เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
การบังคับใช้สิทธิในการผลิตหรือนำเข้ายาที่ติดสิทธิบัตร
(Compulsory
license
หรือ
CL)
ของไทยในยาต่อต้านไวรัสเอดส์
(เอฟฟาไวเรนซ์และคาเลตตรา)
และยาป้องกันความรุนแรงของโรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจ
(พลาวิกซ์)
ต่อบริษัทผลิตยาของสหรัฐอเมริกา
ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง
ซึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้ในขณะนี้
ด้วยเหตุที่ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
โดยสินค้าที่ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา
มีมูลค่าสูงถึง
5 – 5.5
พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
(ประมาณร้อยละ
45
ของรายได้ประชาชาติ)
ซึ่งถือได้ว่าสูงกว่ารายได้ประชาชาติของทุกประเทศในโลก
อย่างไรก็ตาม
การที่สหรัฐฯ
ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง
อาจไม่ได้เป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเสมอไป
เนื่องจากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ยาวนาน
ทำให้เจ้าของสิทธิบัตรได้ประโยชน์จากการผูกขาด
แต่ผู้บริโภคต้องรับภาระต้นทุนจากการซื้อสินค้าที่มีสิทธิบัตรในราคาสูง
จากงานศึกษาเรื่อง
“การเจริญเติบโตและทรัพย์สินทางปัญญา”
(Growth
and
Intellectual
Property)
โดยไมเคิล
โบลดริน
และเดวิด
เลวีน
ซึ่งวัดระดับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมของสังคมสหรัฐฯ
และหาความสัมพันธ์ของระดับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญากับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(Market
size)
ของสหรัฐฯ
พบว่า
นโยบายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมควรเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เนื่องจาก
ยิ่งเศรษฐกิจหรือตลาดมีขนาดใหญ่
ยิ่งทำให้รายได้จากการผูกขาดเพิ่มสูงขึ้น
ระยะเวลาในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาจึงควรลดลงเมื่อตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น
อย่างไรก็ตาม
ปัจจุบันในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ
มีการขยายตัวมากขึ้น
และตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่ระยะเวลาการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญายังคงยาวนานเช่นเดิม
อีกทั้งยังมีการเรียกร้องให้คุ้มครองยาวนานขึ้น
ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการที่ควรจะเป็น
ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นอีกว่า
ระยะเวลาการปกป้องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรในสหรัฐฯ
สูงกว่าระดับที่เหมาะสม
ทำให้เกิดการผูกขาดอย่างสมบูรณ์ในตลอดระยะเวลาวัฏจักรของสินค้าใหม่
จากการวิเคราะห์จากข้อมูลอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ที่ผ่านมา
ผู้ศึกษาเห็นว่าระยะเวลาการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาควรจะลดลงประมาณ
2
เดือนต่อปี
เช่น
หากเดิมมีการคุ้มครองสิทธิบัตร
2
ปี
ระยะเวลาการปกป้องควรจะลดลง
4
เดือน
จาก
2
ปี เหลือ
1
ปี
8
เดือน
เป็นต้น
โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์
คือ 2 ปี
และสิทธิบัตรอยู่ที่ระยะเวลาประมาณ
10 ปี
จากงานศึกษาดังกล่าว
แม้ไม่ได้ศึกษากรณีประเทศไทยโดยตรง
แต่เป็นประโยชน์หากสามารถนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทประเทศไทย
เพื่อที่จะกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการคุ้มครองลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรของประเทศไทยบนพื้นฐานของเหตุผลและเป็นวิทยาศาสตร์
มากกว่าการกำหนดบนพื้นฐานอารมณ์ความรู้สึกหรือความเคยชิน
นอกจากนี้การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมอาจจะต้องปรับเปลี่ยนระยะเวลาการคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้สอดคล้องกับระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปด้วย
|