เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
เมื่อคราวที่แล้ว
ผมได้สื่อสารแนวคิดของ
สตีเฟ่น
คาร์เตอร์
เขาย้ำให้เห็นว่า
ถึงเวลาแล้วที่จะต้องสร้างอาวุธทางการเมืองให้กับประชาชน
ด้วยรื้อฟื้น
“ความสัตย์จริง”
ให้เป็นลักษณะชีวิตพื้นฐาน
เขาชี้ให้เห็นว่า
การดำเนินการทางการเมืองในอเมริกาทั้งของฝ่ายเสรีนิยม
(เดโมแครต)
และอนุรักษ์นิยม
(รีพับลิกัน)
กำลังเล่นเกมกับประชาชน
ในสายตาของนักการเมือง
ประชาชนเป็นเพียงเครื่องมือ
ดังนั้น
นักการเมืองไม่ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนัก
แต่ต้องพยายามหาวิธีการควบคุม
หาทางใช้ประโยชน์
พยายามจูงใจให้เปลี่ยนความคิด
ให้เห็นดีเห็นงามกับคำพูด
ข้อเสนอที่หยิบยื่นให้
และพยายามหาทางให้ประชาชนเป็นและทำอย่างที่นักการเมืองต้องการ
นอกจากนี้
ทั้งนักการเมืองสองฝ่ายยังพยายามสร้างให้เกิดความเกลียดชังระหว่างกัน
มุ่งทำให้เกลียดฝ่ายหนึ่ง
เพื่อให้หันมาเลือกอีกฝ่ายหนึ่ง
มากกว่าการอดทนยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน
เขากล่าวว่า
ถ้ามีใครถามว่าเขาอยู่ฝ่ายไหน
อนุรักษ์นิยม
หรือ
เสรีนิยม
เขาจะตอบว่า
“ไม่ทั้งสองฝ่าย”
ทั้งนี้เพราะเขามองว่า
พวกอนุรักษ์นิยมมักปลุกเร้าให้เกิด
การเหยียดกลุ่ม
การแบ่งเขาแบ่งเรา
ส่วนพวกที่อยู่ฝ่ายเสรีนิยม
มักจะเป็นที่รวมของพวกที่ดูถูกเหยียดหยามค่านิยมที่เคยยึดถือ
ประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา
โดยมองว่าล้าสมัย
คาร์เตอร์ได้นำเสนอหลักการ
8
ประการ
ในการค้นหาแก่นแท้ของประชาธิปไตย
ซึ่งผมคิดว่าหลักการเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งไม่เพียงต่อประเทศสหรัฐ
แต่สำหรับประเทศไทยด้วย
ประชาธิปไตยไทยจะเข้มแข็งได้ต้องเริ่มจากประชาชน
และภาคส่วนต่าง
ๆ
ในสังคมที่มีความเข้าใจและตระหนักในการดำเนินชีวิตแบบผู้สัตย์จริง
1.
ประเทศชาติดำรงอยู่เพื่อประชาชนในประเทศ
นี่คืออุดมคติสูงสุดที่เราต้องยึดไว้
เราต้องสร้างการเมืองแห่งความสัตย์จริง
การให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคล
ประชาชนควรมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
2.
รู้ว่าเรื่องใดสำคัญอันดับแรก
และเรื่องใดสำคัญรอง
ๆ ลงมา
การเมืองที่สัตย์จริงนั้นเป็นการเมืองที่จัดลำดับความสำคัญ
รู้ว่า ณ
เวลานั้นเรื่องใดสำคัญที่สุด
เรื่องใดสำคัญรอง
ๆ ลงมา
และเลือกที่จะทำเรื่องที่สำคัญกว่าก่อน
ไม่ใช่เลือกที่จะทำเรื่องที่จะทำให้ได้เสียงมากกว่าก่อน
3.
ธำรงไว้ซึ่งความคงเส้นคงวา
การเมืองที่สัตย์จริงนั้นเป็น
การเมืองที่ยึดมั่นในหลักการ
และดำเนินการในเรื่องต่าง
ๆ
สอดคล้องกับหลักการที่ยึดถือ
สามารถประยุกต์หลักการสู่ภาคปฏิบัติในการบริหารประเทศได้อย่างสอดคล้อง
ไม่เบี่ยงหลักการ
โดยเฉพาะผู้นำต้องมีหลักการ
และยึดมั่นในหลักการนั้น
ไม่ปลิ้นปล้อน
เปลี่ยนแปลง
ตลบแตลงไปตามสถานการณ์
4.
ทุกคนต้องมีส่วนร่วม
ประชาชนทุกกลุ่ม
ทุกภาคส่วนต้องสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้
ไม่ถูกปิดกั้น
มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ความเชื่อ
และแนวทางปฏิบัติที่แตกต่าง
5.
ความถูกผิดไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญ
เราจะต้องพูดเกี่ยวกับความถูกความผิดโดยไม่จำเป็นต้องอ้างบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ
เสียงส่วนใหญ่อาจจะทำให้ชนะ
แต่เสียงส่วนใหญ่มิใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป
เราต้องยึดมั่นในความถูกต้องตามหลักการและเหตุผล
ไม่อ้างเพียงความถูกต้องตามกฎหมาย
6.
การเมืองต้องยกระดับคุณค่าความเป็นคนของเรา
การเมืองที่สัตย์จริงนั้นคือ
การที่ประชาชนต้องพยายามตอบสนองต่อนักการเมืองที่สื่อสารเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่านักการเมืองที่พยายามหยิบยื่นคำสัญญาว่าจะทำสิ่งต่าง
ๆ
ให้กับเรา
เขาย้ำว่า
ประชาชนที่เที่ยงธรรมต้องไม่ให้ข้อเสนอของนักการเมืองลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของเรา
7.
รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
การเมืองที่สัตย์จริงต้องอยู่บนหลักของการรับฟังกันและกัน
เพื่อวินิจฉัยว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดอย่างมีเหตุมีเหตุ
มิใช่เชื่อไปตามเสียงส่วนใหญ่
หรือมีอคติกับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นทุนเดิม
8.
ยอมรับในชัยชนะและความพ่ายแพ้
การเมืองในระบอบประชาธิปไตยสุดท้ายขึ้นอยู่กับเสียงโหวตของประชาชน
ย่อมต้องมีผู้ชนะและผู้แพ้
การเมืองที่สัตย์จริงจะยอมรับว่า
ในบางครั้งฝ่ายตรงข้ามก็เป็นผู้ชนะ
และยอมรับในความพ่ายแพ้ตามกติกา
โดยกล้าหาญที่จะแสดงความยินดี
มิใช่พูดเหน็บแนม
หรือกล่าวกาว่าเขากระทำผิดโดยสร้างหลักฐานเท็จ
การทำให้การเมืองเป็นการเมืองที่สัตย์จริงได้นั้น
ประชาชนต้องเป็นผู้ที่ริเริ่มปรารถนาจะดำรงอยู่ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย
ทั้งในอุดมการณ์และในภาคปฏิบัติ
การทำให้เกิดขึ้นจริง
คาร์เตอร์ย้ำว่า
ประชาชนต้องไม่เกียจคร้าน
หรือเอาแต่โทษกันไปมา
แต่ต้องออกมาเรียกร้องและร่วมกันสร้างให้เกิดสิ่งที่เขาต้องการเห็นร่วมกัน
สำหรับประเทศไทย
เราจะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็งได้
สิ่งสำคัญที่สุดคือ
ประชาชนที่เที่ยงธรรม
เพราะคะแนนเสียงของคนเหล่านี้จะสร้างการเมืองที่เที่ยงธรรมได้ในระยะต่อไป
ซึ่งอนาคตประชาธิปไตยไทยจะเข้มแข็งได้มากน้อยเพียงใดนั้น
ขึ้นอยู่กับว่า
ในวันนี้
ประชาชน
และภาคส่วนต่าง
ๆ
ในสังคมมีความเข้าใจและตระหนักในการดำเนินชีวิตแบบ
“ผู้สัตย์จริง”
เช่นที่กล่าวไปแล้วมากน้อย
|