Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

ผลกระทบของระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่
"The Effect of an Election by New Thai Constitution"

 

21 สิงหาคม 2549

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก                                            
   
   
            จากงานศึกษาของผม เรื่อง ผลกระทบของระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ตามรัฐธรรมนูญปี พ.. 2540 ที่มีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาประเด็นที่เป็นเป้าหมายของการปฏิรูปการเมืองใน 3 มิติ ได้แก่ มิติการเป็นตัวแทนของประชาชน มิติความเท่าเทียม และมิติเสถียรภาพของรัฐบาล อันเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยที่มั่นคงในระยะยาว และนำไปสู่การค้นหาระบบการเลือกตั้งที่พึงประสงค์ของประเทศ

งานวิจัยชิ้นนี้ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า “Spatial Voting Model” ซึ่งใช้วัดผลการดำเนินการของระบบการเลือกตั้ง โดยใช้วิธี Computer Simulation จำลองสถานการณ์ของการเลือกตั้งรูปแบบต่าง ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง แล้วคำนวณดัชนีชี้วัดผลการดำเนินการและนำมาเปรียบเทียบผลการดำเนินการของระบบการเลือกตั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญปี พ.. 2540

ผลการวิจัยพบว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งให้มีขนาดเล็กลงจากระบบเดิมที่ 1 เขต มี ส.. ได้หลายคนเปลี่ยนเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว ทำให้ระดับการเป็นตัวแทนประชาชนและระดับความเท่าเทียมกันของการได้รับบริการทางการเมืองของประชาชนลดลง เนื่องจากประชาชนมีทางเลือกของนโยบายน้อยกว่า อันเป็นผลจากแต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวน ส.. เพียงคนเดียว

ในทางหลักการแล้ว ส.ส.เขต 1 คนย่อมสะท้อนประโยชน์เชิงนโยบายแก่กลุ่มคนกลุ่มเดียวในเขตที่เลือก ส.ส.คนดังกล่าวเข้ามา ขณะที่กลุ่มคนกลุ่มอื่น ๆ ในเขตที่ไม่ได้เลือก ส.ส.คนดังกล่าวกลับไม่ได้รับความพึงพอใจทางนโยบายอย่างที่ควรเป็น เพราะผู้สมัครที่ตนเองเลือกไม่ได้เป็นตัวแทนของตนในเขตนั้น

แต่หากพิจารณาผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล หากสมมติว่าประชาชนทั่วประเทศมีลักษณะของความนิยมต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ คล้ายกัน และประชาชนให้น้ำหนักแก่นโยบายระดับเขตค่อนข้างมาก การเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียวน่าจะทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสูงกว่า เนื่องจากพรรคที่มีคะแนนนิยมสูงสุดมีโอกาสชนะเลือกตั้งในทุกเขต ขณะที่พรรคที่มีคณะนิยมมาเป็นอันดับสองมีโอกาสได้รับชัยชนะในเขตเลือกตั้งต่าง ๆ น้อยมาก เพราะคะแนนของผู้สมัครของพรรคนี้จะมาเป็นที่สองในเกือบทุกเขต ทำให้ไม่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็น ส.ส.เลย เมื่อเป็นเช่นนี้พรรคที่มีคะแนนนิยมสูงสุดจะมี ส.ส.เป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับ ส.ส.ในพรรคอื่น ๆ ทำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม บริบททางการเมืองในประเทศไทยอาจมีความแตกต่างจากข้อสมมติข้างต้น เพราะประชาชนในแต่ละภาคอาจมีความนิยมต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ แตกต่างกัน และประชาชนอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายในระดับท้องถิ่นมากนัก ดังนั้นการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียวจึงอาจไม่ได้ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลดีขึ้นมากนัก

ผมจึงเสนอว่า ควรมีการปรับเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งให้มีความเหมาะสมกับบริบททางการเมืองของประเทศ โดยทำการศึกษาเพิ่มเติมว่าประเทศไทยควรมีเป้าหมายของการพัฒนาประชาธิปไตยที่เน้นไปในทิศทางใด บริบททางการเมืองของแต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยเป็นอย่างไร ปัญหาหรือข้อจำกัดของระบบการเลือกตั้งแต่ละแบบเป็นอย่างไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกหรือพัฒนาระบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมต่อไป

นอกจากนี้ยังควรส่งเสริมให้พรรคการเมืองหรือนักการเมืองเพิ่มทางเลือกของนโยบายแก่ประชาชนมากขึ้น ทั้งในแง่ของจุดยืนของนโยบายในแต่ละประเด็น โดยยังคงจำนวนพรรคการเมืองให้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจสูงขึ้นและมีความเท่าเทียมกันทางการเมืองมากขึ้น เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น โดยไม่ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลลดลง   


-------------------------------