ช่วงปลายปี 2547
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(กทบ.)
ได้เสนอโครงการ
หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งความสามารถพิเศษ
เพื่อเฟ้นหาและขยายโอกาส
ให้คนเก่งระดับชุมชน
ระดับหมู่บ้าน
และระดับตำบล
มีส่วนในการพัฒนาชาติ
โดยงบประมาณที่ได้เสนอไว้มีจำนวนถึง
1,659,129,000
บาท และในปี 2548
โครงการนี้ได้กลายมาเป็นนโยบายของรัฐบาลทักษิณ
2
ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
(สทบ.)
เป็นผู้รับผิดชอบ
โครงการนี้แม้ว่าจะเป็นโครงการที่น่าชื่นชม
เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ
แต่ผมเกรงว่าโครงการนี้จะกลายเป็นโครงการที่ถูกลอยแพในที่สุด
อันเนื่องจากปัญหาที่พบ
2
ประการ
ประการแรก
โครงการนี้ไม่ได้กำหนดสาขาที่เชี่ยวชาญอย่างชัดเจน
เพียงแต่กำหนดคุณสมบัติแบบกว้าง
ๆ เช่น
คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษต้อง
ประกอบด้วย 4
เก่ง คือ เก่งรู้
เก่งทำ
เก่งจัดการ
และเก่งถ่ายทอด
เป็นคนดี
ประการที่สอง
โครงการนี้ไม่มีแนวทางป้องกันความผิดพลาดอันเกิดจากการบริหารจัดการ
เห็นได้จากการที่รัฐกำหนดให้คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษประกอบด้วย
4 เก่ง คือ
เก่งรู้ เก่งทำ
เก่งจัดการ
และเก่งถ่ายทอด
โดยให้มีคนเก่งระดับชุมชน
คนเก่งระดับหมู่บ้าน
และคนเก่งระดับตำบล
โดยอาจลืมคำนึงไปว่า
คนหนึ่งคนไม่สามารถ
เก่ง
ทำได้ทุกอย่าง
บางคนเก่งทำ
อาจจะไม่เก่งด้านการบริหารจัดการ
ดังนั้น
หากต้องการให้โครงการประสบความสำเร็จ
เสนอว่า
รัฐบาลควรกำหนดสาขาที่เชี่ยวชาญให้ชัดเจน
ควรเป็นสาขาที่เป็นรากฐานเอื้อต่อการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม
ให้ชุมชนพึ่งตนเองได้
และกำหนดลักษณะความเก่งในแต่ละระดับให้แตกต่างกัน
เช่น
ในระดับหมู่บ้านเหมาะที่จะเลือกคนที่เก่งรู้
เก่งทำ
เก่งถ่ายทอด
เป็นหลัก
คนเก่งระดับหมู่บ้านอาจไม่จำเป็นต้องเก่งบริหารจัดการ
เพราะทำหน้าที่เพียงถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชาวบ้านได้
แต่หากเป็นคนเก่งระดับชุมชน
หรือระดับตำบลควรเลือกคนที่เก่งบริหารจัดการ
เก่งถ่ายทอด
เป็นหลักเพราะต้องคอยดูแลประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ
โดยให้คนเก่งระดับใหญ่ดูแลคนเก่งระดับเล็ก
การดำเนินโครงการที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
และมีประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์จำนวนมากนั้น
ควรระมัดระวังในการบริหารจัดการ
เพื่อป้องกันความเสียหายต่องบประมาณประเทศ
และเพื่อให้เกิดผลสูงสูดต่อประชาชนอย่างแท้จริง