เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้น
จนหลายฝ่ายเกิดความวิตกว่า
ราคาน้ำมันอาจขึ้นไปถึง
100
ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ซึ่งเป็นระดับที่อาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างรุนแรงได้
แต่ราคาน้ำมันจะไปถึงระดับดังกล่าวหรือไม่นั้น
น่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก
2
ประการ
ประการแรก
ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับอิหร่านประเด็นการพัฒนานิวเคลียร์
กรณีที่สหรัฐอเมริกาและองค์การสหประชาชาติยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลอิหร่านหยุดการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์
เพราะคาดการณ์ว่าอิหร่านจะพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ไปถึงระดับ
5
ซึ่งเทียบเท่าความสามารถในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
อันเป็นการขัดต่อสนธิสัญญาว่าด้วยการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์
แต่อิหร่านยังคงยืนยันว่าตนเองจะพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ต่อไป
โดยเป็นการพัฒนาในรูปแบบพลังงานทดแทน
สหรัฐฯจึงเรียกร้องให้ประเทศต่าง
ๆ
บอยคอตอิหร่าน
ทำให้ทั่วโลกเกรงว่าจะเกิดสงครามขึ้น
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันที่จะเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่เห็นด้วยกับการบอยคอตอิหร่าน
ทำให้สหรัฐฯต้องพยายามหามาตรการอื่นมากดดันให้อิหร่านเลิกพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์
ในขณะที่อิหร่านเริ่มมีท่าที่อ่อนลง
โดยเสนอให้มีคนกลางมาดำเนินการเจรจาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
ส่งผลทำให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดนั้นผ่อนคลายลง
และทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกอ่อนตัวลงเล็กน้อย
ผมคิดว่า
อิหร่านต้องการให้มีการเจรจามากกว่าต้องการจะให้เกิดการปะทะกันทางทหาร
เพราะรัฐบาลอิหร่านไม่เห็นทางที่จะเอาชนะสหรัฐฯได้
และไม่ต้องการให้ประเทศชาติล่มจมเหมือนประเทศอิรัก
แต่จะพยายามเล่นเกมการเมืองระหว่างประเทศเพื่อยืดสถานการณ์ออกไปให้นานที่สุด
เพราะหากผู้นำอิหร่านยอมอ่อนข้อต่อสหรัฐฯ
ย่อมจะทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนจนต้องลงจากอำนาจในที่สุด
ด้วยเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเกิดสงครามเช่นนี้
ราคาน้ำมันดิบจะสูงจนไปถึง
100
ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลอย่างที่มีการคาดการณ์ไว้
แต่กระนั้น
ราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ต่อไป
เนื่องจากการเจรจาจะยืดเยื้อเพราะไม่สามารถหาข้อยุติได้ง่ายนัก
ประการที่สอง
การก่อตั้งเขตการค้าเสรีของโบลิเวีย
เวเนซูเอลา
และคิวบา
เพื่อต่อต้านสหรัฐฯ
การรวมตัวดังกล่าวมีผลกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
เพราะประเทศเวเนซูเอลาเป็นหนึ่งประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก
และประเทศโบลิเวียมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับต้น
ๆ ของโลก
การรวมกลุ่มกันเพื่อต่อต้านสหรัฐฯ
โดยเวเนซูเอลายกเลิกการขายน้ำมันดิบให้สหรัฐฯ
และโบลิเวียสั่งการให้กองกำลังทหารเข้าไปปิดกั้นที่ทำการของบริษัทต่างชาติ
ที่เข้ามาดำเนินงานเกี่ยวกับการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในโบลิเวีย
เหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขยับตัวขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ดี
การรวมตัวของทั้ง
3
ประเทศนี้น่าจะเป็นการรวมตัวแบบเฉพาะกิจ
เพื่อสร้างอำนาจต่อรองเกี่ยวกับผลประโยชน์
มากกว่าจะเป็นการรวมตัวอย่างถาวร
เนื่องจากรายได้หลักของประเทศเหล่านี้มาจากการค้ากับสหรัฐฯ
การต่อต้านสหรัฐฯ
จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้อย่างรุนแรง
โดยจะทำให้การส่งออกลดลงและอาจจะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจภายในประเทศได้
ดังนั้นผลกระทบต่อราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของทั้ง
3
ประเทศนี้
จึงอาจเป็นเพียงผลกระทบชั่วคราวเท่านั้น
แต่คำว่า
ชั่วคราว
ในที่นี้อาจกินระยะเวลาอย่างน้อยถึง
180 วัน
ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลโบลิเวียเปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจพลังงานต่างชาติเข้ามาเจรจา
ราคาน้ำมันในตลาดโลกจึงยังไม่น่าจะเพิ่มขึ้นสูงถึง
100
ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
แต่สถานการณ์ที่ยังยืดเยื้อและคลุมเครือต่อไปอีกอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี
2549
ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันที่สูงขึ้นมาก
จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบขยับตัวสูงขึ้น
แต่จะไม่น่าจะไปถึงระดับ
100
ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
|