เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
กระแสการรุกคืบของทุนข้ามชาติกำลังโหมกระหน่ำไปทุกหย่อมหญ้า
ล่าสุดผู้ประกอบการร้านค้าโชว์ห่วยจำนวนกว่าพันราย
พร้อมทั้งประชาชนในเขตเทศบาลเมืองตาคลี
ร่วมใจกันขึ้นป้ายคัดค้านพร้อมขับไล่
“ห้างโลตัส”
ทั่วเมืองตาคลี
หลังจากที่ทางห้างโลตัสเตรียมที่จะเข้าไปก่อสร้างห้างในเขตเทศบาลเมืองตาคลี
จ.นครสวรรค์
จากประสบการณ์ที่เคยทำงานในฐานะเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
สภาผู้แทนราษฎร
ผมเข้าใจดีว่าเหตุใดประชาชนจึงออกมาคัดค้านการขยายตัวของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่
โดยจากการศึกษาผมเห็นถึงผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่
อย่างน้อย
5
ประการ
1)
ผู้บริโภคฟุ่มเฟือยมากขึ้น
รูปแบบการค้าปลีกสมัยใหม่ทำให้วัฒนธรรมวิถีชีวิต
และการบริโภคของประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลง
จากการศึกษาของ
TDRI
เรื่องการค้าปลีกของไทย
:
ผลกระทบของการแข่งขันจากผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดใหญ่ในต่างประเทศ
พบว่าทำให้ผู้บริโภคฟุ่มเฟือยมากขึ้น
2)
กิจการค้าส่งส่วนใหญ่มียอดขายลดลง
ระหว่างปี
2539 –
2545
ร้านค้าส่งร้อยละ
10
มียอดขายสูงขึ้น
แต่ร้านค้าส่งส่วนใหญ่ถึงร้อยละ
74
มียอดขายลดลงร้อยละ
7
เนื่องจากการปิดกิจการของร้านโชว์ห่วยซึ่งเป็นลูกค้าของกิจการค้าส่ง
และการที่ร้านโชว์ห่วยหันไปซื้อสินค้าจากกิจการค้าปลีกขนาดใหญ่มากขึ้น
3)
ซัพพลายเออร์มีอำนาจต่อรองลดลง
จากผลการศึกษาระหว่างปี
2540
พบว่าซัพพลายเออร์
44
แห่ง
มียอดขายสูงขึ้นร้อยละ
20.8
แต่กำไรเบื้องต้นน่าจะลดลง
เนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากทำให้กิจการค้าปลีกขนาดใหญ่มีอำนาจต่อรองสูง
ขณะที่ซัพพลายเออร์ขนาดเล็กบางแห่งอาจต้องพึ่งพากิจการค้าปลีกขนาดใหญ่เป็นผู้ซื้อเพียงรายเดียว
(ผูกขาดด้านผู้ซื้อ)
ทำให้ซัพพลายเออร์ขาดอำนาจต่อรอง
เพราะหากซัพพลายเออร์ไม่ยอมทำตามเงื่อนไขที่กิจการค้าปลีกขนาดใหญ่เรียกร้อง
จะทำให้ยอดขายตกลงมาก
4)
การแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรม
ถึงแม้ว่าตลาดค้าปลีกจะเป็นตลาดแข่งขันเสรี
แต่ธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กไม่สามารถแข่งขันกับกิจการค้าปลีกขนาดใหญ่ได้
เนื่องจากมีการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรม
เช่น
ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์จากการประหยัดจากขนาด
(economy
of scale)
และการใช้กลยุทธ์ด้านราคา
โดยกดราคาให้ต่ำกว่าคู่แข่งจนคู่แข่งอยู่ไม่ได้
เพื่อที่ตนเองจะกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาด
นอกจากนี้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ผลิตสินค้าบางชนิดเองทำให้เกิดการรวมตัวในแนวดิ่ง
มีต้นทุนการจัดจำหน่ายต่ำ
จึงขายในราคาถูกกว่าสินค้าชนิดเดียวกันของผู้ผลิตรายอื่น
ทำให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการรายอื่นต้องปิดกิจการลง
ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ยังเลือกปฏิบัติ
โดยมีการเก็บค่าแรกเข้า
(entrance
fee)
จากสินค้าชนิดเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อในอัตราที่ไม่เท่ากัน
และไม่เก็บจากซัพพลายเออร์ที่เป็นบริษัทข้ามชาติ
การวางสินค้าที่ผลิตเองในตำแหน่งที่ดีแต่วางสินค้าของผู้ผลิตรายอื่นในมุมอับ
การนำสินค้าออกจากชั้นวางโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าหรือใช้เหตุผลต่าง
ๆ
เพื่อปลดสินค้าของซัพพลายเออร์ออกจากชั้นวาง
หรือกำหนดเงื่อนไขและขอส่วนลดจากซัพพลายเออร์เพิ่มขึ้น
หากไม่ทำตามจะนำสินค้าออกจากชั้นวาง
รวมทั้งบังคับให้ซัพพลายเออร์จำหน่ายสินค้าให้กิจการค้าปลีกขนาดใหญ่
โดยให้ติดฉลากเป็นยี่ห้อของกิจการค้าปลีก
แต่ไม่ให้ใช้ตราสินค้าของผู้ผลิตเอง
5)
การสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศ
โดยส่วนใหญ่แล้วบรรษัทข้ามชาติมักจะทำการโอนเงินกำไรที่ได้ออกนอกประเทศไปยังประเทศแม่ของตน
โดยตัวเลขจากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
(1-4
มิ.ย.
49)
ระบุว่านักลงทุนต่างชาติขนเงินปันผลกำไรกลับประเทศจำนวนมหาศาล
โดยเฉพาะปี
2548
อุตสาหกรรม-ค้าปลีก-อสังหาริมทรัพย์ของต่างชาติขนกำไรออกไปถึง
192,789
ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม
เรายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำกำไรออกนอกประเทศเฉพาะของกิจการห้างค้าปลีกขนาดใหญ่
ผลกระทบทั้งหมดที่กล่าวมา
พอจะทำให้มิตรสหายของผมเห็นถึงผลกระทบของทุนนิยมข้ามชาติที่สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง
หากประเทศไทยเปิดเสรีโดยขาดความพร้อมและขาดมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม
ในด้านหนึ่งทุนนิยมทำให้เกิดการแข่งขันและทำให้เศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ
และการเปิดห้างค้าปลีกขนาดใหญ่มีข้อดีคือผู้บริโภคอาจได้ประโยชน์จากราคาสินค้าที่ต่ำลง
แต่ประเด็นที่รัฐบาลควรเน้นคือ
การรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
การป้องกันการผูกขาดและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
และการเตรียมมาตราการรองรับผู้ที่จะรับผลกระทบไว้ล่วงหน้าด้วย
|