เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
นายแพทย์มงคล
ณ สงขลา
ร.ม.ต.กระทรวงสาธารณสุข
ได้เผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการมาตรการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่า
ได้ขอความร่วมมือไปยัง
ร.ม.ต.กระทรวงการคลังให้พิจารณาขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ยังไม่ได้ขึ้นเต็มเพดานภาษี
ตามมติของคณะกรรมการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
เมื่อวันที่
28
ธันวาคม
2549
ที่ผ่านมา
ทั้งนี้คณะกรรมการดังกล่าวเห็นว่า
รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับมาตรการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เช่น
สุราขาว
เบียร์
สุราแช่
สุราผสม
รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่นที่ยังไม่ได้ขึ้นภาษีเต็มเพดานภาษี
ตามพ.ร.บ.สุรา
พ.ศ.
2493
ของกรมสรรพสามิต
กระทรวงการคลัง
อย่างไรก็ตาม
แม้รัฐบาลจะเชื่อว่าการใช้มาตรการเก็บภาษีกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนเต็มเพดานจะมีผลทำให้ลดจำนวนนักดื่มอย่างได้ผล
แต่หากพิจารณาด้วยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
การขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แม้จะทำให้ราคาเหล้า-เบียร์เพิ่มขึ้น
แต่อาจไม่ทำให้การดื่มลดลงมากเท่าใดนัก
เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้
ในสายตานักดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าจำเป็น
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า
“กฎของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา”
แสดงถึงธรรมชาติของสินค้าแต่ละชนิด
ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการจากผู้ซื้อ
ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดนั้น
ความยืดหยุ่นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละชนิดมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพ
หรือสามารถใช้สินค้าอื่นทดแทนได้แตกต่างกัน
ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุทำให้การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการของสินค้าแต่ละประเภทไม่เท่ากัน
แม้ราคาของสินค้าเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเท่ากันก็ตาม
หากพิจารณาสินค้าประเภทยาเสพติด
อาทิ
บุหรี่
เหล้า
เบียร์
ฯลฯ
ถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นในมุมมองของผู้ที่ติดยาเสพติด
คุณสมบัติของสินค้าจำเป็น
คือ
แม้ว่าราคาสินค้านั้นเพิ่มขึ้นมาก
แต่การบริโภคจะลดลงไม่มากนัก
ดังนั้น
เมื่อราคาจะสูงขึ้นมากแต่ผู้ที่ติดยาเสพติดเหล่านี้จะพยายามหาสินค้ามาเสพเพื่อตอบสนองความต้องการให้จงได้
มากยิ่งกว่านั้น
สินค้าประเภทยาเสพติดทั้งหลาย
ยังเป็นสินค้าที่ไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาบริโภคทดแทนได้
หรือทดแทนได้น้อยมาก
เช่น
คนที่ชอบดื่มเหล้า
ไม่สามารถดื่มกาแฟหรือหาสิ่งอื่นเพื่อเป็นการทดแทนได้
ด้วยเหตุนี้แม้รัฐบาลจะเก็บภาษีแบบสุดโหด
แต่จะไม่มีประสิทธิภาพมากนักในการลดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
การควบคุมที่เข้มงวดมากอาจมีผลกระทบมาก
เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ยังเสนอมาตรการควบคุมการโฆษณาส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ
พร้อมทั้งมาตรการจำกัดการเข้าถึงด้วย
ตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
ควบคู่ไปกับมาตรภาษีแบบเต็มเพดาน
ผมเห็นว่าการแก้ปัญหาโดยใช้ทั้งกฎหมายและภาษีต้องระวังว่าอาจเป็นมาตรการที่เข้มงวดมากเกินไป
แม้ว่ารัฐบาลจะมีเจตนาทีดีก็ตาม
แต่ผมรู้สึกกังวลว่าการใช้มาตรการที่เข้มงวดมาก
ๆ
อาจจะสร้างผลกระทบที่รัฐบาลคิดไม่ถึง
เช่น
การห้ามโฆษณาทั้งหมด
ทำให้ผู้ผลิตหน้าใหม่แข่งขันกับรายเดิมได้ยากเพราะไม่สามารถโฆษณาให้สินค้าเป็นที่รู้จักเหมือนรายเดิมที่อยู่ในตลาดมาก่อน
ทำให้เกิดสงครามราคา
หรือเกิดช่องทางการโฆษณาหรือวิธีการตลาดแบบใหม่ที่กฎหมายควบคุมไปไม่ถึง
เป็นต้น
การใช้มาตรการขึ้นภาษีแบบเต็มเพดานอาจเกิดปัญหาอื่นตามมา
ปัจจัยด้านราคาอาจไม่มีผลต่อนักดื่มรายได้สูง
แต่นักดื่มรายต่ำอาจหาทางออกอื่น
เช่น
การเปลี่ยนไปบริโภคสุราราคาต่ำ
โดยเฉพาะการบริโภคสุราเถื่อน
ซึ่งอาจทำให้เกิดการระบาดของสุราเถื่อน
เพราะผู้ผลิตสุราเถื่อนเห็นว่าสุราถูกกฎหมายราคาแพงมากจนคนซื้อไม่ไหว
จึงจูงใจให้มีผู้ผลิตสุราเถื่อนที่มีราคาถูกออกมาแข่งขัน
แล้วนักดื่มจำนวนมากก็หันไปบริโภคสุราเถื่อนแทนสุราถูกกฎหมายเพิ่มขึ้น
ในที่สุดทำให้หน่วยงานของรัฐเสียงบประมาณในการปราบปราม
เป็นต้น
ที่กล่าวทั้งหมดนี้
ผมไม่ได้แสดงความไม่เห็นด้วยในการขึ้นภาษีบาปหรือมาตรการห้ามโฆษณาแต่อย่างใด
เพราะผมไม่เห็นด้วยให้คนที่ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา
อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาของรัฐบาลควรพิจารณาผลกระทบในทุก
ๆ มิติ
ไม่เพียงมิติด้านสังคมเท่านั้น
พร้อมทั้งพิจารณาผลกระทบอื่นจากช่องว่างทางกฎหมายด้วย
แม้ว่ากฎหมายนั้นจะมีเจตนารมณ์ที่ดีก็ตาม
|