Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์


 

ม้าและจ๊อกกี้ อุปมาที่มีคนพยายามบิดเบือน
The Horse and Jockey Metaphor Is a Deliberate Distortion

 

24  กรกฎาคม 2549

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก                     

จากการที่ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษได้บรรยายพิเศษให้แก่นักเรียนนายร้อยจปร.เมื่อวันที่14กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งของการบรรยายได้กล่าวอุปมาเรื่อง ม้าและจ๊อกกี้ ว่า “รัฐบาลเหมือนกับจ๊อกกี้ คือเข้ามาดูแลทหาร แต่ไม่ใช่เจ้าของทหาร เจ้าของทหารคือชาติและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลเข้ามาดูแลตามนโยบายที่ประกาศไว้ต่อรัฐสภา” หลังจากนั้นได้มีนักจัด

รายการวิทยุท่านหนึ่งได้วิพากษ์วิจารณ์อุปมาดังกล่าวอย่างรุนแรงว่า“ปรัชญาอย่างนี้ไม่เข้าท่า

ผมเห็นว่า การวิพากษ์วิจารณ์ของนักจัดรายการวิทยุดังกล่าว เป็นการตีความเกินจากสิ่งที่ท่านประธานองคมนตรีต้องการสื่อสาร และมีความพยายามบิดเบือนหลักการที่แท้จริง

หากเราพิจารณาถึงเนื้อหาสาระที่ท่านประธานองคมนตรีได้พูดในวันนั้นพบว่า ประเด็นสำคัญที่ประธานองคมนตรีต้องการตอกย้ำ คือ บทบาทและหน้าที่ของทหารที่พึงมีต่อประเทศชาติ และพระมหากษัตริย์ ที่ควรยึดผลประโยชน์ของชาติในระยะยาวเป็นหลัก โดยไม่ยึดที่ตัวบุคคลที่เข้ามากำกับดูแลกิจการ ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ประธานองคมนตรีได้ย้ำถึงสองครั้งว่า การที่ท่านพูดนั้นไม่ได้เป็นการทำให้ทหารไขว้เขว หรือรู้สึกไม่ดีต่อรัฐบาล เพราะแท้จริงแล้วทหารอยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีระเบียบแบบแผน เพียงแต่ต้องแยกแยะ เข้าใจบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนอย่างดีที่สุด

แต่การที่นักจัดรายการวิทยุท่านนั้นได้วิพากษ์วิจารณ์กลับเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ทั้งความไม่เหมาะสมในเชิงฐานะทางสังคมเพราะท่านประธานองคมนตรีเป็นผู้ใหญ่ที่มีคนเคารพนับถือจำนวนมาก การวิพากษ์วิจารณ์ผู้ใหญ่ต่อสาธารณะด้วยอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวเป็นสิ่งที่ควรระวัง

นอกจากนี้ยังมีความไม่เหมาะสมในเชิงเนื้อหา เพราะการที่นักจัดรายการวิทยุกล่าวว่า ปรัชญาเรื่องจ๊อกกี้กับม้าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นการสอนให้ม้าไม่มีไมตรีกับจ๊อกกี้ หากต้องการไม่ให้ม้ารับใช้ทางการเมืองต้องแก้รัฐธรรมนูญ เพราะตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมต้องอยู่ในคณะรัฐมนตรี หากต้องการจะทหารให้เป็นอิสรภาพต้องแก้รัฐธรรมนูญโดยเอารัฐมนตรีกลาโหมออกไป" คำพูดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า นักจัดรายการผู้นี้ฟังความแบบไม่ครบถ้วน แล้วนำมาตีความตามความคิดของตนเอง ซึ่งทำให้หลักการที่ท่านประธานองคมนตรีสื่อสารถูกบิดเบือนไป

ยิ่งไปกว่านั้น การเปรียบเปรยของนักจัดการการวิทยุที่ว่า คนเลี้ยงม้าบางคน เอาม้าลากรถไปขึ้นอันดับเป็นม้าแข่ง ม้าควรที่จะได้เลื่อนขั้นบางทีไม่ได้เลื่อนก็มี คนเลี้ยงเป็นผู้จัดสรรโดยที่ม้าไม่มีสิทธิพูด ยังเป็นการสะท้อนสิ่งที่อยู่ในใจของนักจัดรายการผู้นี้ ซึ่งมีความพยายามโยงเรื่องราวต่าง ๆ ให้เป็นเรื่องของการเมือง  และคำพูดของท่านยังบั่นทอนระบบการบังคับบัญชาอย่างชัดเจน หากคิดให้ดีจะทำให้เกิดคำถามว่า คำพูดของนักจัดรายการผู้นี้ต่างหากที่พยายามทำให้ม้าไม่เชื่อฟังคนเลี้ยงม้าใช่หรือไม่

ดังนั้น ผมเห็นว่านักจัดรายการผู้นี้ควรทบทวนบทบาทของตนเอง เพราะท่านเองเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งในสังคมที่มีคนรู้จักจำนวนมาก การพยายามลดทอนความน่าเชื่อถือของผู้มีบารมีมากกว่า มิได้ทำให้ตนเองมีบารมีมากขึ้นแต่อย่างใด แต่จะยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองตกต่ำลง

   



-------------------------------