เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของ
สว.
เป็นเรื่องที่ควรร่วมกันพิจารณา
ผมเสนอว่า
วุฒิสภาควรมาจาก
2
เกณฑ์
แบ่งตามเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์
จากการเลือกตั้ง
จังหวัดละ
1
คน และแบ่งตามเกณฑ์ตัวแทนประชาชนกลุ่มต่าง
ๆ
ตามสาขาอาชีพและกลุ่มผลประโยชน์ให้ครบถ้วน
เมื่อวันที่
25
มิถุนายนที่ผ่านมา
สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทยจัดอภิปรายเรื่อง
74
ปีกับอนาคตประชาธิปไตยไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ74
ปี
แห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จากการอภิปรายของ
ศ.ดร.ลิขิต
ธีรเวคิน
หัวหน้าพรรคพลังแผ่นดินไทย
ท่านได้เสนอให้แก้ไขสัดส่วนสมาชิกวุฒิสภา
โดยเสนอว่า
ควรเลือกตั้งจังหวัดละ1
คน
ที่เหลือแบ่งสัดส่วนแต่งตั้งจากสมาคมวิชาชีพต่าง
ๆ
นักวิชาการ
หรืออดีตรัฐมนตรี
ในประเด็นนี้สอดคล้องกับแนวคิดที่ผมได้เคยเสนอไว้ในหนังสือ
“เปิดโลกความคิดมองวุฒิสภาไทย”
ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2538
ในช่วงที่กำลังเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
(ฉบับประชาชน
พ.ศ.2540)
แต่น่าเสียดายที่ครั้งนั้นไม่ได้ถูกนำไปพิจารณา
ภายหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
พ.ศ.
2540
จนถึงปัจจุบัน
ประเทศไทยเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้ว
2
ครั้ง
เราคงยอมรับร่วมกันว่า
มีปัญหาเกิดขึ้น
สว.บางคนนั้น
กลายเป็นตัวแทนของกลุ่มการเมืองแทนการเป็นตัวแทนของประชาชน
วุฒิสภากลายเป็นสภาเครือญาตินักการเมือง
เกิดความคลุมเครือและความไม่มั่นใจในหมู่ประชาชนว่า
กลุ่มบุคคลเหล่านี้จะสามารถเป็นตัวแทนทำหน้าที่
สว.ได้อย่างชอบธรรมมากน้อยเพียงใด
เมื่อปี
พ.ศ.2538
ในขณะที่ผมดำรงตำแหน่งรองประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น
คณะกรรมการปฏิรูปการเมือง
(คปก.)
ได้เสนอที่มาของวุฒิสมาชิก
โดยส่วนแรกแบ่งตามเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์
-
วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง
จังหวัดละ
1
คน รวม
76
คน
วุฒิสมาชิกจะกลายเป็นตัวแทนของจังหวัดโดยตรงต้องรับผิดชอบต่อคนทั้งจังหวัด
ส่วนที่สองแบ่งตามเกณฑ์ตัวแทนประชาชนกลุ่มต่างๆ
-
โดยแบ่งสัดส่วนที่เหมาะสมตามสาขาอาชีพและกลุ่มผลประโยชน์ในสังคมให้ครบถ้วน
ครอบคลุมคนกลุ่มน้อยและกลุ่มคนด้อยโอกาส
เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยนั้นแม้ว่าจะมาจากเสียงส่วนใหญ่
แต่เสียงส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถมากดหรือเอาเปรียบเสียงส่วนน้อยของสังคมได้
ตัวแทนประชาชนกลุ่มต่าง
ๆ
เหล่านี้
สามารถแบ่งได้เป็น
8
กลุ่ม
คือตัวแทนวิชาชีพและด้านต่าง
ๆ
องค์กรพัฒนาเอกชน
(เอ็นจีโอ)
อดีตข้าราชการทหารและพลเรือน
ตัวแทนชนกลุ่มน้อยในประเทศ
ตัวแทนกลุ่มคนด้อยโอกาสในสังคม
สื่อมวลชน
องค์กรศาสนา
สถาบันวิชาการและสถาบันการศึกษา
อย่างไรก็ตาม
ในประเด็นคณะกรรมการสรรหาวุฒิสมาชิก
คงต้องมีการทบทวนวิธีที่จะได้คนที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม
ควรมีการคัดเลือกอย่างดี
เพื่อให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง
ไม่เปิดช่องให้ผู้มีอำนาจเข้ามาชี้นำได้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของ
สว.
เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
และอยากฝากไว้หลังเลือกตั้งที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ควรร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบ
เพื่อให้สภาแห่งนี้ทำหน้าที่ได้อย่างสมศักดิ์ศรี
ไม่เปิดช่องให้
“บริกร”
เข้ามาบริการนักการเมืองพรรคใดได้อีกต่อไป
แต่เป็นตัวแทนประชาชนได้อย่างแท้จริง
|