เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ปัญหาโลกร้อนเริ่มส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติอย่างชัดเจนมากขึ้น
ขณะที่ทั่วโลกต่างพยายามหาหนทางแก้ไข
โดยสภาพอากาศที่ร้อนจัดของประเทศไทยในช่วงเวลานี้คือผลกระทบที่คนไทยสามารถรับรู้และสัมผัสได้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ในรอบ
100
ปีที่ผ่านมา
(พ.ศ.2443-2543)
อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มขึ้น
1
องศาและคาดว่าในช่วง
100
ปีข้างหน้าความร้อนบนผิวโลกจะเพิ่มขึ้นอีก
3.0-4.0
องศา
ขณะที่ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(START)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระบุว่า
อุณหภูมิของประเทศไทยช่วงเดือนเมษายน
2550
มีอุณหภูมิสูงถึง
42
องศาเซลเซียสจากเดิม
38-39
องศาเซลเซียส
และคาดว่าในปี
2551
จะเพิ่มเป็น
43
องศาเซลเซียส
ภาวะโลกร้อน
(global
warming)
คือผลพวงของการพัฒนาอุตสาหกรรม
พลังงาน
คมนาคม
เกษตรกรรม
รวมถึงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและป่าไม้
เมื่อมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกจึงสูงขึ้นเนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เคยสะท้อนกลับถูกกักเก็บไว้มากขึ้น
ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก
(GHG
effects)
มีผลทำให้ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง
ประเทศไทยเคยให้สัตยาบันกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(UNFCC
:
united
nations
framework
convention
on
climate
change)
โดยไทยจัดอยู่ในกลุ่ม
148
ประเทศกำลังพัฒนา
(non-annex
I)
ที่ไม่บังคับให้ลดก๊าซเรือนกระจกเหมือนกับอีก
41
ประเทศพัฒนาและหลายประเทศในยุโรปกลาง
อย่างไรก็ตามรายงานของ
World
Resource
Institution
ใน
World
Resources
2005,
The
Wealth
of the
Pool,
Managing
Ecosystems
to Fight
Poverty
ระบุว่าปี
2543
ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ
261
ล้านตัน
มีคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น
ร้อยละ
0.78
ของโลก
ขณะที่จีนและสหรัฐอเมริกาคิดเป็นร้อยละ
14.7
กับ
20.6
ตามลำดับ
เกิดความเสี่ยงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
ปัญหาดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแต่ยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและเป็นปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจเนื่องจากอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยความรุนแรงที่พอๆกับความถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงตอนต้นศตวรรษที่
20
อาจทำให้โลกต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อลดปัญหาและเตรียมการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
รายงานผลการศึกษาของนักเศรษฐศาสตร์พบว่าเมื่อโลกร้อนขึ้น
2-3
องศาจะสร้างความสูญเสียต่อผลผลิตโลก
3%
รวมถึงทำให้เกิดต้นทุนทางการเงินที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของมนุษย์และต่อสภาพแวดล้อม
นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดภาระที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจนโดยประเทศยากจนต้องแบกรับภาระมากกว่าเพราะได้รับผลกระทบรุนแรงกว่า
ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีต่อประเทศไทย
ขณะที่ผลกระทบซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจโดยตรงของไทยคือปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดภาวะแห้งแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลโดยหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าน้ำในแม่น้ำสายต่างๆจะมีปริมาณลดลง
25%
สภาพการณ์ดังกล่าวจะสร้างปัญหาต่อเกษตรกรและชาวประมงของไทย
เป็นต้น
ปัจจัยการผลิตและความอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติจึงมีทิศทางที่ลดลง
โดยความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมจะเป็นตัวเร่งทำลายความสมบูรณ์ของอาหารในธรรมชาติและความสมบูรณ์ของปัจจัยในการผลิตอาหาร
ในที่สุดธรรมชาติจะไม่สามารถผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอซึ่งจะสร้างความยากลำบากให้กับประชากรโลกและคนไทยในภายหลัง
สร้างหลักประกันรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
ผมจึงเห็นว่าประเทศไทยควรสร้างหลักประกันและเตรียมแผนงานรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุปัญหาภาวะโลกร้อนทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ
สังคม
และ
สิ่งแวดล้อม
โดยไม่เป็นฝ่ายตั้งรับปัญหาแต่ควรมีมาตรการป้องกัน
บรรเทา
และแก้ไขปัญหาในเชิงรุกที่สอดคล้องกับพลวัตรความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันสถานการณ์และเหมาะสม
อาทิ
พัฒนาการปฎิบัติหน้าที่ผู้มีอำนาจตามพิธีสารเกียวโต
(DNA :
Designated
National
Authority)
โดยเร่งรัดการจัดตั้งองค์กรกลางในลักษณะองค์การมหาชนอย่างเป็นทางการ
เพิ่มการวิจัยและพัฒนา
รวมถึงร่วมมือกับนานาชาติในการจัดการความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เพิ่มการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเอกชน
ป้องกันการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ทุกฝ่ายควรร่วมกันเร่งรัดและฟื้นฟูความสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติ
แก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อม
รวมถึงอาจใช้มาตรการทางภาษีกับภาคธุรกิจที่ทำลายสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
สร้างธุรกิจพลังงานสะอาด
และ
กำหนดกฎระเบียบที่เข้มงวด
สร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจการผลิตโดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นต้น
การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจควรมองภาพรวมในระดับชาติและให้ความสำคัญกับการมองแนวโน้มที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมโลกในอนาคต
รวมถึงควรทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองในปัจจัยอยู่รอดได้ตลอดเวลา
เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่นใจได้ว่าประชาชนในประเทศจะไม่ต้องพบกับความยากลำบากอย่างมากในภาวะที่มีวิกฤตการณ์ขั้นรุนแรงเกิดขึ้น
ปัญหาภาวะโลกร้อนจึงมีความสำคัญ
หากผู้นำประเทศไร้วิสัยทัศน์ในการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น
จะทำให้ประชาชนต้องประสบกับความทุกข์ยากลำบาก
นอกจากเป็นปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจแล้ว
ยังทำให้เกิดความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อมนุษยชาตินั่นคือความอยู่รอดของโลกที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน
|