
4,000
ล้านบาท
โดยไม่จำเป็น
นอกจากการตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่เป็นเหตุให้เกิดการนำเข้าน้ำมันมากขึ้นแล้วยังมีปัจจัยอื่นด้วย
เช่น
การพัฒนาพลังงานทดแทนไม่มีความก้าวหน้ามากนัก
และประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ต่ำ
เห็นได้จากการที่ไทยต้องใช้พลังงานมากกว่าจึงได้จีดีพีเพิ่มขึ้นเท่ากันกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐหรือญี่ปุ่น
การผลักดันให้ภาคส่งออกขยายตัวโดยหวังว่าจะทำให้ประเทศไม่ขาดดุลเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
เพราะ
การส่งออกจะทำได้ยากขึ้นในอนาคต
เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
และความจำกัดในเรื่องความสามารถในการแข่งขันของไทย
ดังนั้นถ้ารัฐบาลยังคงยืนยันจะตรึงราคาน้ำมันต่อไป
โดยไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพการใช้พลังงานเชื้อเพลิง
ฟันธงได้เลยว่า
ในภาวะที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน
และมีแนวโน้มสูงขึ้นนี้จะทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าต่อไปอีกนาน
|