เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
จากผลการศึกษาของ
คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบใช้รัฐธรรมนูญ
วุฒิสภา
ที่แถลงเมื่อวันที่
11
เม.ย.
พบว่ามี
11
ประเด็นที่มีปัญหา
และสมควรที่จะแก้ไข
ประเด็นหนึ่งที่สำคัญ
ได้แก่
การแก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งของ
ส.ว.
ที่ห้ามลงสมัครเลือกตั้งติดต่อกัน
2
สมัย
โดยให้เหตุผลว่า
เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของผู้สมัคร
ส.ว.
ซึ่งไม่ควรเขียนล๊อกเอาไว้
และประชาชนสามารถใช้ดุลพินิจเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะเป็น
ส.ว.
การที่ ส.ว.
ออกมาเรียกร้องให้แก้กฎหมายเพื่อให้สามารถดำรงตำแหน่งได้
2
สมัยเช่นนี้
แม้เป็นสิทธิที่สามารถเรียกร้องได้
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือการย้อนกลับไปดูเหตุและผลตอนยกร่างนี้ว่า
เหตุใดรัฐธรรมนูญจึงห้ามมิให้เป็น
ส.ว.
2
สมัยติดต่อกัน
เพราะนั่นย่อมเป็นตัวชี้บ่งถึงความสำคัญของมาตรา
126 (4)
ที่ให้ ส.ว.
ดำรงตำแหน่งสมัยเดียว
สาเหตุที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดเงื่อนไขเช่นนั้น
เพราะว่า
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ
ส.ว.
ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2540
ได้เปลี่ยนแปลงไป
จากหลักการเดิมที่เคยกำหนดให้
ส.ว.
เป็นสภากลั่นกรองกฎหมาย
ได้แก้ไขให้ ส.ว.
เป็นสภาตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร
ขณะเดียวกันก็มีอำนาจในการเลือกและให้ความเห็นชอบบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่าง
ๆ
และสามารถถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
ฯลฯ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า
ภารกิจของ ส.ว.
มีเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก
ดังนั้น หากเป็น ส.ว.
2
สมัยติดต่อกัน
จึงเกรงว่าจะไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มที่
เนื่องจากต้องพะวงถึงการได้รับเลือกตั้งในสมัยหน้า
ทำให้ต้องแบ่งเวลาลงพื้นที่หาเสียงกับประชาชนตลอดระยะเวลา
6
ปี
หรือพยายามผลักดันเอางบประมาณต่าง
ๆ ลงในพื้นที่
ซึ่งมิใช่หน้าที่ของ
ส.ว.
นอกจากนี้
ยังต้องพยายามสร้างความผูกพันกับพรรคการเมืองหรือกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นในการพึ่งพาฐานเสียงและคะแนนนิยม
อันทำให้การปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจต่าง
ๆ
เกิดความเอนเอียงไม่เป็นกลางในทางการเมืองได้
เพราะฉะนั้น
การดำรงตำแหน่งในสมัยเดียว
6
ปี
จึงเป็นข้อบัญญัติที่มุ่งหมายเพื่อให้
ส.ว.ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง
โดยลดการถูกแทรกแซงและครอบงำจากพรรคการเมืองให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้
แม้ว่าจะต้องแลกกับการที่
ส.ว.ที่มีศักยภาพได้ทำงานอย่างเต็มที่เพียงสมัยเดียว
ถึงตรงนี้แล้ว
เราคงต้องชั่งน้ำหนักผลดี-ผลเสียให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจ
คุ้มค่าหรือไม่หากแก้ไขรัฐธรรมนูญให้
ส.ว.ดำรง
2
สมัยติดต่อกัน
การสานต่อการทำงานเพื่อประชาชนจะต่อเนื่องหรือไม่?
โอกาสเสี่ยงต่อการผูกขาดอำนาจจากคนของพรรคการเมืองที่ยาวนานถึง
12
ปีมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด?
และการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาหรือเป็นกลางทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้อีกต่อไปหรือไม่
?
คำถามเหล่านี้ควรตอบประชาชนให้กระจ่างก่อนตัดสินใจดำเนินการใด
ๆ ลงไป
|