เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
กระแสข่าวที่รัฐบาลไฟเขียวให้กระทรวงการคลังออกสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือล็อตเตอรี่
2 ตัว
และ 3
ตัว
เพื่อแก้ไขปัญหาหวยใต้ดินซึ่งเป็นการพนันที่ผิดกฎหมาย
ทำให้เกิดการถกเถียงแสดงความคิดเห็นกันอย่างมาก
ทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและกลุ่มที่คัดค้านการกระทำดังกล่าว
ลักษณะการออกสลากกินแบ่ง
2 ตัว
และ 3
ตัว นั้น
มีความแตกต่างจากหวยบนดินซึ่งเป็นแนวทางของรัฐบาลชุดที่แล้ว
เนื่องจากสลาก
2 ตัว
และ 3
ตัว
เป็นการแตกไลน์ล็อตเตอรี่ในรูปแบบเดิมขึ้นมาใหม่
จึงไม่ต้องแก้ไข
พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
พ.ศ.
2517
ในตอนนี้
และยังสามารถจำกัดจำนวนคนซื้อได้ไม่เกิน
30
ล้านฉบับต่องวด
อย่างไรก็ตาม
การออกสลากลักษณะนี้มาเพิ่ม
ไม่สามารถขุดรากถอนโคนปัญหาการเล่นหวยใต้ดิน
และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อหวยได้
เนื่องจากธรรมชาติการซื้อล็อตเตอรี่ของประชาชน
โดยเฉพาะที่เรียกว่า
“หวย
2 ตัว 3
ตัว”
นั้น
มักจะอิงกับกระแสเลขเด็ดที่ออกมาในแต่ละงวด
ซึ่งอาจทำให้เลขเด็ดบางตัวขายดีจนมีไม่เพียงพอ
และผู้ค้าอาจปั่นราคาให้สูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
ทำให้ผู้เล่นหวยต้องหันไปพึ่งบริการหวยใต้ดินอีก
แม้ว่าสิ่งที่รัฐบาลทำจะแสดงออกถึงความพยายามสร้างความสมดุล
ระหว่าง
การเอาใจประชาชนที่เคยเล่นหวยบนดิน
กับ
การป้องกันมิให้ประชาชนถูกมอมเมา
ด้วยการพยายามจำกัดจำนวนการผลิต
แต่ในความเป็นจริง
คงเป็นเรื่องยากในการทวนกระแสเรียกร้องของประชาชนได้
ในอนาคตอันใกล้นี้
แนวโน้มที่คาดการณ์ว่าน่าจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นั่นคือ
การแก้กฎหมายให้หวยบนดินฟื้นคืนสู่สังคมอีกครั้ง
แม้ว่าหลายคนคงไม่อยากให้รัฐบาลสนับสนุนการมอมเมาประชาชนในทุกรูปแบบ
แต่ในสังคมของเรา
เราคงต้องยอมรับว่า
พฤติกรรมของคนที่นิยมเล่นหวย
ย่อมไม่สามารถเลิกได้ในระยะเวลาอันสั้น
ดังนั้นการจะตอบสนองความต้องการของประชาชนที่ชอบเสี่ยงโชค
ควบคู่ไปกับการควบคุมปริมาณการเล่นหวยไม่ให้คนหมกมุ่นกับอบายมุขจนเกินไปจึงเป็นเรื่องจำเป็น
ผมเคยเสนอว่า
รัฐบาลอาจจะให้มีสลาก
2 ตัว
และ 3
ตัว
แต่ควรเปลี่ยนรูปแบบของรายได้ที่ได้จากสลากกินแบ่ง
ให้มีส่วนสร้างหลักประกันชีวิตแก่ประชาชน
โดยผ่านการแก้ไข
พ.ร.บ.
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
พ.ศ.
2517
ในอนาคต
ดังข้อเสนอต่อไปนี้
การใช้เงินหวยสร้างอนาคต
คือ
การกำหนดรูปแบบให้ผู้ซื้อสลากกินแบ่งได้รับประโยชน์ภายหลัง
คล้ายการซื้อสลากออมสิน
แต่ผลตอบแทนจะไม่ครบ
100%
เนื่องจากผู้ซื้อมีแรงจูงใจการซื้อเพื่อให้ถูกรางวัล
ไม่ใช่การตั้งใจนำเงินมาออมดังเช่นการซื้อสลากออมสิน
โดย
กำหนดสัดส่วนเงินที่ได้จากการขายสลากกินแบ่งใหม่
จากเดิมที่กำหนดให้รายได้จากการจำหน่ายสลากกินแบ่ง
ร้อยละ
60
เป็นเงินรางวัล
อาจเปลี่ยนแปลงโดยแบ่งเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม
3
ส่วนด้วยกัน
ส่วนแรกคือ
เงินที่จะใช้เป็นเงินรางวัล
ส่วนที่
2 คือ
ส่วนที่จะคืนแก่ผู้ที่ซื้อหวยแต่ละคน
เพื่อให้มีเงินออมหลังเกษียณ
และส่วนที่
3
คือ
ส่วนที่จะนำไปคืนสู่สังคม
โดยนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อสร้างสวัสดิการแก่ส่วนรวมต่อไป
มอบหมายสถาบันทางการเงินเป็นเจ้าภาพ
เนื่องจากสลากกินแบ่งรูปแบบใหม่มีแนวคิดในการช่วยผู้ซื้อให้มีเงินออม
จึงควรจัดสรรให้มีสถาบันทางการเงินของรัฐเป็นผู้บริหารจัดการ
คล้ายกับธนาคารออมสินที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสลากออมสิน
ซึ่งอาจเปิดโอกาสให้ผู้ขายรายย่อยนำหวยที่สถาบันทางการเงินดูแลไปจำหน่ายได้
โดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูลผู้ซื้อ
เพื่อจัดทำเป็นบัญชีเงินออมต่อไป
การลดมูลค่ารางวัลจูงใจ
แต่เพิ่มจำนวนรางวัล
เพื่อกระจายให้คนถูกมากขึ้น
โดยหากรัฐบาลเห็นว่า
ควรคงเรื่องสลากกินแบ่งไว้แล้ว
ก็ไม่ควรละเลยที่จะพิจารณามูลค่าของรางวัลที่ไม่ควรกลายเป็นเงินก้อนโตจนล่อใจผู้ซื้อ
จนทำให้มีนักเล่นหน้าใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา
แต่ควรลดมูลค่าของรางวัลแต่ละประเภทลง
และเพิ่มจำนวนรางวัลเพื่อให้คนที่ซื้อน้อยมีโอกาสถูกมากขึ้น
ซึ่งอาจเป็นแนวทางในการลดแรงจูงใจเรื่องเงินก้อนโตได้
ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถห้ามคนให้เลิกเล่นการพนันได้
แต่การควบคุมให้อยู่ในวงที่จำกัดก็เป็นการบรรเทาภาวะสังคมแห่งความลุ่มหลงอบายมุขได้บ้าง
เพื่ออนาคตประเทศไทยจะมีบุคลากรที่มีศักยภาพที่แข็งแกร่งเพื่อแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจกับต่างประเทศ
และรองรับการขยายตัวทางการค้าการลงทุน
ไม่มัวเมากับการเสี่ยงโชคเพื่อความสนุกสนานและหวังรวยทางลัดง่าย
ๆ
อีกต่อไป
|