Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
          

เมื่อไม่นานนี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้เสนอแผนการปรับโครงสร้างภาคเกษตรใหม่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถรับมือกับการเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ได้ โดยแบ่งสินค้าเกษตรออกเป็น  3 กลุ่ม เพื่อพัฒนาตามศักยภาพ สร้างผลผลิตเพิ่ม สร้างความเข้มแข็ง และเชื่อมโยงกับตลาดโลก นอกจากนี้ยังตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรรองรับข้อตกลงเอฟทีเอ 100 ล้านบาท

การปรับโครงสร้างภาคเกษตรเป็นแนวทางที่ดี แต่ผมไม่เข้าใจว่าเหตุใดรัฐบาลถึงเพิ่งจะมาทำ เนื่องจาก ไทยได้ลงนามเอฟทีเอไปแล้ว 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย กับ จีน อินเดียบางส่วน และการทำเอฟทีเอที่ผ่านมามีข้อวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากว่ารัฐบาลรีบเร่งดำเนินโดยไม่ศึกษาให้รอบคอบก่อนและขาดการมีส่วนร่วมประชาชนในการตัดสินใจ แต่รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องมักจะออกมายืนยันว่าได้ศึกษาอย่างรอบคอบแล้ว และประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการทำเอฟทีเอ

แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากกว่า เช่น การทำเอฟทีเอกับจีน ราคาผักผลไม้ 19 รายการมีแนวโน้มตกลง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร 3 รายการ คือ กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ซึ่งกระทบเกษตรกรจำนวนมาก ประมาณ 500,000 คน นอกจากนี้ปัจจุบันลำไยราคายังตกลงกว่าร้อยละ 25 ทุเรียนราคาตกลง ร้อยละ 10 มังคุดราคาตกลงร้อยละ 22 ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำสุดในรอบ 10 ปี เป็นต้น

สิ่งนี้ทำให้เห็นว่ารัฐบาลขาดความรอบคอบ และเน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ในปีนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่รัฐบาลต้องการเจรจาเอฟทีเอให้แล้วเสร็จ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น การทำเอฟทีเอจะทำให้เกษตรกรต้องมีความเสี่ยงมากขึ้น จากการแข่งขันที่มากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลควรคิดให้ “สุด” เสียก่อน เพื่อไม่ให้ประชาชนจำนวนมากต้องได้รับผลจากการดำเนินการที่ไม่รอบคอบของรัฐบาล