อย่างไรก็ตาม
ความจริงอีกด้านที่ไม่ควรมองข้ามคือ
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านมาพบว่า
“ไม่ฟรีตรง”
จากการวิเคราะห์นโยบายขยายการอุดหนุนการศึกษาจาก
9
ปีเป็น
12
ปี
โดยมุ่งไปที่ประเด็นการกระจายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้เรียนอย่างเท่า
ๆ กัน
พบว่า
รัฐไม่สามารถรับภาระอุดหนุนระยะยาวได้
การจัดสรรงบประมาณอุดหนุนรายหัวล่าสุดได้มีการสรุปตัวเลขเงินอุดหนุนรายหัวใหม่
ในระดับประถมศึกษาเป็น
1,900
บาทต่อปี
มัธยมศึกษาตอนต้น
3,500
บาทต่อปี
มัธยมศึกษาตอนปลาย
เป็น
3,800
บาทต่อปี
โดยหากใช้อัตราใหม่นี้
รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มอีกกว่า
17,000
ล้านบาท
เพื่อให้เพียงพอกับนักเรียนทั้ง
12
ล้านคน
หากพิจารณาจากงบประมาณ
20,000
ล้านบาท
ในปีงบประมาณ
2551
จัดสรรให้จำนวน
4,825
ล้านบาท
ปีงบประมาณ
2552
จำนวน
4,833
ล้านบาท
และจะเพิ่มขึ้นทุกปีไปเรื่อย
ๆ
เท่ากับเพิ่มภาระทำให้รัฐบาลไม่สามารถจัดสรรเพื่อพัฒนาด้านอื่น
ๆ
อย่างทั่วถึงได้
ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้
ที่สำคัญ
ที่ผ่านมา
ไม่แก้ปัญหาโรงเรียนเก็บเงินเพิ่มจากผู้ปกครอง
แม้ว่ารัฐบาลพยายามจัดสรรเงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่โรงเรียนต่าง
ๆ
ดังที่กล่าวมาข้างต้น
ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นคือ
ระดับประถมศึกษา
2,088.07
บาท
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
4,137.63
บาท
มัธยมศึกษาตอนปลาย
4,479.03
บาท
ซึ่งโรงเรียนยังคงต้องแบกรับภาระส่วนต่างที่เกิดขึ้นอยู่
ทำให้โรงเรียนคงต้องระดมทุนจากผู้ปกครองเพิ่มเติมในรูปของเงินค่าอุปกรณ์การเรียน
เงินค่าห้องสมุด
เช่นที่ผ่านมา
ด้วยเหตุนี้
หากรัฐบาลต้องการระบุถึงสิทธิในการรับการศึกษาของประชาชนในรัฐธรรมนูญอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
โดยรัฐต้องทำหน้าที่เป็นผู้อุดหนุนนั้น
ต้องมีแผนงานที่รอบคอบ
และพิจารณาถึงแนวทางที่สามารถทำได้จริงในภาคปฏิบัติ
ควรกำหนดเงื่อนไขให้รัฐต้องทำแผนการศึกษาระยะยาว
ชี้แจงถึงที่มา
วิธีการ
แนวทางที่ชัดเจนในการจัดสรรงบประมาณ
ให้เพียงพอกับการอุดหนุนการศึกษา
เพียงพอกับค่าใช้จ่ายรายหัวที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เพื่อป้องกันปัญหาเดิมที่ไม่สามารถทำตามกฎหมายได้จริง
ผู้ปกครองยังคงต้องรับภาระส่วนต่างที่รัฐไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ
แม้ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะเป็นผลดีต่อประชาชน
แต่หากพิจารณาในภาคปฏิบัติแล้ว
แทบไม่มีทางเป็นไปได้
การระบุเช่นนี้ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใด
ดังนั้นหากเราต้องการให้รัฐธรรมนูญมิได้เป็นเพียงบทบัญญัติสวยหรู
แต่มีผลบังคับใช้ได้จริง
บทบัญญัติทุกมาตราจึงควรมีแนวทางที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า
จะเป็นเช่นนั้นจริงในภาคปฏิบัติด้วย