เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
การแข่งขันในการดึงดูดการลงทุนของประเทศต่าง
ๆ
ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หลังจากประเทศจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
(WTO)
ภาพรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
(Foreign
Direct
Investment:
FDI)
ไหลเข้าสู่เอเชียมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอื่น
โดยเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าสู่ประเทศจีนในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่น
ๆ
อย่างไรก็ตาม
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะถดถอย
โดยในปี
2544
ประเทศไทยมีสัดส่วนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไหลเข้า
(FDI
inflow)
ต่อการลงทุนภายในประเทศ
(gross
fixed
capital
formation)
อยู่ที่ร้อยละ
14.4
หลังจากนั้นได้ลดลงเหลือร้อยละ
3.7,
5.4, 3.4
และ
7.2
ในปี
2545
ถึง
2548
ตามลำดับ
สถานภาพของ
FDI
ของไทยในเวลานี้บ่งบอกถึงความสามารถในการแข่งขัน
เพื่อดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทยกำลังเสื่อมถอยลง
ประเทศไทยควรใช้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนอย่างไร
หากพิจารณาการแข่งขันด้านมาตรการสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุน
ทั้งที่เกี่ยวข้องกับภาษีและไม่ใช่ภาษี
การให้สิทธิประโยชน์ของไทยมีข้อเสียเปรียบประเทศคู่แข่งอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย
ทั้งในกรณีสิ่งจูงใจด้านภาษี
มาตรการสนับสนุนทางการเงินต่อการส่งออกและการวิจัยและพัฒนา
ทำให้ความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมีน้อยกว่าประเทศคู่แข่ง
ถึงกระนั้น
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ปรับยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนของประเทศ
โดยเปลี่ยนจากการดึงดูดการลงทุนด้วยมาตรการสิทธิประโยชน์ต่าง
ๆ
เพื่อการเปิดรับการลงทุนอย่างกว้างขวาง
หันมามุ่งเน้นการลงทุนที่ส่งเสริมและบ่มเพาะบุคลากรที่มีศักยภาพเชี่ยวชาญเฉพาะ
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและถ่ายโอนทักษะบุคลากรระดับต่าง
ๆ
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ตลอดจนส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม
เพื่อดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพ
คำถามจึงอยู่ที่ว่า
ในภาวะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว
ประเทศไทยควรใช้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนอย่างไร
ระหว่างการลดข้อจำกัดด้านการลงทุนและให้สิทธิพิเศษ
เพื่อเปิดกว้างให้นักลงทุนเข้าลงทุนอย่างไม่จำกัด
หรือการตั้งข้อจำกัด
โดยรับเฉพาะการลงทุนที่ต้องการเท่านั้น
ข้อจำกัดในการดึงดูดเงินลงทุนที่มีคุณภาพ
กับ
ผลเสียของมาตรการลดแลกแจกแถม
หากพิจารณาความจำเป็นในระยะสั้น
การตั้งข้อจำกัดด้านการลงทุนจะยิ่งซ้ำเติมภาวะการชะลอตัวของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
เพราะสถานะปัจจุบัน
ประเทศไทยยังไม่มีข้อได้เปรียบสำหรับการดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพ
การตั้งเงื่อนไขว่านักลงทุนจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือตั้งฐานการทำวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย
อาจไม่สามารถจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้
ในทางตรงกันข้าม
เมื่อมองความยั่งยืนในระยะยาว
การใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนในลักษณะการแข่งขันกันลดภาษีและเพิ่มแรงจูงใจด้วยมาตรการลดแลกแจกแถม
แม้เป็นวิธีการดึงดูดเงินลงทุนที่ได้ผลในระยะสั้น
แต่จะไม่ยั่งยืนในระยะยาว
เพราะประเทศคู่แข่งสามารถลดภาษีและเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนได้เช่นเดียวกัน
จนในที่สุดอาจทำให้ไม่มีใครได้ประโยชน์จากการแข่งขันอย่างแท้จริง
เพราะการแข่งขันในลักษณะนี้เป็นเกมที่ไม่มีใครได้ประโยชน์
(Zero-sum
game)
มาตรการส่งเสริมการลงทุนควรตอบสนองเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยาว
เห็นว่ามาตรการส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบันควรตอบสนองเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
โดยระยะสั้น
ประเทศไทยอาจจำเป็นต้องคงมาตรการส่งเสริมการลงทุนอย่างเปิดกว้างไว้ก่อน
เพื่อเปิดรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอย่างไม่มีข้อจำกัดมากเกินไป
ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลง
ในขณะเดียวกัน
เราสามารถกำหนดมาตรการที่จูงใจมากกว่าสำหรับการลงทุนที่มีคุณภาพตามที่เราต้องการ
เพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาว
อย่างไรก็ดี
การดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพ
ประเทศไทยต้องสามารถให้ผลตอบแทนที่จูงใจมากพอ
เพื่อที่จะทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนโดยยอมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ธุรกิจไทยหรือคนไทย
ซึ่งผลตอบแทนดังกล่าวไม่อาจเกิดขึ้นได้จากมาตรการลดแลกแจกแถมเท่านั้น
แต่ต้องเกิดจากความพร้อมโครงสร้างเศรษฐกิจ
คุณภาพของปัจจัยการผลิต
และสภาพแวดล้อมต่าง
ๆ
ที่เอื้อต่อการลงทุนที่มีคุณภาพ
การเพิ่มแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนทำวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีในประเทศไทย
จำเป็นต้องมีการพัฒนาสภาพตลาดและการแข่งขัน
ด้วยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ภาคเศรษฐกิจเป้าหมาย
และเร่งเปิดเสรีกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น
ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนในการลงทุนทำวิจัยและพัฒนาสูงขึ้น
รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้
เพื่อให้สิทธิของนักลงทุนและสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาได้รับการคุ้มครอง
ในขณะเดียวกัน
ภาครัฐควรลดต้นทุนของการเข้ามาลงทุนของภาคเศรษฐกิจที่เป็นเป้าหมาย
โดยแก้ปัญหาและอุปสรรคการลงทุนซึ่งเป็นต้นทุนแฝงของภาคเอกชน
พัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจดังกล่าว
และเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนที่มีคุณภาพ
ตลอดจนการชักจูงการลงทุนเชิงรุกโดยกำหนดอุตสาหกรรมและประเทศเป้าหมาย
และพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายการลงทุน
การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต้องสอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็นของประเทศในแต่ละช่วงเวลา
และดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพ
ไม่สามารถใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ฉาบฉวยเท่านั้น
แต่ต้องดึงดูดด้วยปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่า
เขาจะได้รับผลตอบแทนอย่างยั่งยืน
|