ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายของสังคมไทยพยายามคิดและแก้ปัญหา
เพื่อจะนำมาซึ่งความสันติสุข
การลดความรุนแรง
และสร้างความสมานฉันท์ของประชาชนในพื้นที่
พรรคประชาธิปัตย์ได้เห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาดังกล่าว
โดยคุณอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
พร้อมทั้งบุคลากรของพรรคในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ได้เข้าพบนายอานันท์
ปันยารชุน
อดีตประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
(กอส.)
เมื่อวันที่
17
ก.ค.49
ที่ผ่านมา
ทางพรรคได้นำรายงานเรื่อง
ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
และรายงานของ
กอส.
มาศึกษาพร้อมไปกับการร่างนโยบายของพรรค
หลังจากนั้นพรรคจะลงพื้นที่ภาคใต้และกำหนดนโยบายที่ชัดเจนออกมา
โดยเท่าที่อ่านรายงานของ
กอส.
เห็นว่ามีแนวทางที่สอดคล้องกับพรรค
และทิศทางหลัก
ๆ
ถือว่าถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่น่าเสียดายคือรัฐบาลทักษิณซึ่งมีอำนาจในการแก้ปัญหา
กลับไม่ได้ให้ความสนใจต่อรายงานของ
กอส.
โดยไม่มีการเผยแพร่รายงานต่อสาธารณชนในวงกว้าง
เพื่อสร้างการรับรู้ต่อปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา
3
จังหวัดชายแดนภาคใต้
และไม่ได้ให้ความสนใจต่อมาตรการสมานฉันท์เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงของ
กอส.
โดยไม่ได้นำไปปฏิบัติแต่อย่างใด
คงต้องกล่าวว่า
รายงานของ
กอส.
เรื่อง
“เอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์”
เป็นรายงานที่ดีที่สุดฉบับหนึ่ง
ที่มีการศึกษาและเขียนขึ้นอย่างลึกซึ้ง
จากบุคคลในพื้นที่
จากภาคการเมืองทั้งที่เป็นฝ่ายค้าน
ฝ่ายรัฐบาล
และสมาชิกวุฒิสภา
และมาจากภาคราชการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหานี้ทั้งในด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนาอื่น
ๆ
และรวมไปถึงนักวิชาการ
รายงานฉบับนี้มีความครบถ้วน
โดยอธิบายปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
การวินิจฉัยเหตุเพื่อทำความเข้าใจความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
พิเคราะห์แนวโน้มปรากฏการณ์ความรุนแรงในอนาคตเพื่อที่จะหยุดแนวโน้มความรุนแรงด้วยชัยชนะของสังคมไทย
และที่สำคัญคือ
มีการเสนอวิธีแก้ไขปัญหาความรุนแรงด้วยข้อเสนอสมานฉันท์สำหรับสังคมไทย
ตั้งแต่มาตรการสมานฉันท์เฉพาะหน้าเพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงที่ชั้นบุคคล
มาตรการสมานฉันท์ยั่งยืนเพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงที่โครงสร้างและวัฒนธรรม
และมาตรการการเมืองสมานฉันท์ด้วยการออกพระราชบัญญัติสมานฉันท์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผมคาดหวังว่า
รัฐบาลทักษิณและรัฐบาลในชุดต่อไปจะให้ความสนใจและนำข้อเสนอในรายงานของ
กอส.
ไปศึกษาอย่างถ่องแท้
ซึ่งจะทำให้มีความเข้าใจต่อปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาความรุนแรง
โดยพิจารณาจากข้อเสนอสมานฉันท์สำหรับสังคมไทยของ
กอส.
อันจะนำมาซึ่งสังคมแห่งสันติ
ยุติธรรม
และสมานฉันท์ในสังคมไทย
ซึ่งดีกว่าการที่รัฐบาลเพียงแต่งตั้ง
กอส.
เพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองเท่านั้น
และวางรายงานของ
กอส.
ในกองเอกสารทางราชการ
โดยไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง