เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ในระหว่างการเดินทางตรวจราชการในพื้นที่ภาคอีสาน
รักษาการนายกฯ
ได้เกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาความยากจน
จากการบอกกล่าวของเจ้าหน้าที่ในอำเภออาจสามารถว่า
หากมีงบประมาณ
250
ล้านบาท
จะสามารถแก้ปัญหาความยากจนใน
อ.อาจสามารถได้
รักษาการนายกฯ
จึงคิดว่าหากขยายแนวทางนี้ไปใช้กับ
800
อำเภอทั่วประเทศ
โดยการให้เงินอำเภอละ
250
ล้านบาท
ซึ่งรักษาการนายกฯ
เชื่อว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก
ผมไม่แน่ใจว่าวิธีการในการแก้ความยากจนของรักษาการนายกฯ
จะสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้จริงหรือไม่
เพราะวิธีคิดของนายกฯ
ในการแก้ปัญหายังคงเหมือนเดิม
คือ
แก้ปัญหาแบบปูพรม
ทุกพื้นที่ได้เงินเท่ากันหมด
ทั้งที่ความยากจนในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน
และยังคงเป็นการแก้ปัญหาโดยใช้เงินเป็นตัวตั้ง
ซึ่งไม่มีหลักประกันว่าหากแต่ละอำเภอได้เงินงบประมาณอำเภอละ
250
ล้านบาทจะสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า
งบประมาณจำนวนมากเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้
คือ
การแก้ปัญหาความยากจนในจังหวัดเชียงใหม่
ที่สภาพัฒน์ระบุว่าได้รับงบประมาณลงพื้นที่ตั้งแต่ปี
2544-2549
กว่าแสนล้านบาท
หรือประมาณ
2
หมื่นล้านบาทต่อปี
หรือคิดเป็นอำเภอละ
833
ล้านบาทต่อปี
แต่ผลปรากฏว่าจังหวัดเชียงใหม่ยังคงมีจำนวนคนจนและคนที่เสี่ยงต่อความยากจนเป็นจำนวนมาก
โดยในปี
2544
มีสัดส่วนคนจนร้อยละ
5.61
ปี 2545
สัดส่วนคนจนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
7.4
และ ปี
2547
มีการเปลี่ยนแปลงเส้นความยากจน
ทำให้สัดส่วนคนจนเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ
18.59
ของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่
ตัวเลขดังกล่าวเป็นบทพิสูจน์เบื้องต้นว่า
แนวคิดของรักษาการนายกฯ
ที่จะให้เงินทุกอำเภอ
ๆ ละ
250
ล้านบาท
ไม่อาจสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้
นอกจากแนวคิดในการแก้ปัญหาความยากจนที่ควรมีการทบทวน
ผมเห็นว่าอีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลควรทบทวนคือ
การแก้ปัญหาความยากจนที่พึ่งเฉพาะกลไกของรัฐเป็นหลัก
แต่กลไกของรัฐในปัจจุบันมีงานประจำที่ต้องรับผิดชอบจำนวนมาก
การฝากภาระทั้งหมดไว้ที่กลไกดังกล่าวจึงไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด
หรือหากจะตัดตอนนำงบฯ
ไปให้ชุมชนโดยตรงอาจเหมาะสมสำหรับบางชุมชนเท่านั้น
เพราะยังมีอีกหลายชุมชนที่ยังขาดความพร้อมในการบริหารจัดการการใช้งบฯ
อย่างมีประสิทธิภาพ
ผมจึงคิดว่ากลไกหนึ่งที่รัฐไม่ควรมองข้าม
คือ
องค์กรพัฒนาเอกชน
(NGOs)
ที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับความยากจนอยู่แล้ว
ทำให้มีฐานความรู้และความเข้าใจในเรื่องความยากจนเป็นอย่างดี
รวมทั้งอยู่ใกล้ชิดกับชุมชน
รู้และเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น
แต่ปัญหาหลักขององค์กรเหล่านี้ที่ทำให้มีส่วนพัฒนาชุมชนได้จำกัด
คือ
ขาดแคลนงบประมาณ
ฉะนั้นหากรัฐบาลนำเงินบางส่วนจัดสรรให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน
เพื่อเป็นแนวร่วมในการแก้ปัญหาความยากจนในลักษณะสามประสาน
ไม่ใช่การให้งบประมาณเพื่อไปแจกจ่ายชาวบ้าน
แต่เป็นการให้งบประมาณเพื่อจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์กับชุมชน
นอกจากจะเป็นการแก้ไขข้อจำกัดของแต่ละกลไก
ยังเป็นการรวมพลังในการแก้ปัญหาความยากจน
ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ
และสิ่งสำคัญของกลไกในจัดสรรงบประมาณ
คือ
ระบบการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้เงินทุกบาทที่เป็นภาษีของประชาชน
ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
|