|
|
|
|
|
|
ขอคิดอย่างสร้างสรรค์ |
|
เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รายงานตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ
NPL
ในไตรมาสแรกพบว่า
NPL
ของระบบสถาบันการเงิน
มีจำนวนทั้งสิ้น
596,193.20
ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า
4 พันล้านบาท
จากช่วงสิ้นปี
2547
ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ความไม่สงบใน 3
จังหวัดภาคใต้
และเหตุผลอีกส่วนหนึ่งที่ควรตั้งคำถาม
คือ
การแก้ไขปัญหา
NPL
ของรัฐบาลทักษิณ
1
ที่ผ่านมามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่
?
อย่างไรก็ตาม
จากการที่ผมได้ศึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา
NPL
ของรัฐบาลทักษิณ
1
โดยวิเคราะห์ข้อมูลการเพิ่มขึ้นและลดลงของ
NPL
โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่เดือน
มิ.ย.2541
ซึ่งเริ่มมีการเก็บตัวเลข
NPL ธันวาคม
2547
และแบ่งข้อมูลเป็น
2 ช่วง คือ มิ.ย.
2541 ธ.ค.2543
(รัฐบาลชวน 2)
และ ม.ค.2544
ธ.ค.2547
(รัฐบาลทักษิณ 1)
สิ่งที่ผมค้นพบจากการศึกษาข้อมูลดังกล่าว
คือ
1. การแก้ไข NPL
ในรัฐบาลทักษิณ 1
มีประสิทธิภาพต่ำ
เห็นได้จากสัดส่วนของ
NPL ที่ลดลง
เทียบกับ NPL
ที่มีอยู่ทั้งระบบสถาบันการเงินของรัฐบาลทักษิณ
1 ซึ่งลดลงจาก
857,341 ล้านบาท
ณ ม.ค. 2544
เหลือ 591,873
ล้านบาท ณ สิ้นปี
2547
ซึ่งลดลงสุทธิเพียง
265,468 ล้านบาท
หรือ 66,367
ล้านบาทต่อปี
คิดเป็น 7.74%
ของ NPL
ที่มีในตอนเริ่มต้น
ในขณะที่รัฐบาลชวน
2 NPL ณ
มิ.ย.2541
มีมูลค่า
2,090,302
ล้านบาท ณ สิ้นปี
2543 ลดลงเหลือ
857,341 ล้านบาท
ซึ่งลดลงสุทธิ
1,232,961
ล้านบาท หรือ
ลดลง 493,184.4
ล้านบาทต่อปี
คิดเป็น 23.59%
ของ NPL
ที่มีในตอนเริ่มต้น
จะเห็นได้ว่า NPL
ในสมัยรัฐบาลทักษิณ
1 นั้น
ลดลงในสัดส่วนที่ต่ำกว่าสมัยรัฐบาลชวน
2 มาก
2. การแก้ไข NPL
ในรัฐบาลทักษิณ 1
มีประสิทธิผลต่ำ
หากพิจารณา
ร้อยละของ NPL
ที่กลับมาเป็น
NPL ใหม่อีกครั้ง
เทียบกับมูลค่าของ
NPL
ที่ได้รับการแก้ไขไปแล้ว
พบว่า ช่วง ม.ค.
43 ธ.ค. 43
(รัฐบาลชวน 2) มี
Re-entry NPL
12.14%
ในขณะที่รัฐบาลทักษิณ
1 ในมี Re-entry
NPL เฉลี่ยต่อปี
40.44%
ซึ่งสะท้อนว่า
การแก้ไขปัญหา
NPL
ในรัฐบาลทักษิณ 1
มีประสิทธิผลต่ำ
ดังนั้นรัฐบาลควรให้ความสนใจและจริงจังมากขึ้น
ในการแก้ไขปัญหา
NPL
หรือการช่วยเหลือลูกหนี้
NPL
ให้สามารถกลับมาดำเนินกิจการได้นั้น
จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ
เพราะ
จะทำให้เกิดการผลิต
และการจ้างงานมากขึ้น
ซึ่งสุดท้ายประโยชน์ก็จะตกอยู่กับประชาชนโดยรวมนั่นเอง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|