เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ข้อเรียกร้องให้
“อำนาจตุลาการ”
หรือ
“ตุลาการภิวัตน์”
เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาวิกฤตของบ้านเมือง
นอกเหนือไปจากอำนาจหน้าที่ในการพิพากษาคดีต่าง
ๆ
ปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ
มาตรา 68
วรรคสอง
“ในกรณีที่ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต
เหตุการณ์คับขัน
หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่งในทางการเมือง
ให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลปกครองสูงสุด
และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
เพื่อพิจารณาหาทางป้องกันหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว”
หลังจากนั้น
จึงเกิดประเด็นถกเถียงเกิดขึ้นว่าเป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่
ที่ให้ฝ่ายตุลาการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
ที่ผ่านมา
ได้มีเสียงสะท้อนและการแสดงจุดยืนของศาลยุติธรรม
ที่ไม่อยากให้ฝ่ายตุลาการ
(ประธานศาลฎีกา-ตัวแทนของฝ่ายตุลาการ)
เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
เพราะอาจมีผลทำให้ฝ่ายตุลาการไม่สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบอย่างเป็นกลางได้
โดยรวมถึงการเป็นองค์คณะในการพิจารณาหาทางป้องกันหรือแก้ไขปัญหาวิกฤตบ้านเมือง
หากพิจารณาเฉพาะประเด็น
การให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลปกครองสูงสุด
มีส่วนร่วมเป็นองค์คณะเพื่อช่วยกันหาทางออกที่ดีที่สุดแก่บ้านเมืองในยามวิกฤต
น่าจะเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะก่อประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน
มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในทางการเมือง
ในทัศนะของผม
หากสังคมการเมืองไทยเข้าขั้นวิกฤต
ไม่ว่าจะเกิดจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างคนกลุ่มต่าง
ๆ
การเกิดภัยธรรมชาติ
การก่อการร้าย
วิกฤตเศรษฐกิจ
หรือปัญหาอื่นที่รัฐบาลไม่สามารถจัดการได้
ย่อมน่าจะเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่ตัวแทนของฝ่ายบริหาร
ฝ่ายนิติบัญญัติ
และฝ่ายตุลาการ
สมควรที่จะร่วมกันประชุม
ถกเถียง
เพื่อหาทางที่ดีที่สุดในการนำพาบ้านเมืองพ้นจากวิกฤต
โดยเฉพาะบทบาทของศาลยุติธรรมซึ่งเป็นสถาบันที่ประชาชนให้ความเคารพและเชื่อมั่น
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว
ประชาชนคงไม่มีความรู้สึกว่า
หากศาลเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวจะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
ตรงกันข้าม
กลับเป็นสิ่งที่ดีเสียอีก
ที่จะได้แง่มุมทางด้านความคิด
แง่มุมกฎหมาย
และการแก้ปัญหา
จากผู้ทรงไว้ซึ่งคุณวุฒิในกระบวนการยุติธรรม
ซึ่งจะเป็นทางออกที่ดีต่อประเทศ
มากกว่าที่จะปล่อยให้วิกฤตในบ้านเมืองร้อนแรงขึ้น
โดยไม่มีใครก้าวเข้ามาหาทางออกให้
นอกจากวงจรเดิมที่เกิดขึ้นเช่นในอดีต
นั่นคือ
การปฏิวัติ
หรือ
การรัฐประหาร
ในหลายเหตุการณ์
เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่วิกฤตทางการเมือง
กองทัพได้เข้ามาจัดการกับปัญหาดังกล่าวโดยการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ
ซึ่งไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องและยอมรับได้ในระบอบประชาธิปไตย
โดยสรุป
บทบาทดังกล่าวในมาตรา
68
วรรคสอง
จะช่วยส่งเสริมการทำหน้าที่ของตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ
บริหาร
และตุลาการ
มีโอกาสได้ร่วมกันคิด
ร่วมกันแก้ไขปัญหาของประเทศ
อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขและสมานฉันท์
นอกเหนือไปจากการทำหน้าที่ในการถ่วงดุลและตรวจสอบการทำหน้าที่ซึ่งกันและกันดังที่แล้วมา
ดังนั้น
ในประเด็นนี้
จึงอยากให้ศาลได้ทบทวนใหม่ว่าควรมีส่วนร่วมในการเป็นองค์คณะหรือไม่
ซึ่งหากเห็นว่า
บุคคลผู้เข้าร่วมเป็นองค์คณะนั้นน้อยเกินไป
ควรเสนอให้มีตัวแทนภาคส่วนอื่น
ๆ
เข้ามามีส่วนร่วมแก้วิกฤตชาติด้วย
อันจะช่วยลดความรู้สึกว่า
เราฝากการแก้วิกฤตชาติไว้กับบุคคลเหล่านี้
และจะช่วยลดข้อสงสัยว่า
บุคคลเหล่านี้
เข้ามาแก้วิกฤตโดยมีนัยแอบแฝงทางการเมืองหรือไม่
ลงได้บ้าง
|