เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
จากข่าวคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการเกี่ยวกับนโยบายด้านสังคม
จำนวน 28
ประเด็น
ประเด็นหนึ่งคือ
แนวคิดการจัดทำแผนสวัสดิการลูกจ้าง
โดยให้มีคณะกรรมการจัดทำแผนสวัสดิการลูกจ้าง
ดำเนินการศึกษาจัดทำรายละเอียดการดึงเงินจากกองทุนประกันสังคมมาใช้ในการจัดสวัสดิการเงินกู้ให้ผู้ประกันตน
ซึ่งจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานล่างในระยะสั้น
อีกทั้งเพื่อการตั้ง
“ธนาคารลูกจ้าง”
ต่อไปในอนาคต
อันจะทำให้เกิดผลดีต่อลูกจ้างผู้ประกันตน
16
ล้านคน
ประเด็นดังกล่าว
แม้รัฐบาลจะมีเหตุผลว่าเพื่อให้เกิดผลดีแก่ลูกจ้างผู้เอาประกัน
แต่ในทัศนะของผม
ความพยายามในการนำเงินประกันสังคมมาใช้เช่นนี้
เป็นอีกคำรบหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง
“ความเสี่ยง”
ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
ซึ่งที่ผ่านมาต้องรับความเสี่ยงมาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็น
เสี่ยงต่อการถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
ดังเช่นในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
คงจำกันได้ถึงการให้สิทธิทำฟันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ซึ่งปัจจุบันได้กลับไปใช้รูปแบบเดิม
เพราะไม่ได้คิดใคร่ครวญถึงความเป็นไปได้จริงอย่างรอบคอบ
เสี่ยงต่อการนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
ในกรณีนี้เช่นกันที่เกิดคำถามขึ้นว่า
การที่รัฐบาลมีแนวคิดนำเงินประกันสังคมมาใช้
ส่วนหนึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาอยู่ขณะนี้
เหมาะสมหรือไม่
การคิดว่าเงินจำนวนมากของกองทุนนี้
จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังตกต่ำได้นั้น
แม้เป็นเรื่องจริง
แต่คงเป็นการคิดที่ไม่ถูกต้องนัก
เพราะเงินประกันสังคมเป็นเงินของผู้ประกันตน
เป็นหลักประกันสำหรับอนาคต
ไม่ใช่เงินที่มีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
หากรัฐบาลทุกชุดคิดเช่นนี้
โอกาสที่นำเงินไปลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่อผู้ประกันตนในระยะยาวย่อมเป็นไปได้มาก
เพราะคำนึงเพียงผลประโยชน์ระยะสั้น
แต่กลับมีความเสี่ยงสูงในระยะยาวได้
เสี่ยงต่อการลงทุนที่มีความเสี่ยง
นอกจากนี้
หน้าที่หลักของประกันสังคมที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองด้านสวัสดิการของผู้ใช้แรงงาน
7 กรณี
คือ
เจ็บป่วย
ตาย
ทุพพลภาพ
สงเคราะห์บุตร
คลอดบุตร
ชราภาพ
และว่างงาน
การนำเงินมาใช้เพื่อประโยชน์ของผู้ประกันรูปแบบอื่น
เช่น
การนำไปตั้งธนาคารนั้น
นอกจากจะไม่มีกฎหมายรองรับ
ยังไม่ใช่ภารกิจหลักที่ควรจะทำ
เงินส่วนที่ควรนำไปลงทุนควรไปลงทุน
มิใช่ตั้งตัวเป็นผู้ประกอบการเอง
เพราะขาดความชำนาญ
โอกาสเสี่ยงที่จะขาดทุนย่อมมีสูง
เสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชัน
ที่ผ่านมา
แม้ว่าคณะกรรมการประกันสังคมจะประกอบด้วยบุคคลจากสามฝ่าย
อันได้แก่
นายจ้าง
ลูกจ้าง
และข้าราชการ
แต่กลับมีข่าวมาโดยตลอดเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการบริหาร
มีข้อครหาว่าตัวแทนลูกจ้างไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ให้ลูกจ้างได้อย่างแท้จริง
มีความเชื่อมโยงกับอำนาจทางการเมืองในการดำเนินการเรื่องต่าง
ๆ
จนอาจเรียกได้ว่า
ผู้ประกันตนกว่า
8 ล้านคน
เป็นผู้ไม่มีสิทธิ
ไม่มีเสียงในการแสดงความคิดเห็น
การกำหนดนโยบาย
การยอมรับหรือปฏิเสธข้อเสนอต่าง
ๆ
ที่ทางประกันสังคมหยิบยื่นให้
ทั้ง ๆ
ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง
ผมเสนอว่า
ควรมีการจัดตั้งองค์กรคุ้มครองผู้ประกันตนขึ้น
เพื่อคอยดูแลสิทธิและพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้เอาประกัน
และทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินของกองทุนประกันสังคม
ปัจจุบันกลายเป็นว่า
ต้องเรียกร้องให้รัฐบาลเป็นผู้ตรวจสอบการรั่วไหลของเงินประกันสังคม
ซึ่งทางออกที่ดีกว่าผู้เอาประกันจากภาคส่วนต่าง
ๆ
ควรรวมตัวกันเพื่อตรวจสอบและพิทักษ์ผลประโยชน์ของตน.
นอกจากนี้
ข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคม
จึงควรเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการให้เกิดขึ้นจริงต่อไป
เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นใจแก่ผู้ประกันตนว่า
เงินประกันสังคมที่จ่ายทุกเดือนนั้น
เป็นเงินที่ช่วยประกันความเสี่ยงในยามป่วย
ว่างงาน
และยามชรา
ไม่ใช่เงินที่มีความเสี่ยง
และต้องรู้สึกหวาดหวั่นตลอดเวลาว่า
เงินที่เก็บสะสมไว้ยังอยู่หรือไม่
เมื่อถึงวัยเกษียณจะได้รับเงินหรือไม่
หรือว่าถูกละลายหายไปกับการนำไปใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
|