เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
จากข่าวความเคลื่อนไหวของรัฐบาลในเรื่องการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.)
ภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี
วันที่
30
พฤษภาคม
2549
ได้มีมติเห็นชอบจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปีงบประมาณ
2550
ใน
สัดส่วนร้อยละ
35
หรือคิดเป็นเงิน
516,600
ล้านบาท
ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
อปท.
พ.ศ.
2542
โดยจะไม่มีการแก้ไขในเรื่องการจัดสรรงบประมาณเพียงแต่จะโอนเรื่องไปให้กับรัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการ
ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า
เหตุใด
มติ ครม.
ที่เห็นชอบด้วยกับหลักการการกระจายอำนาจฯ
จึงเกิดขึ้นในช่วงใกล้เลือกตั้ง
ทั้ง ๆ
ที่ มติ
ครม.
17
มกราคม
2549
ยอมรับว่าไม่สามารถโอนเงินงบประมาณให้แก่
อปท.ตาม
พรบ.กำนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯได้
รัฐบาลจึงจัดสรรงบประมาณในปี
2549
ให้ท้องถิ่นเพียงร้อยละ
24.1
และระบุว่าในปีงบประมาณ
2550
จะโอนเงินให้
อปท.ได้เพียงร้อยละ
26
โดยอ้างเหตุผลว่าติดปัญหาการปฏิรูประบบราชการ
เนื่องจากการโอนหน่วยงานด้านการศึกษาและสาธารณสุขไปอยู่ในความดูแลของ
อปท.ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
ผมจึงเกิดคำถามว่าขณะนี้การโอนหน่วยงานด้านการศึกษาและสาธารณสุขเป็นไปตามเป้าหมายแล้วหรือ?
ผมไม่เป็นห่วงหากหน่วยงานเหล่านั้นมีการโอนภารกิจได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
และมีความพร้อมในการถ่ายโอนอย่างแท้จริง
แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วงคือ
หากหน่วยงาน
ไม่มีความพร้อม
แต่รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดการกระจายงบประมาณออกไป
เพื่อผลประโยชน์ใดก็ตาม
จะเกิดผลกระทบอะไรขึ้นกับการให้บริการด้านการศึกษาและการสาธารณสุขในท้องถิ่น
รวมถึงอาจทำให้เกิดผลกระทบด้านประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ
เหตุที่ผมวิพากษ์เช่นนี้
ไม่ใช่ผมไม่เห็นด้วยกับการถ่ายโอนอำนาจจากหน่วยงานกลางไปสู่
อปท.
เพราะตามหลักการเป็นเรื่อง
ที่ดี
ที่จะทำให้หน่วยงานท้องถิ่นซึ่งอยู่ใกล้ชิดและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าหน่วยงานกลาง
และตัดสินใจแก้ปัญหาได้รวดเร็วกว่า
แต่การกระจายอำนาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในด้านงบประมาณที่จะต้องถึงร้อยละ
35
ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมดเท่านั้น
แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอีกหลายด้าน
อาทิ
ความพร้อมของ
อปท.
และประเภทของงานและหน่วยงานที่จะถ่ายโอน
รวมถึงมาตรการป้องกันการทุจริต
คอร์รัปชัน
ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม
การบริหารงานตลอด
5
ปีที่ผ่านมา
รัฐบาลไม่ได้แสดงความพยายามในการเตรียมความพร้อมของท้องถิ่น
ในทางตรงกันข้ามรัฐบาลกลับพยายามรวมศูนย์และยึดโยงอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง
ประการสำคัญคือไม่พยายามถ่ายโอนเงิน
งาน
และคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ดังนั้นการที่รัฐบาลแสดงจุดยืนที่กลับไปกลับมาเช่นนี้จึงน่าจะเป็นการพยายามเล่นการเมืองเพื่อหวังคะแนนเสียงเสียมากกว่า
ยิ่งไปกว่านั้น
ผมยังมีความสงสัยว่า
การที่
ครม.ระบุว่าจะโอนเรื่องไปให้กับรัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการนั้น
หากพรรคไทยรักไทยกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง
มติ
ครม.ในครั้งนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกหรือไม่
เหมือนดังที่เคยเกิดขึ้นในกรณีของมติ
ครม.
วันที่
14
ธันวาคม
2547
ให้มีการชะลอการถ่ายโอนสถานศึกษาไปก่อน
เพื่อหาเสียงกับกลุ่มครู
แต่ต่อมาเมื่อ
30
สิงหาคม
2548
รัฐบาลกลับมีมติยกเลิก
มติ ครม.
14
ธันวาคม
2547
โดยให้
ศธ.
จึงเร่งรัดดำเนินการถ่ายโอนสถานศึกษาต่อไป
ท่าทีเช่นนี้สะท้อนถึงความไม่จริงใจของรัฐบาลในการกระจายอำนาจ
แต่ใช้ประเด็นนี้เป็นเงื่อนไขในการหาเสียงเท่านั้น
|