เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับ
“คณะกรรมการการเลือกตั้ง”
(กกต.)
นับเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญและหาทางออกร่วมกันว่า
กกต.
ควรมีที่มาและอำนาจหน้าที่อย่างไรจึงจะเหมาะสม
เพื่อให้กระบวนการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของนักการเมืองเกิดความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมมากที่สุด
การพิจารณาทบทวนถึงที่มาของ
กกต.ว่า
ใครเหมาะสมในการเป็นผู้สรรหา
กกต.
5
คน
จำเป็นต้องพิจารณาบนพื้นฐานของ
“หลักการ”
เป็นสำคัญ
โดยตอบคำถามร่วมกันว่า
“ที่มาของ
กกต.
ควรอยู่ภายใต้หลักการสรรหาแบบใด?
.. 1...
2
หรือ...3”
หนึ่ง
หลักการ
“ตัดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย”
หลักการนี้ตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่า
อำนาจ
กกต.
ไม่ได้อยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจอธิปไตย
3
ฝ่าย
คือไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ
บริหาร
รวมทั้งตุลาการ
แต่เสมือนเป็น
“อำนาจตรวจสอบพิเศษ”
ทำหน้าที่ตรวจสอบบุคลากรที่จะเข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐสภา
ด้วยเหตุนี้ทั้งสองฝ่ายนี้จึงไม่ควรมีส่วนคัดสรร
กกต.
เพราะฉะนั้นอำนาจพื้นฐานที่สามารถมีส่วนคัดสรร
กกต.ได้
จึงควรเป็นบุคคลที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเชิงความสัมพันธ์ทางอำนาจกับ
กกต.
ข้อเสนอตามหลักการนี้
คณะกรรมการสรรหาควรมาจากตัวแทนบุคคลกลุ่มต่าง
ๆ
ที่สังคมให้การยอมรับนับถือ
อาทิ
ตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
ศาลปกครองสูงสุด
ศาลรัฐธรรมนูญ
ตัวแทนจากองค์กรภาคประชาชน
และตัวแทนด้านวิชาการ
ทำหน้าที่สรรหา
กกต.มาจำนวนหนึ่ง
จากนั้นให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาคัดเลือกกันเองให้เหลือ
5
คน
เข้ามาทำหน้าที่เป็น
กกต.
ข้อดีของการสรรหาในลักษณะนี้
อาจจะช่วยให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า
โอกาสที่
กกต.จะมีความเป็นกลาง
มีคุณสมบัติที่เหมาะสม
เข้ามาทำหน้าที่เพื่อประชาชนจะมีความเป็นไปได้มากกว่า
ถึงกระนั้น
ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นได้คือเราไม่สามารถรับประกันได้ว่า
อำนาจการแทรกแซงทางการเมืองผ่านตัวบุคคลแม้ในองค์กรที่เป็นกลางจะมีอิทธิพลมากเพียงใด
อำนาจเงินจะอยู่เหนือกว่าคุณธรรมในใจแต่ละคนหรือไม่
ซึ่งหากคนไม่ดี
ไม่ว่าหลักการใดก็ไม่สามารถควบคุมได้
สอง
หลักการ
“ถ่วงดุลอำนาจ
3
ฝ่าย”
หลักการนี้
ให้ความสำคัญกับอำนาจอธิปไตยตามระบอบประชาธิปไตย
3
ฝ่าย
อันได้แก่
อำนาจนิติบัญญัติ
บริหาร
และตุลาการ
อย่างเท่าเทียมกัน
โดยให้อำนาจทั้งสามทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลกัน
ดังนั้น
ขอเสนอว่า
อำนาจหน้าที่ในการสรรหา
กกต.ควรเป็นของ
“ศาล”
ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความเป็นกลางและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการเลือกตั้ง
โดยจัดตั้ง
“คณะกรรมการสรรหา
กกต.”
ประกอบด้วย
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
ศาลปกครองสูงสุด
และศาลรัฐธรรมนูญ
สรรหาบุคคลที่เหมาะสมจำนวนทั้งสิ้น
10
คน
จากนั้น
เสนอให้
“รัฐสภา”
อันประกอบด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ
(ส.ส.,ส.ว.)
และฝ่ายบริหาร
(มาจากเสียงส่วนใหญ่ในสภาฯ)
ซึ่งเสมือนตัวแทนจากประชาชน
เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกให้เหลือ
5
คน
การสรรหา
กกต.ในลักษณะนี้
อาจเป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสมในภาวะปัจจุบัน
ทั้งนี้เนื่องจากสถาบันศาลในเวลานี้
ประชาชนให้ความยอมรับนับถือในความซื่อสัตย์และยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่
อีกทั้ง
แม้ว่าจะให้รัฐสภาเป็นผู้เลือก
แต่หากศาลสรรหาคนที่เหมาะสม
ไม่ถูกแทรกแซงตั้งแต่เริ่มแรก
โอกาสได้
กกต.ที่มีความเป็นกลาง
มีคุณสมบัติเหมาะสมย่อมมีความเป็นไปได้
อย่างไรก็ตาม
ในอนาคตไม่มีกลไกใดที่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่า
ศาลจะไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้เพราะภายใต้หลักการนี้
ไม่มีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลจากภาคส่วนอื่นช่วยกำกับด้วย
สาม
หลักการ
“แบ่งแยกอำนาจ”
(Separation
of
powers)
หลักการนี้อยู่บนฐานคิดที่ว่า
อำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร
และอำนาจตุลาการ
เป็นอำนาจสูงสุดที่ยึดโยงกับประชาชน
โดยมองว่า
รัฐบาล ส.ส.
และ ส.ว.
เป็นตัวแทนประชาชนที่มาจากการเลือกตั้ง
ส่วนศาล
เป็นสถาบันที่ประชาชนให้การยอมรับนับถือในความยุติธรรม
ดังนั้น
ควรให้ตัวแทนอำนาจทั้งสามนี้เป็น
“ผู้เลือก
กกต.”
แทนประชาชน
โดยเสนอว่า
ผู้นำรัฐบาล
ผู้นำฝ่ายค้าน
และศาล
เป็นผู้สรรหาและเลือก
กกต.
5
คน
และยื่นให้
ส.ว.
เป็นผู้รับรอง
ในฐานะเป็นสภาสูงที่ทำหน้าที่กลั่นกรองให้ความเห็นชอบ
แม้ว่าหลักการนี้จะสะท้อนการใช้อำนาจทั้งสามฝ่ายแทนประชาชน
อย่างไรก็ตาม
ฝ่ายการเมืองคงไม่พ้นการส่ง
“ตัวแทนทางการเมือง”
เข้ามาทำหน้าที่
กกต.
และทำให้เกิดการบิดเบือนการใช้อำนาจหน้าที่ได้ในที่สุด
หากพิจารณาทั้งสามหลักการข้างต้น
ทางเลือกที่มาของ
กกต.ชุดต่อไปที่น่าจะทำให้ได้
กกต.ที่เป็นธรรมและเป็นกลางมากที่สุด
ควรยึดหลักการ
“ตัดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย”
น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
หรือในเวลานี้อาจใช้
“หลักถ่วงดุลอำนาจ
3
ฝ่าย”
ได้
อย่างไรก็ตาม
คงต้องช่วยกันพิจารณาในรายละเอียดต่อไปว่า
คณะกรรมการสรรหาจะได้มาด้วยวิธีใด
และกระบวนการสรรหาในรายละเอียดควรเป็นเช่นไร
เพื่อทำให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้
กกต.
5
คน
เข้ามาทำหน้าที่จัดการการเลือกตั้งได้อย่างเป็นธรรมมากที่สุด
|