ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
ระหว่างวันที่
21 – 23
ก.ค.49
จำนวนทั้งสิ้น
1,221
คน
เรื่อง
“ประชาชนคิดว่า
พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร
รักษาการนายกรัฐมนตรี
ควรเว้นวรรคการเมืองหรือไม่”
ปรากฏว่า
ประชาชนร้อยละ
43.06
เห็นว่า
ควรเว้นวรรค
โดยให้เหตุผลว่า
รักษาการนายกรัฐมนตรีเคยประกาศเว้นวรรคไปแล้ว
ควรทำตามที่พูดไว้
สถานการณ์ทางการเมืองจะได้ดีขึ้น
ขณะที่ประชาชนร้อยละ
28.41
เห็นว่าไม่ควรเว้นวรรค
เนื่องจากยังไม่เห็นมีใครที่จะเหมาะสมเท่ากับ
พ.ต.ท.ทักษิณ
โครงการต่าง
ๆ
จะได้ดำเนินการต่อไป
ไม่ต้องหยุดชะงัก
และประชาชนร้อยละ
28.53
รู้สึกเฉยๆ
โดยให้เหตุผลว่า
ไม่ว่าจะเว้นวรรคหรือไม่เว้นวรรค
มีค่าเท่ากัน
เพราะมองภาพรวมของพรรคมากกว่า
หรือควรที่จะลาออกดีกว่า
จะเห็นได้ว่า
ประชาชนกลุ่มตัวอย่างเกือบร้อยละ
50
ให้ความสำคัญกับการรักษาคำพูด
หากพูดอะไรไปควรทำตามที่พูดไว้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคำพูดนั้นเป็นคำพูดของผู้นำประเทศ
ยิ่งจะต้องปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ด้วยเหตุดังนั้น
หาก พ.ต.ท.ทักษิณ
ไม่เว้นวรรคทางการเมืองดังที่เคยลั่นวาจาเมื่อวันที่
4
เม.ย.ที่จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
(ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่
2
เม.ย.49)
ยิ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ของ
พ.ต.ท.ทักษิณ
ยิ่งตกต่ำลงไปอีก
คำพูดและการกระทำของรักษาการนายกรัฐมนตรีอาจจะไม่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมอีกต่อไป
และหากข้อมูลดังกล่าวนี้ไปถึงชาวต่างประเทศ
อาจทำให้รักษาการนายกฯ
ขาดความน่าเชื่อถือในสายตาของต่างชาติอีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น
หากประเทศไทยยังมีนายกฯ
ชื่อทักษิณ
ชินวัตร
การเมืองไทยจะยังคงความเสี่ยงต่อขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างกัน
จนอาจเกิดความแตกหักทางความคิดอย่างรุนแรง
ซึ่งอาจจะนำไปซึ่งการสูญเสียเลือดเนื้อ
เศรษฐกิจ
และความมั่นคงของประเทศอย่างรุนแรง
หากมีรัฐบาลทักษิณ
3
รัฐบาลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น
และต้องเผชิญกับคำถามต่าง
ๆ นานา
ตั้งแต่ความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ
ข้อสงสัยต่อการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้องและชอบธรรม
การเขียนจดหมายที่ฟ้องไปยังผู้นำต่างประเทศที่กล่าวกันว่านำมาซึ่งการสูญเสียเกียรติภูมิของชาติ
การขายหุ้นในกิจการซึ่งเป็นสัมปทานของรัฐให้กับต่างชาติ
ฯลฯ
ข้อสงสัยเหล่านี้จะนำมาซึ่งการคัดค้าน
การต่อต้าน
การประท้วงจากภาคประชาชนอย่างไม่สิ้นสุด
ผลเสียหายที่เกิดขึ้นคือความล่มสลายทางเศรษฐกิจ
ความขัดแย้งทางสังคม
และความไร้เสถียรภาพทางการเมืองไทย
ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้
ผมคาดหวังว่า
พ.ต.ท.ทักษิณ
จะตัดสินใจเว้นวรรคทางการเมืองโดยไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใด
ๆ
ภายหลังการเลือกตั้ง
15
ต.ค.
2549
เพื่อให้สังคมไทยกลับมามีความสงบเรียบร้อย
และทำให้เกิดการผลักดันการพัฒนาประเทศพร้อมไปกับการปฏิรูปการเมืองไทย