เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
หลังจากที่ผมได้แบ่งปันแนวคิด
“ผู้ประกอบการเพื่อสังคม”
ผ่านทางบทความในหนังสือพิมพ์
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(e-letter)
และยังเผยแพร่ใน
www.bloge/oknation.net/kriengsak
ได้มีผู้ที่สนใจแนวคิดนี้จำนวนไม่น้อย
ซึ่งส่วนหนึ่งได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กลับมายังผมด้วย
ตามที่กล่าวไปแล้วว่า
แนวคิดนี้ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย
ทำให้หลายท่านยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนในทางปฏิบัติ
ผมจึงขอยกตัวอย่างโครงการ
“กองทุนเวลา”
ที่ผมพร้อมทั้งอาสาสมัครร่วมกันดำเนินการมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว
โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมทำงานเพื่อสังคม
หรือใช้เป็นแนวทางในการริเริ่มทำโครงการเพื่อสังคมอื่น
ๆ ต่อไป
แนวคิดของโครงการกองทุนเวลาเพื่อสังคมอยู่บนความเชื่อที่ว่า
แต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน
และอาจนำมาช่วยผู้อื่นได้
ผ่านการใช้เวลาว่างในชีวิตประจำวันที่มีอยู่จำนวนหนึ่งไปช่วยเหลือสังคม
การที่คนจำนวนมากสละเวลาว่างของตน
ย่อมเป็น
“พลังเวลา”
ที่มีคุณค่ามหาศาลทำให้สังคมกลับเข้มแข็ง
โครงการนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกระดับและทุกกลุ่มตั้งแต่
บุคคล
องค์กร
สถาบันการศึกษา
บริษัท
หน่วยงานภาครัฐ
เอกชน
หรือชุมชนในสังคมนั้น
สมัครเข้าร่วมโครงการฯ
จัดสรรช่วงเวลาว่างที่ตนสามารถอุทิศให้ได้
เพื่อทำกิจกรรมของสังคมตามประเภทของกิจกรรมที่ตนต้องการมีส่วนร่วม
โดยกองทุนเวลาจะทำหน้าที่จับคู่ระหว่างผู้ขอรับความช่วยเหลือ
กับผู้ให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
นับเป็นการลดภาระการพึ่งพิงภาครัฐ
ด้วยการรวมพลังของคนในสังคม
การจัดตั้งกองทุนฯ
มีเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังว่า
ในสังคมมีอุปทาน
(supply)
ของเวลาของคนจำนวนมากที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์
ซึ่งเกิดจากการใช้เวลาที่ยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุด
ขณะเดียวกัน
มีความต้องการ
(demand)
คนเข้ามาทำงานเพื่อสังคมจำนวนมาก
แต่ไม่มีกลไกช่วยนำคนที่มีความสามารถ
มีเวลา
และมีจิตสาธารณะ
ให้มาพบกับผู้ที่มีความต้องการความสามารถและเวลาของประชาชนเหล่านั้น
นอกจากนี้
ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลข่าวสารเป็นอีกหนึ่งอุปสรรค
ที่ทำให้ผู้ที่มีความสามารถและมีเวลาว่าง
ไม่รู้ว่าใครมีความต้องการให้เขาเข้าไปช่วยเหลือบ้าง
เช่นเดียวกับผู้ที่มีความต้องการความช่วยเหลือ
ที่ไม่รู้ว่าใครที่มีความสามารถช่วยเหลือเขาได้
ผมเห็นว่าสังคมไทยยังขาดระบบที่ทำหน้าที่ดังกล่าว
ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวยังมีอยู่ในวงจำกัด
ขาดคนกลางที่ทำหน้าที่รวบรวมความต้องการของแต่ละฝ่าย
ขาดระบบจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
ทำให้ไม่สามารถประสานพลังเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม
จึงทำให้มีความต้องการของคนบางส่วนในสังคมไม่ได้รับการช่วยเหลือ
และทำให้ความสามารถและเวลาของคนบางส่วนไม่ได้ถูกใช้ไปอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
การจัดตั้งกองทุนเวลาจะช่วยเข้ามาอุดช่องว่างในส่วนที่ขาดหายไปของสังคมได้
และสามารถเติมเต็มความต้องการของสังคม
ทำให้ผู้ให้และผู้รับเกิดความพึงพอใจ
เพราะเกิดจากความสมัครใจทั้งสองฝ่าย
ส่งผลให้ประเทศได้รับการพัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
และสังคมเข้มแข็ง
มากยิ่งกว่านั้นกองทุนเวลาจะเป็นตัวช่วยลดช่องว่างของสังคม
เพราะเป็นกระบวนการถ่ายโอนความรู้ความสามารถของผู้เข้มแข็งให้กับผู้อ่อนแอ
การอุทิศเวลาว่างเพียงน้อยนิดของแต่ละคนจึงสามารถสร้างสรรค์สังคมได้อย่างมากมายมหาศาล
กองทุนเวลามีวิธีการดำเนินกิจกรรม
คือ
เป็นการจัดการด้านอุปทานของเวลา
โดยการสร้างระบบหรือวิธีการในรูปแบบต่าง
ๆ
ที่เหมาะสม
เพื่อให้อาสาสมัครแต่ละคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างสะดวกและเป็นไปตามความสนใจ
โดยอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มตามลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม
และตามความสนใจ
ตัวอย่างกลุ่มตามความสนใจ
เช่น
กลุ่มนักศึกษา
กลุ่มคนหนุ่มสาว
กลุ่มคนทำงาน
กลุ่มผู้เกษียณอายุ
กลุ่มที่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
หรือกลุ่มที่สนใจปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ
เป็นต้น
ทั้งนี้เพื่อให้อาสาสมัครสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่ต้องปรับตัวมาก
และสามารถเชิญชวนญาติมิตรที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันให้อุทิศเวลาเข้ามาทำงานในกองทุนเวลาได้ด้วย
กองทุนเวลาจะจัดระบบสารสนเทศ
เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเวลาและกิจกรรมที่อาสาสมัครแต่ละคนได้ทำงานช่วยเหลือสังคมผ่านกองทุนฯ
แล้วทำการคำนวณออกมาเป็นหน่วยคะแนนที่สามารถนับได้
ระดับคะแนนสะสมที่อาสาสมัครแต่ละคนได้รับ
จะถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดรางวัลในรูปแบบต่าง
ๆ
ให้แก่อาสาสมัครแต่ละคน
ด้วยวิธีการนี้
อาสาสมัครจะเกิดแรงจูงใจในการทำงานเพื่อช่วยสังคม
และจูงใจให้คนอื่น
ๆ
เข้ามาร่วมทำงานในกองทุนฯ
อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้กองทุนฯ
จะทำหน้าที่ในการจัดโครงการต่าง
ๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม
โดยการประสานงานกับหน่วยงานต่าง
ๆ
ที่มีความต้องการให้อาสาสมัครไปทำงาน
เช่น
โครงการห้องสมุดสำหรับคนจน
โครงการหนังสือมือสอง
โครงการอ่านหนังสือลงแผ่นซีดีให้คนตาบอดฟัง
โครงการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กในชุมชน
การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและครอบครัว
การช่วยซ่อมแซมที่อยู่อาศัย
การสร้างสิ่งของถาวรให้แก่คนในชุมชน
เป็นต้น
ผมเชื่อว่าแนวคิดการจัดตั้งกองทุนเวลาเป็นแนวคิดเชิงที่มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างให้เกิดขึ้น
พร้อมทั้งขยายจำนวนเพิ่มขึ้นในสังคมไทย
หากวันนี้ทุกคนบริจาคเวลาว่างของตนอย่างน้อยเพียงเดือนละ
3
ชั่วโมง
และสามารถขยายไปอย่างน้อย
1,000,000
คน
กองทุนฯจะมีจำนวนเวลารวมถึง
3
ล้านชั่วโมงต่อเดือนเพื่อการทำการดีเพื่อสังคมส่วนรวม
ซึ่งสามารถทำให้สังคมไทยน่าอยู่ยิ่งขึ้น
ลดภาระของภาครัฐได้ในระยะยาวและยังเป็นการแก้ไขปัญหาสังคมที่ยั่งยืน
กองทุนเวลาเป็นวิธีการสร้างและใช้ทุนทางสังคม
(Social
capital)
อย่างเป็นรูปธรรม
และเป็นเครื่องมือในการหล่อหลอมและฟื้นฟู
“ความมีน้ำใจ”
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทย
ให้กลับคืนมาอีกครั้ง
|