ในช่วงเวลาที่การแข่งขันฟุตบอลโลกกำลังเข้มข้น
ความสนใจของโลกหันไปสู่การแข่งขันที่
4
ปีถึงจะมีมาให้ชมกันสักครั้ง
ทำให้ดูเหมือนสถานการณ์ความขัดแย้งต่าง
ๆ
ได้หยุดชะงักลงชั่วคราว
แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับสหรัฐยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่น่าติดตามไม่แพ้เกมฟุตบอลโลก
หากวิเคราะห์สถานการณ์อิหร่านกับสหรัฐด้วยแนวคิดทฤษฎีสัจจะนิยม
(Realism)
ที่เชื่อในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ในการแสวงหาอำนาจ
(Power)
และการแสวงหาอำนาจของประเทศต่าง
ๆ
กล่าวคือ
ประเทศที่ยิ่งใหญ่จะเป็นประเทศที่มีอำนาจในการต่อรองที่เหนือกว่าประเทศอื่น
ๆ
เห็นได้จากอเมริกาพยายามรุกอิหร่านอย่างหนัก
โดยมีองค์กรสหประชาชาติรับหน้าที่เป็นกรรมการที่มีข้อสงสัยต่อความเป็นกลาง
อำนาจในการต่อรองเปรียบได้กับลูกฟุตบอลที่ต่างฝ่ายต่างแย่งชิงกันครอบครองให้นานที่สุด
เพราะฝ่ายใดถือครองบอลได้มากกว่าจะมีโอกาสที่จะได้ชัยชนะมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
เช่นเดียวกันกับการที่แต่ละประเทศมีความต้องการที่จะสร้างอำนาจในการต่อรองเพื่อที่จะอยู่เหนือประเทศอื่น
ๆ เช่น
การที่ประเทศอิหร่านมีความพยายามพัฒนาแร่ยูเรเนียม
โดยการกล่าวอ้างว่าเป็นการทดลองเพื่อสร้างพลังงานทดแทน
ซึ่งความพยายามดังกล่าวของอิหร่านเป็นการสร้างอำนาจในการต่อรองให้กับตนเอง
แต่เมื่อมองตามเกม
สหรัฐฯที่มีแต้มต่อเหนือกว่าอิหร่านอยู่มาก
เนื่องจากสหรัฐฯเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก
และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกถาวรสภาความมั่นคงของสหประชาชาติ
สหรัฐฯจึงเป็นฝ่ายเปิดเกมรุกใส่อิหร่านก่อนโดยการยื่นคำขาดให้อิหร่านยุติการเสริมสมรรถภาพยูเรเนียม
ในขณะเดียวกันแม้อิหร่านที่ดูว่าเป็นรองในเกมนี้
กลับตอบโต้สหรัฐฯ
ด้วยการประกาศไม่ยุติการพัฒนาแร่ฯ
เพราะดูจากสถานการณ์ของสหรัฐฯในขณะนี้
สหรัฐฯยังไม่พร้อมที่จะเปิดศึกกับอิหร่านด้วยสาเหตุที่ว่ายังมีสงครามยืดเยื้อทั้งกับอัฟกานิสถานและอิรัก
และผลที่เกิดขึ้นในอิรักไม่เป็นไปอย่างที่คาดคิด
ขณะที่ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ราคาน้ำมันโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
หากสหรัฐฯตัดสินใจเปิดฉากใช้ความรุนแรงกับอิหร่านอีกจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
สหรัฐฯ
จึงพยายามที่จะดึงเอาผู้เล่นอื่นเข้ามามีบทบาทในเกมนี้มากขึ้น
และมีการพยายามชี้ให้กรรมการเห็นว่าอิหร่านกำลังเล่นนอกกติกา
อย่างไรก็ตาม
สถานการณ์
2-3
สัปดาห์ที่ผ่านมา
รูปแบบการแข่งขันได้มีการเปลี่ยนแปลงจากที่เน้นความรุนแรงทางเศรษฐกิจหรือการตอบโต้ที่รุนแรง
เปลี่ยนเป็นการเจรจาเพื่อหาข้อยุติเพื่อลดความรุนแรง
สาเหตุของการเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่เริ่มต้นจากท่าทีของกลุ่มประเทศยุโรปที่ต้องการจะให้เป็นการเจรจาทางการทูตมากกว่า
และ ดร.คอนโดลีซซา
ไรซ์
รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ
ได้กล่าวในการประชุมที่กรุงเวียนนาเพื่อหาทางออกของวิกฤตนี้ว่าสหรัฐฯยินยอมนั่งโต๊ะเจรจา
หากอิหร่านยินยอมที่จะยุติโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมชั่วคราว
นอกจากนี้ทางสหภาพยุโรปได้ยื่นข้อเสนอให้ความช่วยเหลือต่าง
ๆ
กับอิหร่านในรูปแบบครบวงจร
หากแก้วิกฤตโดยการเจรจาส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายคือผู้ชนะ
(Win-Win
situation)
โดยฝ่ายสหรัฐฯและสหภาพยุโรปไม่ต้องดำเนินการคว่ำบาตรอิหร่าน
เพราะหากมีการคว่ำบาตรจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
เนื่องจากอิหร่านเป็นแหล่งน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ฝ่ายอิหร่านจะได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศยุโรปทั้งด้านการเมือง
เศรษฐกิจ
และเทคโนโลยี
โดยในส่วนของด้านเทคโนโลยีทางกลุ่มประเทศยุโรปเสนอให้ความช่วยเหลือโดยการให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ไฮเทค
ซึ่งหากเปรียบเทียบกับเกมฟุตบอลเหมือนกับช่วงใกล้หมดเวลาที่ต่างฝ่ายต่างพยายามป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามเข้ามาทำประตูมากกว่าที่จะเน้นเกมรุกเหมือนช่วงครึ่งแรกของเกม
อย่างไรก็ตาม
เกมการแข่งขันนี้ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐยังไม่จบลง
และยากต่อการคาดการณ์ว่าเกมครั้งนี้สหรัฐหรืออิหร่านจะเป็นผู้ชนะ
หรือเกมจะจบลงแบบเสมอที่ทั้งสองฝ่ายเก็บไปคนละ
1
คะแนน
และรอวันที่สถานการณ์จะกลับมาคุกรุ่นอีกครั้ง