เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
สิ่งที่อยู่ในใจของหลายคนในการเลือกผู้แทน
คือ
เราต้องการให้คนดีและคนที่มีความรู้ความสามารถได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภา
แต่ขณะเดียวกัน
เราคงมีคำถามว่า
“จะดึงดูดคนดีและเก่งเข้ามาทำหน้าที่ตัวแทนประชาชนให้มากขึ้นอย่างไร”
เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมา
แม้เราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด
และสะท้อนอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนได้มากกว่าฉบับอื่น
ๆ
แต่ปรากฏว่ายังไม่สามารถสกัดกั้นนักการเมืองที่ไม่เหมาะสมเข้ามาบริหารประเทศได้
ผมเห็นว่า
ทางออกสำคัญอยู่ที่การแก้ไขพรรคการเมือง
มิให้นายทุนเป็นเจ้าของ
แต่เปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นเจ้าของ
ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่อง
เงินบริจาคให้แก่พรรคการเมือง
ตามร่าง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
โดยเสนอว่า
ควรมีการจำกัดเพดานการบริจาค
และสร้างระบบจูงใจให้ประชาชนทุกกลุ่มและปัจเจกชนมีส่วนสนับสนุนพรรคการเมืองอย่างจริงจัง
รวมถึงการส่งเสริมให้พรรคการเมืองยอมเปิดเผยเรื่องเงินบริจาคให้กับพรรค
เพื่อป้องกันมิให้กลุ่มนายทุนแทรกแซงความเป็นเจ้าของพรรค
และสร้างความโปร่งใสและธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้น
ผมได้พยายามสื่อสารแนวคิดนี้ในหลากหลายช่องทาง
คือ
ผ่านคำปราศรัยในช่วงเลือกตั้ง
ตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปัตย์
โดยผมได้กล่าวเชิญชวนให้พี่น้องประชนที่มาฟังคำปราศรัย
ร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของพรรค
ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปบริจาคเงินสนับสนุนพรรคการเมือง
นอกจากนี้
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง
ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน
ได้ยื่นอภิปรายเพื่อขอแก้ไขกฎหมาย
ในสภาผู้แทนราษฎร
และได้อภิปรายขอให้มีการจำกัดวงเงินสนับสนุนพรรคการเมืองของกลุ่มทุน
โดยเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยเงินบริจาคพรรคการเมือง
ให้มีข้อกำหนดชัดเจนว่า
นายทุน
ปัจเจกบุคคล
บริษัท
หรือห้างร้านจะสามารถบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองได้สูงสุดจำนวนเท่าไร
เพื่อเป็นการป้องกันกรณีนายทุนบริจาคเงินสนับสนุนพรรคในสัดส่วนสูง
จนกลายเป็นเหมือนเจ้าของพรรค
หรือนายทุนผู้มีอิทธิพลต่อการกำหนดแนวทางของพรรค
สำหรับการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองสามารถบริจาคผ่านหลายหน่วยงาน
เช่น
ผ่านสรรพากร
โดยผ่านการยื่นแบบ
ภ.ง.ด.
เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี
ผ่าน
ก.ก.ต.
คือ
กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
หรือ
ผ่านการบริจาคแก่พรรคการเมืองโดยตรง
การจำกัดจำนวนเงินสูงสุดที่สามารถบริจาคได้จะช่วยเปิดโอกาสให้
“คนดี-คนเก่ง”
เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น
ไม่ใช่เพียงแต่
“คนรวย”
เท่านั้น
หากแนวคิดนี้ขยายผลสู่ภาคปฏิบัติที่กว้างขวางขึ้น
เราจะมีนักการเมืองที่เป็น
“ตัวแทน”
ประชาชน
ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมมากขึ้นอย่างแน่นอน
ผมจึงเชื่อว่า
หากพรรคการเมืองมีแหล่งที่มาของเงินอย่างเหมาะสม
ย่อมเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่า
พรรคการเมืองจะไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ
ประชาชนต้องตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนสนับสนุน
“คนดี”
ให้เข้าไปเป็นตัวแทนในสภาฯ
มากกว่ารอรับข้อเสนอและผลประโยชน์ระยะสั้นที่นักการเมืองหยิบยื่นให้
เพื่อแลกกับเสียงโหวตให้ตนเข้าไปกอบโกยผลประโยชน์ในสภาฯ
|