เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.
2548
จำนวน
50,000
ล้านบาท
โดยยื่นเป็นวาระพิจารณาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่
20
เมษายน
ที่จะมาถึงนี้
ผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องเข้าร่วมพิจารณางบดังกล่าวด้วยนั้นไม่ได้รู้สึก
ติดใจอะไรมากนักกับข้อวิพากษ์ที่มีต่อการจัดสรรงบกลางเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายประชานิยมที่รัฐบาลเคยสัญญาไว้ในการหาเสียงที่ผ่านมา
แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดเป็นคำถามในใจผมคือ
เงินจำนวน
50,000
ล้านดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงตามเป้าประสงค์ของระเบียบการจัดตั้งงบกลางซึ่งเป็นงบที่ใช้สำหรับเรื่องที่เร่งด่วนฉุกเฉินจริง
ๆ หรือไม่
ผมเห็นด้วยกับที่รัฐบาลเสนอว่า
งบกลางจะใช้ในการแก้ปัญหาที่
เร่งด่วนฉุกเฉินต่าง
ๆ ของประเทศ อาทิ
การแก้ปัญหาภัยแล้ง
การช่วยเหลือผู้ประภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ
เรื่องที่นอกเหนือจากนั้นไม่ว่าจะเป็น
การดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสำหรับผู้ว่าบูรณาการ
(ผู้ว่าฯ
ซีอีโอ)
หรือ
เพื่อการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชน
ตามที่รัฐบาลได้เสนอไว้
จึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในงบกลาง
เหตุผลไม่ใช่เพราะเรื่องดังกล่าวไม่สำคัญ
แต่เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยของรัฐบาลที่สามารถวางแผนงบประมาณล่วงหน้ามาก่อนได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องขอใช้งบกลาง
ผมคิดว่า
การจัดสรรว่าเรื่องใดควรใช้งบกลางควรมีหลักที่ชัดเจนว่า
ต้องฉุกเฉิน
เร่งด่วน
วางแผนล่วงหน้าไม่ได้
และควรดำเนินตามนั้นอย่างเคร่งครัด
เพราะการเปิดช่องให้ทุกเรื่องสามารถที่จะขอใช้งบกลางได้
ย่อมเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดในระบบการทำงานของภาครัฐที่อาจไม่เห็นว่าการมีวินัยทางการเงินหรือการวางแผนงบประมาณประจำปีเป็นสิ่งสำคัญแต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังอาจเป็นการแย่งงบไปจากเรื่องฉุกเฉินอื่น
ๆ
ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
และควรเริ่มคิดที่จะจัดกันงบฉุกเฉินในปัญหาเหล่านี้ที่มีแนวโน้มว่าอาจเกิดขึ้นในอนาคต
อาทิ
ปัญหาผลกระทบจากการลอยตัวราค่าน้ำมัน
การรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีทาการค้าหรือ
FTA
ซึ่งยังไม่ถูกรวมไว้ในแผนการใช้งบกลางปี
48
ดังกล่าว
รัฐบาลควรพิจารณาอย่างรอบคอบในการเบิกจ่ายงบกลางแต่ละครั้งโดยให้เป็นการใช้จ่ายในเรื่องที่เร่งด่วนฉุกเฉินอย่างแท้จริงรวมทั้งการแบ่งสัดส่วนของเงินอย่างเหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติรวมทั้งเป็นการสร้างค่านิยมทางการเมืองที่ดีร่วมกัน
|