เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
เมื่อเร็ว
ๆ นี้
ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนการครอบครองกรรมสิทธ์ที่ดินของมูลนิธิวัดสวนแก้วที่ซื้อจาก
นางวันทนา
สุขสำเริง
ผู้ครอบครองที่ดินปรปักษ์
โดยให้กลับไปเป็นกรรมสิทธิ์ของ
นางทองอยู่
หิรัญประดิษฐ์
เจ้าของเดิม
หลังจากทายาทเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินเดิมได้คัดค้านต่อศาลว่า
ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินแปลงดังกล่าวไม่ถูกต้อง
เหตุการณ์นี้ทำให้
คำว่า
“ผู้ครอบครองที่ดินปรปักษ์”
เริ่มเป็นที่คุ้นหู
อย่างไรก็ตาม
ผมจะไม่กล่าวถึงคดีดังกล่าว
แต่จะขอพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของข้อกฎหมายว่าด้วยผู้ครอบครองที่ดินปรปักษ์
ซึ่งอยู่ในประมวลกฎหมายที่ดินนานมาแล้ว
แท้จริงเจตนารมณ์ที่ของข้อกฎหมายนี้
ต้องการให้ที่ดินได้ถูกใช้ประโยชน์มากกว่าที่จะถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า
และเปิดโอกาสให้คนยากจนมีโอกาสได้มีที่ดินทำกิน
แต่ไม่ได้เปิดโอกาสให้บุคคลไปครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของบุคคลอื่นได้ง่าย
ๆ
เพราะกฎหมายมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างรัดกุม
โดยจะต้องเป็นผู้ที่เข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอย่างเปิดเผยเป็นเวลายาวนาน
จึงจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นได้
แม้ว่าประเด็นผู้ครอบครองที่ดินปรปักษ์จะไม่สามารถทำให้บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมายได้มากนัก
เพราะไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้เจ้าของที่ดินเปิดโอกาสให้คนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์จากที่ดินว่างเปล่า
ถึงกระนั้นการมีบทบัญญัติข้อนี้ยังดีกว่าไม่มีเสียเลย
เพราะอย่างน้อยยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เป็นช่วยให้ที่ดินที่ที่ว่างเปล่าและเจ้าของไม่ได้มาดูแล
ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้บ้าง
ผมเห็นว่าควรใช้เครื่องมืออื่นร่วมด้วย
เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในที่ดินมากกว่าที่เป็นอยู่
โดยเฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างภาษีที่ดิน
ซึ่งผมขอเสนอวิธีการจัดเก็บ
2
ส่วนดังนี้
เก็บภาษีที่ดินเพิ่มขึ้นตามมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น
ผมเห็นว่าอัตราภาษีที่ดินของบ้านเรายังต่ำอยู่มาก
ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น
เจ้าของที่ดินจำนวนหนึ่งซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร
ทำให้ที่ดินจำนวนมากถูกทิ้งร้าง
โดยไม่ได้ทำประโยชน์
เหตุผลเพราะมูลค่าของที่ดินที่เพิ่มขึ้น
สูงกว่าต้นทุนของการถือครอง
ซึ่งประกอบด้วยมูลค่าของภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย
รวมกับค่าเสียโอกาสในการใช้เงินที่นำมาซื้อที่ดินผืนนั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้
ทรัพยากรที่ดินของประเทศจึงไม่ได้ใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
ผมขอเสนอให้รัฐเก็บภาษีที่ดิน
โดยคำนวณจากส่วนต่างของมูลค่าของที่ดินที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
หรือ
capital
gain tax
เนื่องจากเจ้าของที่ดินนั้นได้รับประโยชน์จากมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น
โดยที่ไม่ได้ทำอะไรกับที่ดินนั้น
การเก็บภาษีดังกล่าวนี้เปรียบได้กับการที่เจ้าของที่ดินฝากเงินไว้กับธนาคาร
ซึ่งจะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากมูลค่าของดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินฝากนั้น
capital
gain tax
ควรเก็บในอัตราที่สูงกว่าหรือเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาว
และเป็นอัตราก้าวหน้าตามอัตราการเพิ่มขึ้นของมูลค่าที่ดิน
ซึ่งถ้าเป็นได้ควรเป็นภาษีลอยตัวตามอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยในตลาดในปีนั้น
ๆ
ยกตัวอย่าง
ถ้าดอกเบี้ยระยะยาวมีค่าเฉลี่ยตลอดทั้งปีที่ร้อยละ
3
ต่อปี
และภาษีเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ
5
ของมูลค่าดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับ
อัตราภาษีที่ดินขั้นต่ำที่สุดควรอยู่ที่ร้อยละ
5
ของมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นในปีนั้น
แต่หากมูลค่าที่ดินในปีนั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ
3
หรือสูงกว่าดอกเบี้ย
เจ้าของที่ดินจะต้องถูกจัดเก็บภาษีสูงกว่าร้อยละ
5
ของมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นในปีนั้น
ทั้งนี้
เพื่อลดแรงจูงใจในการเก็งกำไร
เพราะทำให้การใช้ทรัพยากรที่ดินขาดประสิทธิภาพ
แต่ผลักดันให้ประชาชนนำเงินเก็บที่มีอยู่ไปฝาก
หรือลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมมากกว่า
เจ้าของที่ดินที่ปล่อยให้ที่ดินรกร้างจะถูกกดดันให้ต้องทำประโยชน์จากที่ดินนั้น
เพื่อให้มีรายได้ชดเชยกับภาษีที่จะต้องเสียในแต่ละปี
หรือถูกกดดันให้ขายที่ดินสู่ตลาด
ทำให้ที่ดินดังกล่าวถูกเปลี่ยนมือไปสู่ผู้ที่ต้องการเข้ามาใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้นจริง
ๆ
เก็บภาษีที่ดินเพิ่มขึ้นเมื่อไม่ใช้ประโยชน์จากที่ดิน
การเก็บภาษีส่วนนี้เป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากกรณีแรก
โดยเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากที่ดินที่ไม่ถูกทำประโยชน์
แต่มีข้อยกเว้นสำหรับที่ดินที่ถูกใช้ประโยชน์
วิธีการคำนวณภาษีอาจแตกต่างกันตามโซนพื้นที่
โดยกำหนดเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินในอัตราที่เหมาะสมตามโซนพื้นที่
แต่การคำนวณเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำจะต้องสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ
เจ้าของที่ดินจะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
หรือขึ้นทะเบียนสำหรับการเสียภาษีในส่วนนี้
โดยจะต้องยื่นแบบแสดงรายได้จากการใช้ประโยชน์ในที่ดินของตน
ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถตรวจสอบได้ในระดับหนึ่งว่า
มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้นหรือไม่
ทั้งนี้การใช้ที่ดินนั้นได้รับรายได้ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์รายได้ในอัตราที่กำหนด
จะได้รับยกเว้นการเสียภาษี
อย่างไรก็ตาม
หากรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์รายได้ที่กำหนด
เจ้าของที่ดินจะต้องแสดงหลักฐานหรือถูกตรวจสอบต่อไปว่า
มีการทำประโยชน์จากที่ดินอยู่จริงหรือไม่
หากไม่มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
เจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีส่วนนี้
เพื่อทำให้การใช้ที่ดินในภาพรวมมีประสิทธิภาพ
ทรัพยากรที่ดินมีจำกัดและไม่สามารถสร้างให้เพิ่มขึ้น
แต่กลับมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
รัฐบาลจึงควรแสดงความกล้าหาญในการปรับโครงสร้างภาษีที่ดินดังกล่าว
เพื่อให้เกิดใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นประโยชน์สูงสุด
|