เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้
สังคมส่วนหนึ่งเกิดคำถามสำคัญ
คือ
ศาลรัฐธรรมนูญควรมีอยู่หรือไม่?
และ
ถ้าคิดว่า
ยังควรมีอยู่
จะต้องแก้ไขกระบวนการสรรหา
อำนาจหน้าที่
หรือไม่
อย่างไร?
หลังจากพิจารณาแง่มุมต่าง
ๆ แล้ว
คิดว่า
คำตอบที่เหมาะสมสำหรับเรื่องนี้ควรเป็นดังนี้
ควรมีศาลรัฐธรรมนูญ
ต่อไป
ศาลรัฐธรรมนูญ
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง
มีหน้าที่วินิจฉัยว่า
กฎหมายที่รัฐสภาออกมานั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ดังนั้น
จึงเห็นด้วยที่ควรจะยังคงให้มีศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว
เพื่อป้องกันมิให้มีการตรากฎหมายที่อาจไปละเมิดหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน
อีกทั้ง
เพื่อเป็นการพิทักษ์หรือปกป้องคุ้มครองรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
และควรพัฒนาองค์ความรู้และระบบภายในองค์กรให้มีความแข็งแกร่งไม่สามารถถูกแทรกแซงได้
ปรับเปลี่ยนกระบวนการสรรหา
ที่ผ่านมามีความพยายามในการเสนอให้แก้ไข
เพื่อให้ได้มาซึ่งตุลาการรัฐธรรมนูญที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
และป้องกันมิให้ศาลรัฐธรรมนูญถูกแทรกแซง
โดยเสนอกันว่า
การสรรหาหรือที่มาของตุลาการควรยึดตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ
ต้องมีระบบตรวจสอบถ่วงดุล
และไม่ควรผูกขาดอำนาจการสรรหาไว้กับคนเพียงบางกลุ่ม
แต่การใช้วิธีนี้
ในสังคมไทยขณะนี้
อาจเป็นเรื่องยากในเชิงปฏิบัติ
เพราะโอกาสถูกแทรกแซง
เกิดขึ้นได้
แม้ในระบบที่เหมาะสม
ทางออกที่น่าจะเหมาะสมกว่า
เสนอว่า
ควรยึดตามหลักการตรวจสอบถ่วงดุลก่อน
โดยเสนอว่าตุลาการรัฐธรรมนูญ
ควรมีจำนวน
15
คน
มีที่มา
จาก
4
กลุ่ม
ได้แก่
1)
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
คัดเลือกมา
4
คน
2)
ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
คัดเลือกมา
4
คน
3)
คณบดีคณะนิติศาสตร์
(มหาวิทยาลัยของรัฐ)
เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน
จำนวน
8
คน
และให้รัฐสภาคัดเลือกเหลือ
4
คน และ
4)
คณบดีคณะรัฐศาสตร์
(มหาวิทยาลัยของรัฐ)
เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านรัฐศาสตร์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการเมืองการปกครอง
และรัฐธรรมนูญไทยจำนวน
6
คน
ให้รัฐสภาคัดเลือกเหลือ
3
คน
แบ่งตุลาการรัฐธรรมนูญออกเป็น
2
องค์คณะ
นอกจากนี้
เสนอว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ควรแบ่งออกเป็น
2
องค์คณะ
โดยแบ่งตามอำนาจหน้าที่
กล่าวคือ
องค์คณะที่
1
ทำหน้าที่วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย
องค์คณะที่
2
ทำหน้าที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ในระยะยาว
พัฒนาเป็นสถาบันที่มีระบบที่แข็งแกร่ง
ผมขอเสนอว่าควรพัฒนาให้เป็นสถาบันเหมือนกับศาลยุติธรรมและศาลปกครอง
โดยให้มีการสอบคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสมเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนการสรรหา
ทั้งนี้
ควรพัฒนาองค์กรให้มีความมั่นคงในระยะยาว
ไม่เป็นเพียงองค์กร
“ชั่วคราว”
เพื่อแก้ปัญหาการแทรกแซง
และควรสร้างระบบการตรวจสอบถ่วงดุลกันระหว่างองค์กรศาลกันเอง
เพราะเป็นระบบศาลคู่มีทั้งศาลยุติธรรม
ศาลปกครอง
และศาลรัฐธรรมนูญ
ควรมีการสร้างหลักประกัน
ความมั่นใจของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของศาล
ให้มีความโปร่งใส
โดยสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของผู้มาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้
และไม่ควรให้ประชาชนเข้าแทรกแซงองค์กรศาลได้
เพราะอาจถูกครอบงำได้ง่าย
ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นองค์กรศาลที่ทำหน้าที่ได้ตามเจตจำนงหรือไม่นั้น
ที่มาของกระบวนการสรรหาที่ต้องยึดหลักการตรวจสอบถ่วงดุล
ขอบข่ายอำนาจหน้าที่
และการพัฒนาเป็นสถาบันที่มั่นคงนั้น
จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง
เพื่อวางรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมืองของชาวไทยต่อไป
|