เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดว่า
เมื่อมีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว
ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติ
(referendum)
ซึ่งถือเป็นการแสดงอำนาจอธิปไตยโดยตรงของประชาชนว่า
“เห็นด้วย”
หรือ
“ไม่เห็นด้วย”
กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
คำถามคือว่าก่อนไปออกเสียงประชามตินั้น
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญหรือไม่
อย่างไร
?
จากผลสำรวจของเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน
กทม.
เมื่อวันที่
25
กุมภาพันธ์
พบว่า
คนกรุงเทพฯ
ร้อยละ
64.1
ไม่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
ผลโพลล์ชี้ให้เห็นว่า
แม้แต่คนในเมืองที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารโดยง่าย
ยังไม่ทราบความหมายและเนื้อหาต่าง
ๆ
ในรัฐธรรมนูญ
ในทำนองเดียวกัน
โพลล์ของการสำรวจประชาชนทั่วประเทศในเรื่องเดียวกัน
ร้อยละ
50.6
ไม่ทราบความหมายของรัฐธรรมนูญ
สะท้อนว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
“กฎหมายสูงสุด”
ในการปกครองประเทศ
หากเป็นเช่นนี้
การลงประชามติของประชาชน
ด้วยงบประมาณแผ่นดินประมาณ
2,000
ล้านบาท
ย่อมไม่ต่างอะไรกับ
“การเสี่ยงทาย”
หรือการเล่นพนัน
โดยตัดสินเพียงดูว่าประชาชนจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น
ดังนั้น
เราจะสามารถพูดได้อย่างเต็มปากหรือว่า
“รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นของประชาชน”
เพราะส่วนใหญ่ตัดสินใจโดยไม่มีความเข้าใจในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเลย
การออกเสียงลงประชามติโดยประชาชนยังขาดความเข้าใจในรัฐธรรมนูญ
เพราะขาดการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ในการให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางเพียงพอ
เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
จึงน่าจะถึงเวลายกเครื่องกระบวนการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนเสียใหม่
การยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ควรปิดห้องและรู้เห็นกันเฉพาะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
35
คน
เท่านั้น
แต่ควรจะเปิดกว้างให้ประชาชนรับรู้และทราบเจตนารมณ์ในหมวดและมาตราต่าง
ๆ
ในรัฐธรรมนูญซึ่งสะท้อนให้เห็นหลักของความโปร่งใส
อีกทั้งเป็นการป้องกันข้อครหาเกี่ยวกับการเขียนรัฐธรรมนูญในเชิงปกปิดซ่อนเร้นเพื่อผลประโยชน์แอบแฝงของผู้ยกร่างหรือผู้มีอำนาจบางฝ่ายในอนาคต
ในระยะเวลาอันสั้นนี้
ควรสร้างกระแสให้เกิดปรากฏการณ์
“รัฐธรรมนูญฟีเวอร์”
ทำให้ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญในเรื่องต่าง
ๆ
เป็นที่โจษขานและวิพากษ์วิจารณ์กันทั่วเมือง
แนวทางหนึ่งที่สามารถทำได้
นั่นคือ
การถ่ายทอดสดการประชุมเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญ
แบบรายการเรียลิตี้โชว์
(Reality
Show)
โดยอาจเรียกว่า
“The
Constitutional
Drafting
Show” เสมือนรายการ
Academy
Fantasia
ที่ถ่ายทอดสดการประชุมทุกครั้งผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่องใดช่องหนึ่ง
และมีการสรุปเนื้อหาของการประชุมทุกวันอย่างน้อย
30 - 60
นาที
ในช่วงสามถึงสี่ทุ่ม
เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และติดตามความก้าวหน้าของการร่างรัฐธรรมนูญด้วยความรู้และความเข้าใจในวงกว้างอย่างต่อเนื่องได้อย่างสะดวก
ไม่เพียงเท่านั้น
รายการ
“The
Constitutional
Drafting
Show” ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น
สอบถาม
หรือเสนอแนะ
เกี่ยวกับเนื้อหาต่าง
ๆ
ของรัฐธรรมนูญ
ผ่านการส่งข้อความหรือ
SMS
มายังรายการโดยให้ปรากฏที่หน้าจอโทรทัศน์
อันเสมือนช่องทางที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนและผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ
อันจะเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่มีความรวดเร็วและโดยตรงไปยัง
คณะกรรมาธิการยกร่างฯ
ขณะเดียวกัน
อาจเชิญนักวิชาการ
ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชน
อดีตผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
ฯลฯ
มาวิพากษ์วิจารณ์
ให้ข้อเสนอแนะ
ตั้งคำถาม
ต่อคณะอนุกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบต่าง
ๆ
(ดังรายการ
Academy
Fantasia
ที่เชิญผู้รู้ด้านดนตรีมาวิจารณ์และให้คำแนะนำแก่นักร้องในการประกวดร้องเพลงในแต่ละสัปดาห์)
เพื่อสามารถนำความคิดเห็น
ข้อคิดต่าง
ๆ
จากบุคคลเหล่านี้
ไปแลกเปลี่ยน
ปรับปรุง
แก้ไขในมาตราต่าง
ๆ
ของรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้
สำหรับภาคประชาชน
ควรส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มแฟนคลับในประเด็นต่าง
ๆ
ของรัฐธรรมนูญ
เช่น
แฟนคลับที่ส่งเสริมในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน,
แฟนคลับที่ส่งเสริมการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ฯลฯ
ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้สาระสำคัญต่าง
ๆ
ปรากฏในรัฐธรรมนูญ
และเป็นการให้กำลังใจแก่อนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดต่าง
ๆ
เป็นต้น
หากเราต้องการเห็นประชาชนไปออกเสียงประชามติ
ที่ไม่ใช่ไปออกเสียงแบบเสี่ยงทายว่าจะออก
“หัว”
หรือ
“ก้อย”
หรือถูกระดมปลุกปั่นจากฝ่ายการเมือง
จำเป็นอย่างยิ่ง
ที่
“รัฐ”
จะต้องจัดให้มีนวัตกรรมใหม่ในการสื่อสารและสร้างกระแสให้ประชาชนสนใจและมีส่วนร่วมดังเช่นการถ่ายทอดสด
“การยกร่างรัฐธรรมนูญ”
“The
Constitutional
Drafting
Show”
เพื่อประชาชนจะเกิดความรู้ในการปฏิรูปการเมือง
และความเข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในหมวดและมาตราต่าง
ๆ
รวมถึงการมองเห็นภาพรวมของการปฏิรูปการเมือง
รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ไม่ใช่มองรัฐธรรมนูญเป็นจุด
ๆ
แล้วตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับ
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น
จะทำให้การไปออกเสียงประชามติมีคุณภาพและอ้างได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนหรือไม่ใช่ของประชาชนได้อย่างแท้จริง
|