จากการที่นายสาทิตย์
วงศ์หนองเตย
กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
ได้ออกมาแถลงข่าวว่าไม่เห็นด้วยหากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สมาชิกวุฒิสภา
(ส.ว.)
สังกัดพรรคการเมืองนั้น
ผมมีความคิดเช่นเดียวกับท่านสาทิตย์
ด้วยเหตุผลที่ว่า
เป็นการขัดต่อบทบาทหน้าที่ของ
ส.ว.
ซึ่งต้องดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม
เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการได้มาของ
ส.ว.
นั้นเปิดช่องเป็นอย่างมากในการที่ต้องพึ่งพาพรรคการเมือง
เพราะเป็นระบบการเลือกตั้งโดยใช้เกณฑ์ทางภูมิศาสตร์เป็นสำคัญ
การได้รับเลือกเป็น
ส.ว.
จำเป็นต้องอาศัยฐานเสียงของประชาชนในจังหวัดต่าง
ๆ
เช่นเดียวกับการเลือกตั้งส.ส.
ผู้สมัครส.ว.
ส่วนหนึ่งจึงมีแนวโน้มที่จะสังกัดพรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดอยู่แล้วโดยพฤตินัย
ในความคิดเห็นของผม
การที่ ส.ว.
จะดำรงความเป็นกลางทางการเมืองได้นั้น
จำเป็นต้องพิจารณาตั้งแต่กระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
โดยผมเคยเสนอไว้ในหนังสือ
เปิดโลกความคิด
มองวุฒิสภาไทย
เพื่อให้การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกมีความเป็นกลางมากที่สุด
ผมเสนอเกณฑ์การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกไว้
2
เกณฑ์
คือเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์และเกณฑ์ตัวแทนประชาชนกลุ่มต่าง
ๆ
เกณฑ์ทางภูมิศาสตร์ได้มีการนำมาใช้แล้วในการเลือกตั้ง
ส.ว.
ครั้งที่ผ่านมา
ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือการถูกแทรกแซงจากพรรคการเมือง
ทำให้ส.ว.ส่วนหนึ่งไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางได้อย่างแท้จริง
ดังนั้นผมจึงขอเสนอว่าการเลือกตั้ง
ส.ว.
ในครั้งต่อไป
ควรมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีการคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ของตัวแทนประชาชนกลุ่มต่าง
ๆ ด้วย
โดยแบ่งสัดส่วนที่เหมาะสมตามอาชีพและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง
ๆ
ในสังคมให้ครบถ้วน
เพื่อให้ส.ว.สามารถเป็นตัวแทนกลุ่มคนประเภทต่าง
ๆ ในสังคมไทย
สามารถกลั่นกรองกฎหมายและเป็นพี่เลี้ยงให้กับสภาผู้แทนราษฎรได้
กลุ่มคนต่าง ๆ
เหล่านี้อาจแบ่งได้เป็น
8
กลุ่ม ได้แก่
องค์กรวิชาชีพและอาชีพที่ระบุในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
องค์กรพัฒนาเอกชน
(เอ็นจีโอ)
อดีตข้าราชการและพลเรือน
ตัวแทนชนกลุ่มน้อยในประเทศ
ตัวแทนกลุ่มคนด้อยโอกาสในสังคม
สื่อมวลชน
องค์กรศาสนา
และสถาบันวิชาการและสถาบันการศึกษา
ทั้งนี้อาจได้มาโดยการเลือกกันเองระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
ผมเชื่อว่าการใช้เกณฑ์ดังกล่าวควบคู่กันไปจะทำให้การได้มาซึ่งวุฒิสภาจะสามารถคงไว้ซึ่งความเป็นกลางได้ในระดับหนึ่ง
รวมทั้งการได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกที่ทรงคุณภาพจากทุกกลุ่มอาชีพเพื่อสะท้อนความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง