เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
(ส.ว.)
เมื่อวันที่
19
เมษายน
2549
สำนักวิจัยสวนดุสิตโพล
ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ส.ว.
โดยผลสำรวจพบว่าประชาชนในกทม.ร้อยละ
42.54
และในต่างจังหวัด
45.06
ยังไม่แน่ใจว่าเลือก
ส.ว.เพื่อไปทำหน้าที่อะไร
เนื่องจากมีความเข้าใจว่ามีหน้าที่คล้ายกับ
ส.ส.
แต่ในส่วนที่รู้ว่าส.ว.ทำหน้าที่อะไรมีสัดส่วนโดยรวมเพียงร้อยละ
24.91
ขณะที่จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ส.ว.มีเพียงร้อยละ
53.86
ลดลงจากร้อยละ
72 เมื่อ
6 ปีก่อน
ผลการเลือกตั้งและผลสำรวจข้างต้นสะท้อนถึงความอ่อนด้อยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในด้านการประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ของ
ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี
2540
ในด้านต่าง
ๆ อาทิ
การทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย
การเลือก
การแต่งตั้ง
การแนะนำ
หรือการเห็นชอบในบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรตรวจสอบต่าง
ๆ
การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งสำคัญต่าง
ๆ
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
ฉะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งควรจะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ
ส.ว.
ร่วมกับการรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากขึ้น
เพราะหากประชาชนไม่เข้าใจว่าตนเองเลือก
ส.ว.
เพื่อไปทำหน้าที่
และบทบาทแทนตนเองในเรื่องใดบ้าง
การตัดสินใจเลือก
ส.ว.
ของประชาชนย่อมเบี่ยงเบน
อาจเลือกคนที่มีชื่อเสียง
แต่ไม่ใช่คนดี
มีความสามารถเหมาะสม
หรือเลือกคนที่เป็นพวกพ้องของนักการเมืองที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้าไปทำงานย่อมส่งผลเสียต่อประเทศ
นอกจากนั้นผลสำรวจดังกล่าว
ทำให้หลายฝ่ายต้องกลับมาทบทวนบทบัญญัติตาม
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ.
2541
มาตรา
91
ที่ระบุว่า
ห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
หรือบุคคลใดดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง
เว้นแต่แนะนำตัวผู้สมัครว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวไม่ต้องการให้มีการโฆษณาหาเสียง
เพราะมีสมมติฐานว่า
คนที่เหมาะสมจะเป็น
ส.ว.
ควรเป็นคนที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักในวงกว้างของประชาชน
ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องโฆษณาหาเสียง
เพราะผู้สมัครท่านนั้น
ย่อมเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว
ซึ่งขัดธรรมชาติของการเลือกตั้งที่ต้องมีการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง
นอกจากนั้น
การที่คนมีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จัก
ไม่ได้รับรองว่าบุคคลผู้นั้นจะเป็นคนที่มีความสามารถเหมาะสมในการเข้ามาทำหน้าที่
ส.ว.
เพราะปัจจุบันคนที่มีชื่อเสียง
แต่ไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์เข้ามาสมัคร
ส.ว.จำนวนมาก
หรือบางท่านอาจมีความรู้
ความเข้าใจ
ความสามารถ
และมีความตั้งใจในการทำงาน
แต่ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
เมื่อไม่สามารถโฆษณาหาเสียงได้
ย่อมไม่สามารถนำเสนอผลงาน
ความรู้
และความสามารถที่ตนเองมีได้อย่างเต็มที่
ทำให้โอกาสที่คนมีความสามารถจะได้เข้ามาทำบทบาทที่สำคัญจึงมีน้อยลง
ตลอดจนการไม่ให้หาเสียงทำให้ประชาชนมีช่องทางในการรับรู้ข้อมูลของผู้สมัครอย่างจำกัด
ผมเห็นว่าการปฏิรูปการเมืองที่จะมาถึงควรมีการศึกษา
ทบทวนว่าจะเปิดโอกาสให้ผู้สมัคร
ส.ว.
โฆษณาหาเสียงได้หรือไม่
เพื่อประโยชน์จะเกิดขึ้นกับประชาชนในการรับข้อมูลอย่างครบถ้วน
และได้ ส.ว.
ที่มีความสามารถเข้าไปทำหน้าที่อย่างดี.
|