เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
พ.ศ.
2540
ได้จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นในรูปแบบองค์กรศาล
เพื่อทำหน้าที่แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
โดยตรวจสอบกฎหมายที่รัฐสภาออกมาว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
รวมถึงเพื่อพัฒนาความเป็นตุลาการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสำหรับ
และเป็นอิสระจากองค์กรทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม
ระยะเวลา
9
ปีที่ผ่านมา
ได้เกิดข้อครหาว่าศาลรัฐธรรมนูญขาดความเป็นกลาง
ถูกแทรกแซงทางการเมือง
ทำให้ข้อวินิจฉัยขาดความเที่ยงธรรม
และมีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง
และภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่
19
กันยายน
2549
ที่ผ่านมา
ศาลรัฐธรรมนูญจึงถูกล้มไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญ
เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
พ.ศ.
2549
ประกาศใช้บังคับ
ได้กำหนดให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อทำหน้าที่แทน
ซึ่งอาจทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาการกล่าวหาเดิม
ๆ
อีกครั้ง
คือ
การถูกแทรกแซง
คำถามสำคัญ
คือ
ศาลรัฐธรรมนูญควรมีอยู่หรือไม่?
และ
ถ้าคิดว่า
ยังควรมีอยู่
จะต้องแก้ไขกระบวนการสรรหา
อำนาจหน้าที่
หรือไม่
อย่างไร?
ซึ่งผมคิดว่าคำตอบที่เหมาะสมควรเป็นดังนี้
ควรมีศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
ศาลรัฐธรรมนูญ
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง
จึงเห็นด้วยที่ควรจะยังคงให้มีศาลรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันมิให้มีการตรากฎหมายที่อาจไปละเมิดหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน
อีกทั้งเพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
และควรพัฒนาองค์ความรู้และระบบภายในองค์กรให้มีความแข็งแกร่งจนไม่สามารถถูกแทรกแซงได้
ปรับเปลี่ยนกระบวนการสรรหา
ปัญหาที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ที่ยังให้น้ำหนักผู้เชี่ยวชาญการพิจารณาคดีทางกฎหมายมหาชนค่อนข้างน้อย
รวมถึงการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์และด้านรัฐศาสตร์ที่มีองค์กรสรรหาเพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาคัดเลือกนั้น
กลายเป็นช่องให้นักการเมืองเข้าแทรกแซงได้
ที่ผ่านมาจึงมีการเสนอให้แก้ไขการสรรหาหรือที่มาของตุลาการ
ว่าควรยึดตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ
ต้องมีระบบตรวจสอบถ่วงดุล
และไม่ควรผูกขาดอำนาจการสรรหาไว้กับคนเพียงบางกลุ่ม
แต่การใช้วิธีนี้
ในสังคมไทยขณะนี้
อาจเป็นเรื่องยากในเชิงปฏิบัติ
เพราะโอกาสถูกแทรกแซงเกิดขึ้นได้
แม้ในระบบที่เหมาะสม
ทางออกที่น่าจะเหมาะสมกว่า
ผมขอเสนอว่าควรยึดตามหลักการตรวจสอบถ่วงดุลก่อน
โดยเสนอว่าตุลาการรัฐธรรมนูญ
ควรมีจำนวน
15
คน
มีที่มา
จาก
4
กลุ่ม
ได้แก่
1)
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
คัดเลือกมา
4
คน
2)
ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
คัดเลือกมา
4
คน
3)
คณบดีคณะนิติศาสตร์
(มหาวิทยาลัยของรัฐ)
เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน
จำนวน
8
คน
และให้รัฐสภาคัดเลือกเหลือ
4
คน และ
4)
คณบดีคณะรัฐศาสตร์
(มหาวิทยาลัยของรัฐ)
เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านรัฐศาสตร์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการเมืองการปกครอง
และรัฐธรรมนูญไทยจำนวน
6
คน ให้รัฐสภาคัดเลือกเหลือ
3
คน
แบ่งตุลาการรัฐธรรมนูญออกเป็น
2
องค์คณะ
โดยแบ่งตามอำนาจหน้าที่
กล่าวคือ
องค์คณะที่
1
ทำหน้าที่วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย
องค์คณะที่
2
ทำหน้าที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
พัฒนาเป็นสถาบันที่มีระบบที่แข็งแกร่งในระยะยาว
ผมขอเสนอว่า
ในระยะยาวควรพัฒนาให้เป็นสถาบันเหมือนกับศาลยุติธรรมและศาลปกครอง
โดยให้มีการสอบคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสมเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนการสรรหา
ทั้งนี้
ควรพัฒนาองค์กรให้มีความมั่นคงในระยะยาว
ไม่เป็นเพียงองค์กร
“ชั่วคราว”
เพื่อแก้ปัญหาการแทรกแซง
และควรสร้างระบบการตรวจสอบถ่วงดุลกันระหว่างองค์กรศาล
เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นใจของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของศาล
ควรให้มีความโปร่งใส
โดยสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของผู้มาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้
และไม่ควรให้ประชาชนเข้าแทรกแซงองค์กรศาลเพราะอาจถูกครอบงำได้ง่าย
ดังนั้น
การดำรงอยู่ของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งสำคัญในการวางรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองของชาวไทยต่อไป
เพื่อทำหน้าที่ตามเจตนารมณ์
โดยมีที่มาของกระบวนการสรรหาที่ต้องยึดหลักการตรวจสอบถ่วงดุล
ขอบข่ายอำนาจหน้าที่
และการพัฒนาเป็นสถาบันที่มั่นคงในอนาคต
|