เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
เงินแป๊ะเจี๊ยะกับโรงเรียนดัง
นับเป็นประเด็นร้อนต้อนรับเปิดเทอมแทบทุกปี
ในปีนี้
กระทรวงศึกษาธิการได้มอบนโยบายการรับนักเรียนปีการศึกษา
2550
ให้แก่ผู้รับผิดชอบเพื่อดูแลการรับนักเรียนเข้าศึกษา
ให้ปลอดเด็กฝาก
เด็กเส้น
และการเรียกเก็บแป๊ะเจี๊ยะ
แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งที่ทำให้การแก้ไขเป็นไปด้วยความยากลำบาก
นั่นคือ
การเรียกเงินแป๊ะเจี๊ยะเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกมายาวนานในสังคมไทย
ผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานของตนเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง
เพื่ออนาคตที่ดีกว่า
ย่อมเต็มใจและยินดีจ่ายเงินให้กับโรงเรียน
ในรูปแบบที่นิยมกัน..การบริจาค
ในทัศนะของผมค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับการเก็บเงินแป๊ะเจี๊ยะ
เพื่อแลกสิทธิในการเข้าเรียน
แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นที่ค่อนข้างยากลำบาก
ยิ่งหากเป็นการแก้แบบหักดิบ
โดยการสั่งห้ามไม่ให้เรียกเก็บเงินผู้ปกครองเลย
จะยิ่งไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ
ผมเสนอว่า
ทางออกของปัญหาการเรียกเก็บเงินแป๊ะเจี๊ยะ
ควรแบ่งตามช่วงเวลาโดยพิจารณาอย่างสมจริง
มองเพื่อแก้ปัญหา
และมองเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์
โดยมุ่งเป้าให้โรงเรียนยังคงรักษาคุณภาพในระดับสูง
แบ่งเป็น
ระยะสั้น
อนุญาตให้เก็บเงินแป๊ะเจี๊ยะ
คงต้องยอมรับว่า
แป๊ะเจี๊ยะจะยังคงมีอยู่ตราบใดที่คุณภาพสินค้าต่างกัน
โรงเรียนชื่อดังมักมีคุณภาพสูงกว่า
และมีต้นทุนในการจัดการศึกษาสูงกว่า
ผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกหลานเรียนในโรงเรียนชื่อดังจึงยอมจ่ายเงินแป๊ะเจี๊ยะจำนวนมาก
ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด
ด้วยเหตุผลเหล่านี้
ทางออกในระยะสั้นควรยังให้มีการเก็บแป๊ะเจี๊ยะอยู่
แต่ต้องนำเงิน
“ใต้โต๊ะ”
มาไว้
“บนโต๊ะ”
โดยมีการดำเนินการอย่างโปร่งใส
เป็นธรรม
และนำไปพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอย่างแท้จริง
โดยรัฐอาจอนุญาตให้เก็บแป๊ะเจี๊ยะไม่เกินร้อยละ
2-3
ของที่นั่งเรียน
โดยให้แต่ละโรงเรียนกำหนดโควตาไว้อย่างชัดเจน
ระยะยาว
ไม่ให้มีการเก็บแป๊ะเจี๊ยะเลย
ในระยะยาวจุดยืนของภาครัฐคือ
ไม่ควรให้มีการเก็บค่าแป๊ะเจี๊ยะเลย
โดยในบางโรงเรียนผู้เรียนควรมีส่วนร่วมจ่ายตามต้นทุนจริง
และปล่อยค่าเล่าเรียนลอยตัว
เนื่องจากผลตอบแทนสู่ผู้เรียนในอนาคตย่อมสูงตามไปด้วย
ข้อดีของการไม่ให้เก็บค่าแป๊ะเจี๊ยะคือ
ช่วยลดปัญหาการเก็บแป๊ะเจี๊ยะในทุกรูปแบบ
สร้างความเท่าเทียมในการเข้ารับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม
การปล่อยค่าเล่าเรียนลอยตัวควรกำหนดให้อยู่ภายใต้คุณภาพของโรงเรียน
กล่าวคือ
โรงเรียนใดที่มีคุณภาพสูงรัฐควรปล่อยให้โรงเรียนเก็บค่าเล่าเรียนเต็มที่ตามต้นทุนจริง
ให้เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน
ในขณะที่โรงเรียนที่ยังมาตรฐานไม่มากนักรัฐควรให้การสนับสนุนจนกว่าโรงเรียนจะมีคุณภาพสูงจนสามารถเก็บค่าเล่าเรียนลอยตัวได้
แต่เป็นคนละกรณีกับโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล
และประชนชนในพื้นที่มีรายได้ต่ำ
รัฐยังคงต้องสนับสนุนการศึกษาเป็นพิเศษ
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงมาตรการเสริม
ที่ต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
หากแต่สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาคือ
การสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับสิทธิในการรับการศึกษาของบุคคล
และการลบค่านิยมการส่งลูกเข้าโรงเรียนดัง
เพราะหากประชาชนยังไม่เข้าใจในสิทธิการศึกษาของบุคคลอื่น
ย่อมทำให้เกิดการจ่ายเงินเพื่อเข้าโรงเรียนดัง
ๆ
อันเป็นการกีดกันคนที่อื่นที่มีสิทธิรับการศึกษา
|