Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

บัณฑิตไทยยุค “อุดมการณ์ที่หายไป”
The fading idealism of Thailand’s Academic graduates

 

16 สิงหาคม 2548

 

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก     

ในช่วงนี้เป็นฤดูกาลรับพระราชทานปริญญาบัตรของบัณฑิตจบใหม่หลายสถาบันการศึกษา ผมขับรถผ่านไปมาเห็นนิสิตนักศึกษาใส่ชุดครุยถ่ายรูปกับเพื่อนฝูงครอบครัวด้วยรอยยิ้มอย่างมีความสุข  เห็นแล้วรู้สึกดีใจตามไปด้วย แต่ในอีกด้านหนึ่งรู้สึกสะท้อนใจลึก ๆ อย่างบอกไม่ถูกเมื่อนำภาพนักศึกษาที่เห็นในปัจจุบัน ไปเปรียบเทียบกับภาพบัณฑิต นิสิต นักศึกษา ในสมัยเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา

พลังของวัยรุ่นหนุ่มสาวในสมัย
14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม พ.. 2519 ที่รวมพลังกันด้วยความบริสุทธิ์ใจอยากเห็นประเทศไทยในสภาพที่ประชาชนมีสิทธิมีส่วนร่วมในการปกครอง รวมทั้งเสรีภาพที่พึงจะมีได้ แม้ผลลัพธ์ที่ได้จะมีทั้งชัยชนะและความปราชัยที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตก็ตาม แต่เมื่อหันกลับมามองวัยรุ่นหนุ่มสาวยุคปัจจุบัน ผมเกิดคำถามขึ้นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พลังแห่งอุดมการณ์” ที่นิสิตนักศึกษายุคก่อนเคยมีนั้นบัดนี้หายไปไหน  เหตุใดเด็กเหล่านี้จึงมีชีวิตอยู่ไปเพียงเพื่อแสวงหาความสุขให้ตนเองเท่านั้น

 ถึงเวลาแล้วที่เราต้องหันกลับมาคิดทบทวนในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งหาทางแก้ไขโดยเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูป
“อุดมการณ์” ทางการศึกษาในปัจจุบัน ที่เป็นการศึกษาที่เน้นเพียงเพื่อ “อัตตา” หรือการศึกษาเพียงเพื่อตอบสนองความอยู่รอดของชีวิตเท่านั้น การศึกษาเป็นเพียงเครื่องมือสำหรับประกอบอาชีพผ่านใบประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรอันเป็นใบเบิกทางในการทำงานหารายได้เพื่อตนเองเท่านั้น ดังนั้นการศึกษาเพื่ออัตตาเพียงประการเดียวจึงไม่เพียงพอ และจะเป็นการสร้างความเห็นแก่ตัวให้แก่ผู้เรียน โดยปราศจากการสร้างใจแห่งการเสียสละเพื่อสังคม

การปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตรุ่นใหม่จึงควรที่จะยกระดับอุดมการณ์ทางการศึกษาให้ไปถึงขั้นของ
“การศึกษาเพื่อปวงประชา” เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้ตระหนักในจิตสำนึกว่า “เราได้รับการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์แก่คนเองและสังคมอย่างไร

การกำหนดอุดมการณ์ทางการศึกษาที่ถูกต้องเป็นเรื่องจำเป็น
เพราะจะเป็นตัวกำหนดว่าคนที่ได้รับการศึกษาจะใช้การศึกษาที่ได้มาเพื่อทำสิ่งใด  การศึกษาต้องมิใช่การฉกฉวยผลประโยชน์สูงสุดเพื่อตนเองและพวกพ้อง การศึกษาไม่ใช่เป็นแค่เครื่องมือในการเพิ่มน็อตตัวหนึ่งเข้าไปในจักรกลของระบบเศรษฐกิจ แต่การศึกษาที่แท้จริงคือการทำลายรากแห่งความเห็นแก่ตัว รากแห่งความขัดแย้งทั้งสิ้นออกไปเพื่อสร้างสันติสู่มวลมนุษย์ชาติ การศึกษาจึงต้องก้าวพ้นจากเพียงเพื่ออัตตาแต่ต้องก้าวไปสู่การศึกษาเพื่อปวงประชาเป็นเป้าหมายสูงสุด