เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
“ร่วมคิด
ร่วมสร้าง
ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ”
คำขวัญเชิญชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้
นับเป็นความพยายามที่ดีของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่าง
การดำเนินการเช่นนี้
แม้ว่าเป็นสิ่งที่ดี
แต่ทว่า
จะไม่เป็นการดีที่สุด
หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ไม่ได้พิจารณาอย่างมี
“หลักการ”
การคิดในเชิงหลักการจะช่วยสร้าง
“กรอบความคิด”
ที่ชัดเจนในการร่างรัฐธรรมนูญ
เพราะจะช่วยให้การคิดรายละเอียดในแต่ละหมวด
แต่ละมาตรา
ย่อมสอดคล้องกับหลักการที่เชื่อมั่นนั้น
ในเวลานี้
เราควรเปิดเวทีให้มีการถกเถียงเชิงหลักการด้วย
โดยหลักการที่คิดว่า
ควรจะกำหนดเป็นกรอบความคิดในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้
อาทิ
หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
(Sovereignty)
หลักการนี้ยอมรับอำนาจสูงสุดของประชาชน
ประชาชนทุกคนใช้อำนาจอธิปไตยเอง
อาจเป็นประชาธิปไตยทางอ้อม
เช่น
เลือกผู้แทนเข้าไปทำงานแทน
และประชาธิปไตยทางตรงด้วย
เช่น
มีสิทธิรวมตัวกันยื่นเสนอร่างกฎหมาย
หรือยื่นเสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มีสิทธิออกเสียงแสดงประชามติในเรื่องสำคัญ
เป็นต้น
หากยึดตามหลักการนี้
จำเป็นต้องพิจารณาให้ทุก
ๆ
มาตราสอดคล้อง
ไม่ขัดแย้งกัน
หรือหากต้องการผสมหลักการอื่นเข้ามาด้วย
ย่อมต้องมีการถกเถียงเชิงหลักการให้ชัดว่าต้องการให้การใช้อำนาจอธิปไตยดำเนินไปในทิศทางใดจึงเกิดประโยชน์สูงสุด
หลักสัญญาประชาคม
(Social
Contract)
หากเราต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นเหมือนสัญญาประชาคม
โดยสมาชิกทุกคนในสังคมตกลงใจร่วมกันสร้างขึ้นเป็นกฎเกณฑ์ในการปกครองสังคมไทยร่วมกัน
ภายใต้หลักการนี้
รัฐธรรมนูญในทุกมาตราต้องเป็น
"ฉันทามติ"
ที่คนในสังคมยอมรับร่วมกัน
ทุกฝ่ายในสังคมต้องเคารพรัฐธรรมนูญอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง
ดังนั้น
หากเรายึดหลักการนี้
ประเด็นสำคัญคือ
ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ
ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
ที่สำคัญ
ต้องมิให้มีข้อความใดที่สะท้อนความไม่เท่าเทียม
คนบางกลุ่มบางพวกได้รับสิทธิมากกว่าคนบางกลุ่ม
หรือมีข้อความที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนบางกลุ่ม
เพราะมิเช่นนั้น
เมื่อประกาศใช้อาจเกิดการต่อต้านจากประชาชน
และเกิดการเรียกร้องให้ล้มรัฐธรรมนูญอีกครั้ง
หลักแบ่งแยกอำนาจ
(Separation
of Power)
หลักการแบ่งแยกอำนาจ
นับเป็นหลักพื้นฐานที่ยอมรับร่วมกันในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
โดยรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่มีการกำหนดให้จัดตั้งองค์กรปกครองประเทศและแบ่งอำนาจอธิปไตย
ออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร
และอำนาจตุลาการ
เพื่อทำหน้าที่ตามอำนาจที่ได้รับ
และทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
หลักแบ่งแยกอำนาจนี้คงเป็นหลักที่เรายอมรับร่วมกันต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม
หากเรายังยึดหลักการนี้
เราจำเป็นต้องให้ความเคารพและเชื่อมั่นในอำนาจทั้งสาม
ให้ความสำคัญกับอำนาจทั้งสามอย่างสมดุล
ไม่เอาประสบการณ์ในอดีตมาทำลายหลักการ
แต่ต้องให้กลไกตรวจสอบถ่วงดุลดำเนินไปตามหลักการ
ไม่สามารถใช้อำนาจใดเหนือกว่าอำนาจหนึ่งได้
ยกตัวอย่างเช่น
ในการสรรหาองค์กรอิสระ
ไม่สามารถให้อำนาจหน้าที่ในการสรรหาเป็นของศาลเพียงสถาบันเดียวได้
แต่ต้องมีกระบวนการสรรหา
โดยยึดหลักตรวจสอบถ่วงดุลด้วย
หลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จากความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
จึงมีแนวคิดว่า
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญควรกระทำได้ยาก
ต้องผ่านกระบวนการแก้ไขด้วยวิธีการพิเศษยิ่งกว่าการแก้ไขกฎหมายอื่น
ๆ
ที่ผ่านมา
เมื่อเกิดปัญหาจากช่องว่างและข้อจำกัดในรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นอกจากจะล่าช้าติดขัดในระบบจนไม่สามารถแก้ไขได้สักเรื่องเดียวแล้ว
การให้นักการเมืองมีส่วนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
กลับกลายเป็นอุปสรรค
เพราะนักการเมืองเป็นกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
มักจะไม่กระตือรือร้นหรือรีบเร่งพิจารณาแก้ไขเท่าที่ควรจะเป็น
การยืดหยุ่นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“แก้ไขได้ง่ายดีกว่าล้มล้างได้ง่าย”
จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราควรพิจารณา
เมื่อพบว่า
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญข้อใดเกิดปัญหาในภาคปฏิบัติ
ส่งผลเสียต่อประชาชน
และประชาชนออกมาเรียกร้องให้แก้ไข
ย่อมสมควรที่จะเปิดช่องทางให้สามารถแก้ไขได้ง่าย
โดยกลุ่มบุคคลที่เหมาะสม
หากเราต้องการลบคำสบประมาทที่ว่า
"รัฐธรรมนูญแก้ยาก
แต่ล้มง่าย"
ดังเช่นรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว
ๆ มา
หลักมีผลบังคับใช้จริงในภาคปฏิบัติ
ปัญหาสำคัญที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากในรัฐธรรมนูญฉบับปี
2540
คือ
การไม่สามารถบังคับใช้ในภาคปฏิบัติ
เนื่องจากในหลายเรื่องรัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องมีกฎหมายลูกรองรับก่อน
ทำให้ประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
นอกจากนี้
ในบางเรื่องรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้อย่างสวยหรู
โดยเมื่อพิจารณาในความเป็นจริงภาคปฏิบัติแล้ว
แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้จริง
ดังนั้น
หากเราต้องการให้สิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญมิได้เป็นเพียงบทบัญญัติสวยหรูและศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น
แต่มีผลบังคับใช้ได้จริงในภาคปฏิบัติ
บทบัญญัติทุกมาตราจะต้องมีแนวทางหรือเงื่อนไขที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า
จะเป็นเช่นนั้นจริงในภาคปฏิบัติ
เช่น
มีกฎหมายรองรับ
ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
เป็นต้น
นอกจากหลักการเหล่านี้แล้ว
ยังอาจมีหลักอื่น
ๆ
ที่เราสามารถกำหนดเป็นกรอบความคิดร่วมกัน
เพื่อเป็นประโยชน์ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ในทุก
ๆ
มาตราได้อย่างสอดคล้องสมดังเจตนารมณ์ที่ต้องการให้เป็น
“รัฐธรรมนูญฉบับถาวร”
ซึ่งไม่จำเป็นต้องล้มล้างอีกในอนาคต
|