นโยบายพลังงานที่บิดเบือนความเป็นจริง
(ปรับขึ้นราคาดีเซล)
เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
หลังจากรัฐบาลได้ชดเชยราคาน้ำมันมาอย่างยาวนานกว่า
15
เดือน
รัฐบาลได้ตัดสินใจประกาศขึ้นราคาน้ำมันดีเซลในคราวเดียว
3
บาทต่อลิตร
ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจากลิตรละ
15.19
บาทเป็น
18.19
บาทต่อลิตร
เนื่องจากไม่สามารถทนต่อการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกอย่างดูเหมือนไม่สิ้นสุด
ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะขึ้นราคาน้ำมันดีเซลถึงลิตรละ
3 บาท
แต่รัฐยังคงให้การอุดหนุนอยู่อีกถึง
3.62
บาทต่อลิตร
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังออกมาให้ความเห็นอีกว่า
จะตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่อไปอีก
6
เดือน
เพราะคาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะลดลงในอนาคต
การดำเนินนโยบายตรึงราคาน้ำมันของรัฐบาลเปรียบได้กับดาบสอบคม
แม้ว่าในด้านหนึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิต
แต่อีกด้านกลับเป็นการทำร้ายเศรษฐกิจของชาติ
กล่าวคือไม่เป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ผลิตต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
ผู้ผลิตไม่ได้รับแรงกดดันให้ต้องปรับตัว
และส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำมันไม่เป็นไปตามกลไกตลาด
ประชาชนหันมาใช้ยานยนต์ประเภทที่เติมน้ำมันดีเซลมากขึ้น
แทนที่จะทำให้ประชาชนประหยัดน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม
ในที่สุด
รัฐบาลจะต้องลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล
รัฐบาลควรดำเนินมาตรการลอยตัวอย่างไร
ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
ได้แก่
ลอยตัวราคาน้ำมันอย่างมียุทธศาสตร์
การประกาศลอยตัวน้ำมันควรเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป
โดยรัฐบาลต้องประกาศให้ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนทราบล่วงหน้า
โดยมีทิศทางและช่วงเวลาแน่นอน
โดยระยะเวลาของการลอยตัวต้องยาวเพียงพอ
เพื่อให้ผู้ผลิตมีเวลาเตรียมตัวหรือปรับต้นทุนของตนเองได้
และสามารถวางแผนการผลิตได้
แต่ต้องไม่ยาวนานจนกลายเป็นภาระต่องบประมาณมากจนเกินไป
นอกจากนี้
รัฐบาลควรป้องกันการกักตุนน้ำมันควบคู่ไปด้วย
ปรับบทบาทกองทุนน้ำมัน
ในระยะยาวควรลดบทบาทการอุดหนุนราคาน้ำมัน
ที่บิดเบือนกลไกตลาด
แต่เน้นสร้างเสถียรภาพราคาน้ำมัน
(ให้ราคาน้ำมันปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป)
เหมือนกับธนาคารแห่งประเทศไทยที่รักษาเสถียรภาพของค่าเงิน
นอกจากนี้
กองทุนน้ำมันควรเน้นบทบาทการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนมากขึ้น
กระจายความเสี่ยงด้านพลังงาน
ประเทศไทยมีแหล่งสำรองพลังงานน้อยมาก
และพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่นมาก
รัฐบาลควรกระจายความเสี่ยงด้านพลังงาน
โดยกระจายสัดส่วนการใช้พลังงานชนิดต่าง
ๆ การสำรวจ
วิจัยและพัฒนาเพื่อหาพลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานแบบหมุนเวียนมากขึ้น
เช่น
พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานชีวภาพ
เป็นต้น
เพื่อน ๆ
คิดอย่างไรกับแนวทางที่ผมเสนอ
สามารถส่งความเห็นผ่าน
E-mail
ได้นะครับ |