เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
แม้ว่าขณะนี้การประกาศผลแอดมิชชั่นยังคงมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับคะแนนที่ผิดพลาดอยู่
โดยล่าสุดมีปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนของรายชื่อเด็กที่ที่ผ่านการคัดเลือกของกลุ่มสถาบันผลิตแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศไทยกับผลแอดมิชชั่นซึ่งไม่ควรมีความซ้อซ้อนกัน
แต่สิ่งที่ผมมองไกลไปกว่าปัญหาของระบบสอบคัดเลือกแบบใหม่ที่เกิดจากความเร่งรีบของรัฐบาลนั้นคือ
การที่รัฐบาลเร่งให้คนเข้าสู่การอุดมศึกษาโดยไม่ได้วางแผนด้านกำลังแรงงาน
เช่น
ให้มหาวิทยาลัยกำหนดจำนวนรับนักศึกษาตามความต้องการของมหาวิทยาลัย
ทั้งที่ผ่านมาเราพบว่าปัญหาแรงงานระดับอุดมศึกษาล้นตลาดและทำงานต่ำกว่าวุฒิการศึกษาเริ่มปรากฎชัดมากขึ้น
โดยเฉพาะสาขาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
จากการเปิดเผยข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อไม่นานมานี้ว่า
ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จัดการศึกษาตามความต้องการของผู้เรียนโดยไม่ทราบความต้องการของประเทศ
ส่งผลให้เกิดบัณฑิตตกงานมากขึ้น
ประกอบกับในปีการศึกษา
2549
เป็นปีที่เริ่มให้มีการให้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้อนาคต
(ICL)
นักเรียนนักศึกษาทั้งในระดับ
ประกาศนียบัตรชั้นสูง
(ปวส.)
และในระดับปริญญาตรีสามารถกู้ยืนเงินจากกองทุนนี้ได้
โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขฐานะในเรื่องทางครอบครัวของผู้กู้ยืมเหมือนกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(กยศ.)
เพื่อให้ทุกคนสามารถกู้ยืมได้อย่างเท่าเทียมกัน
ซึ่งหากไม่ได้พิจารณาหาแนวทางและวิธีป้องกันปัญหาบัณฑิตล้นตลาดแรงงานโดยเฉพาะบางสาขาที่มีแนวโน้มมากขึ้น
อาจส่งให้ปัญหาการตกงานของบัณฑิตในอนาคตมีมากขึ้นอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ผมจึงขอยกตัวอย่างปัญหาแรงงานล้นตลาดในต่างประเทศ
พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพและสาเหตุของปัญหา
เพื่อนำเสนอในส่วนของการกำหนดแนวทางและมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหาการผลิตบัณฑิตเกินความต้องการไว้ล่วงหน้า
ก่อนที่ปัญหาจะขยายตัวและส่งผลกระทบรุนแรงมากไปกว่านี้
การผลิตบัณฑิตไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงานในประเทศรัสเซีย
ปัจจุบันรัสเซียประสบปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่าง
ความต้องการด้านแรงงาน
และ
การผลิตบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษา
อันก่อเกิดปัญหาแรงงานล้นตลาดภายในประเทศ
สภาพที่พบในตลาดแรงงานคือ
แรงงานที่ว่างงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่จบมาจากสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งนี้พบว่ามีบัณฑิตเพียงร้อยละ
50
ที่ทำงานตรงกับสาขาที่เรียน
สำหรับสาขาวิชาที่บัณฑิตประสบปัญหาในการหางานทำคือ
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คณิตศาสตร์
นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
และนักบัญชี
ในขณะเดียวกันตลาดแรงงานในรัสเซียประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือในสาขาวิชาวิศวกร
วิศวกรอุตสาหกรรม
ผลิตภัณฑ์อาหาร
และช่างเทคนิค-
ช่างก่อสร้างอุตสาหกรรม
ทั้งนี้มีนักวิชาการรัสเซียได้วิเคราะห์ว่า
สาเหตุของปัญหาเกิดจากการขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนการผลิตกำลังคนในสาขาวิชาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
ปัญหาแรงงานระดับอุดมศึกษาในรัสเซียคล้ายคลึงกับปัญหาของไทยในบางประเด็น
คือการขาดแคลนบัณฑิตที่จบจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณิตศาสตร์
และภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ
โดยสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอและมีคุณภาพในการผลิตบัณฑิตป้อนเข้าตลาดแรงงาน
การผลิตบัณฑิตปริญญาเอกเกินความต้องการในสหรัฐอเมริกา
ในตลอด
10
ปีที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกา
เกิดสภาวะบัณฑิตระดับปริญญาเอกล้นตลาด
โดยมหาวิทยาลัยต่างผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกได้มากกว่า
4
หมื่นคน
แต่กลับพบว่ามีบัณฑิตที่จบใหม่เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่สามารถหางานทำได้
และปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อเนื่องไปอีก
20
ปี
ทั้งนี้สาเหตุสำคัญของการว่างงานในกลุ่มนี้คือ
การขาดข้อมูล
และขาดที่ปรึกษาที่ดีก่อนการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ
โดยเฉพาะนักศึกษาในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
และสาขาสังคมวิทยา
ซึ่งกว่าร้อยละ
90
ยังไม่ทราบว่ามีแหล่งงานที่ต้องการคนที่จบสาขานี้หรือไม่
นอกจากนี้บัณฑิตที่จบปริญญาเอกส่วนใหญ่ไม่ยอมทำงานที่ต่ำกว่าวุฒิการศึกษา
ยิ่งส่งผลให้บัณฑิตประสบปัญหาตกงานค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม
ปัญหาการผลิตบัณฑิตที่ล้นตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นยังไม่ถึงทางตัน
เนื่องด้วยแรงงานระดับปริญญาเอกที่ล้นตลาดของอเมริกาโดยเฉพาะบัณฑิตระดับปริญญาเอก
สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้
เนื่องด้วยบัณฑิตส่วนใหญ่จะมีคุณภาพ
โดยเฉพาะการส่งออกไปยังโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนานาชาติ
รวมถึงหน่วยงานและองค์กรต่าง
ๆ
ในขณะที่แรงงานระดับอุดมศึกษาของไทย
โดยเฉพาะระดับปริญญาเอกอาจไม่สามารถส่งออกนอกประเทศได้
เนื่องจากบัณฑิตที่จบปริญญาเอกจากหลายมหาวิทยาลัย
อาจยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร
ไม่ถูกยอมรับ
หรือไม่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติเท่าที่ควร
การผลิตบัณฑิตโดยเน้นปริมาณแต่ขาดคุณภาพในประเทศแอฟริกา
ปัญหาแรงงานระดับอุดมศึกษาล้นตลาดในแอฟริกา
มีสาเหตุมาจากการเปิดกว้างของบางมหาวิทยาลัยที่ให้ผู้เรียนทุกคนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
สามารถเข้าเรียนโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
ส่งผลให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถจัดการศึกษาให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาได้ทั้งหมด
ทั้งด้านจำนวนคณาจารย์
จำนวนห้องเรียน
จำนวนห้องสมุด
และจำนวนห้องทดลองวิทยาศาสตร์
เป็นต้น
รวมถึงการขาดแคลนงบประมาณของมหาวิทยาลัย
สภาวะดังกล่าวทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยรวมของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของแอฟริกาอยู่ในระดับต่ำ
คือ
การศึกษาไม่ได้มาตรฐาน
ขาดการพัฒนาด้านองค์ความรู้และนวัตกรรม
ทั้งยังขาดการพัฒนาด้านการบริการให้คำปรึกษาในการศึกษาต่อ
อันส่งผลให้บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยไม่มีคุณภาพและตกงานเป็นจำนวนมาก
ประเทศแอฟริกาเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นเดียวกับไทย
มีความคล้ายคลึงกันในประเด็นการขาดแคลนอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา
ประเทศไทยขาดแคลนอาจารย์ในระดับอุดมศึกษากว่า
12,000
คน
เมื่อเทียบกับนักศึกษาที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี
เช่น
ปี 2545
มีนักศึกษาจำนวน
1,947,851
คน ปี
2546
มีนักศึกษาจำนวน
1,973,825
คน ปี
2547
มีนักศึกษาจำนวน
2,014,740
คน
และในระหว่างปี
2548-2551
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาจะอยู่ที่ร้อยละ
3.1
นอกจากนี้ปัญหาที่คล้ายกันอีกประการคือ
คุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในหลายสถาบันอุดมศึกษายังไม่ได้มาตรฐาน
ส่งผลให้บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยยังไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน
เห็นได้จากเมื่อบัณฑิตเข้าไปสู่ตลาดแรงงาน
บรรดาบริษัท
ห้างร้าน
องค์กรธุรกิจต่าง
ๆ
ต้องสูญเสียงบประมาณในการฝึกงาน
ให้แก่บัณฑิตที่จบใหม่
โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาประมาณ
6 เดือน
เป็นการสะท้อนว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษายังด้อยคุณภาพ
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลควรรีบดำเนินการจัดทำโครงงานวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มสภาวะบัณฑิตล้นตลาด
และกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาและสังคมไทยในอนาคต
|