เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ความสำเร็จของโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนการศึกษา
ที่รักษาการนายกฯ
ได้กล่าวในรายการนายกฯ
คุยกับประชาชนเมื่อวันที่
19
สิงหาคม
เป็นการบอกความจริงเพียงด้านเดียว
สิ่งที่ซ่อนไว้คือ
จุดอ่อนของโครงการที่รัฐบาลไม่ยอมเหลียวแล
หรือนำมาปรับปรุงเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ
การที่รักษาการนายกฯ
ได้กล่าวอ้างถึงผลงานวิจัย
เรื่อง
“โครงการติดตามและประเมินผลโครงการ
หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน
จากเงินรายได้ส่วนเกินของการออกสลากเลขท้าย
3
ตัว และ
2
ตัว”
ที่จัดทำโดย
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมกับ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ในรายการนายกฯ
ทักษิณคุยกับประชาชนเมื่อวันที่
19
สิงหาคมที่ผ่านมา
โดยเน้นความสำเร็จในรุ่นแรกของโครงการว่า
เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน
ครู
เป็นโครงการที่ทำให้นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยมีโอกาสศึกษาต่อระดับปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ
นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น
ตลอดจนนักเรียนทุนส่วนใหญ่มีจิตสำนึกที่ดี
ในการที่จะกลับไปทำงานในเขตท้องถิ่นของตนเองหลังจากสำเร็จการศึกษา
แม้ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นผลจากงานวิจัย
หากแต่การกล่าวอ้างผลการติดตามประเมินโครงการดังกล่าวนั้น
เป็นเพียงการหยิบยกความจริงเพียงด้านเดียวมานำเสนอ
ซึ่งอาจทำให้สังคมมองข้ามสิ่งสำคัญคือ
จุดอ่อนของโครงการที่งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็น
ไม่ว่าจะเป็น
การคัดกรองนักเรียนมีปัญหา
แม้ว่านักเรียนที่ได้รับทุนร้อยละ
79
จะมาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน
ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน
1
แสนบาท
ผลการเรียนดี
แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่รัฐบาลเร่งให้เกิด
จนขาดการวางแผนตั้งแต่ระบบคัดกรอง
จึงพบว่ามีนักเรียนอีกร้อยละ
21
ที่ครอบครัวมีรายได้เกิน
1
แสนบาท
ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้เด็กยากจนด้อยโอกาส
การไม่เตรียมความพร้อมเรื่องปรับตัว
โครงการนี้ไม่มีระบบเตรียมความพร้อมที่ดีพอ
กล่าวคือ
ใช้เวลาอบรมเพียง
5 วัน
โดยเฉพาะเรื่องภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่เลือกเรียน
ไม่มีการอบรมเพื่อช่วยให้นักเรียนปรับตัวง่ายขึ้น
จึงทำให้นักเรียนเกิดโรคคิดถึงบ้านและปรับตัวไม่ได้
โดยที่ผ่านมามีนักเรียนทุนรุ่นแรกจำนวน
31
คน จาก
726
คน
ขอกลับประเทศไทย
ทำให้โครงการเสียเงินเปล่าถึง
31
ล้านบาท
การขาดข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อในประเทศนั้น
ๆ
โครงการนี้ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับระบบการศึกษาในประเทศที่ส่งเด็กไป
เช่น
ประเทศเยอรมนีใช้เวลาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
13
ปี
แต่ประเทศไทยเรียนเพียง
12
ปี
นักเรียนที่ไปจึงต้องเรียนเพิ่มอีก
1
ปี
จึงเข้าสถาบันอุดมศึกษาได้
หรือประเทศญี่ปุ่นมีเงื่อนไขว่า
การศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยจะต้องผ่านการสอบเข้าเท่านั้น
ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณในการเรียนเพิ่มเติมอย่างไม่จำเป็น
การให้สิทธิพิเศษเด็กมากเกินไป
กิจกรรมบางอย่างที่โครงการนี้หยิบยื่นให้กลับเป็นผลร้ายที่ทำลายความตั้งใจดีในการเรียนของเด็ก
เช่น
ให้เปลี่ยนสาขาเรียนได้ไม่จำกัด
โดยไม่คำนึงถึงการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
การให้เงินทุนมากกว่าเด็กทุนในโครงการอื่น
ๆ
ทำให้เด็กบางคนอาศัยทุนนี้แอบแฝงในเรื่องรายได้
โดยรอครบเวลาเก็บเงินกลับบ้านต่างจังหวัด
ประกอบกับการไม่ตัดสิทธิในการรับทุน
ส่งผลให้เด็กส่วนหนึ่งขาดความกระตือรือร้นในการเรียน
การไม่มีสัญญาผูกมัดให้เด็กกลับมาใช้ทุน
แม้ว่างานวิจัยจะพบว่า
เด็กในโครงการแรกจะมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ทุนแต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าเด็กจะกลับมาทำงานให้ท้องถิ่น
เนื่องจากโครงการไม่มีข้อผูกมัดใด
ๆ
ให้เด็กที่จบการศึกษากลับมาทำงานเพื่อท้องถิ่นหรือประเทศไทย
สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือ
งานวิจัยดังกล่าวได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ
เพื่อให้การส่งเด็กทุน
ไปศึกษาต่อต่างประเทศ
ได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่าที่สุด
เช่น
ควรยึดความต้องการของประเทศเป็นหลักในการกำหนดสาขาที่จะให้ทุน
เพิ่มทุนระดับอาชีวศึกษา
มีระบบการคัดเลือกที่มีมาตรฐาน
การทำสัญญาผูกมัดที่ชัดเจนเพื่อเด็กกลับมาใช้ทุน
มหาวิทยาลัยเปิดช่องทางให้เด็กทุนในประเทศได้เข้าเรียนมากขึ้น
แต่รัฐบาลกลับไม่เหลียวแลที่จะนำข้อเสนอที่สำคัญมาปรับปรุงโครงการในรุ่นที่สอง
หากแต่นำมาเพียงบางส่วน
โดยเฉพาะในเรื่องที่ทำให้ตนได้คะแนนเสียง
อาทิ
การเพิ่มทุนระดับอาชีวศึกษา
โดยละทิ้งหลักการที่สวยหรูที่รักษาการนายกฯ
ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งให้โอวาทแก่นักเรียนโครงการ
2
เมื่อวันที่
17
กรกฎาคม
คือ
ให้เด็กกลับมาทำงานเพื่อท้องถิ่น
และเพื่อประเทศ
ผมเห็นว่า
หากรัฐบาลให้ความสำคัญกับประเด็นของการพัฒนาคนแล้ว
สิ่งที่ควรทำคือ
การสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจนเพื่อให้เด็กกลับมาใช้ทุน
การวางแผนกำลังคนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศในอนาคต
ตลอดจนการวางแผนรองรับเด็กที่จบการศึกษากลับมาทำงานในท้องถิ่น
เพื่อป้องกันปัญหาสมองไหล
และเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ
|