Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์



เสื้อรัดรูป สะท้อนวิธีคิดสังคมไทย
Tighter suits? Fashion trends reflect Thai thoughts

 

สิงหาคม 2549

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก                                               

            
จากข่าวที่ประธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ได้กล่าวว่า การที่เยาวชนนิยมใส่ชุดนิสิตนักศึกษาที่รัดรูป เพื่อให้เห็นสัดส่วนของตนเอง อาจเกิดปัญหาต่อการหายใจและทำให้บริโภคอาหารได้น้อยนั้น ทำให้เกิดข้อถกเถียงในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง

            ในความเป็นจริง การแต่งกายแบบรัดรูปอาจเป็นเพียงกระแสนิยมที่เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น และในอนาคตรูปแบบการแต่งกายของนักศึกษาคงจะเปลี่ยนแปลงไปอีก เช่นเดียวกับในอดีตที่มีความนิยมรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัย เช่นในยุคสมัยหนึ่งที่นิยมใส่เสื้อตัวใหญ่และกระโปรงบานคลุมถึงข้อเท้า เพียงแต่แฟชั่นเสื้อรัดรูปและกระโปรงสั้นอาจมีผลเสียต่อผู้สวมใส่มากกว่า โดยเฉพาะความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดคดีข่มขืน และอาจรวมถึงผลเสียต่อการหายใจและการทานอาหารดังกล่าวข้างต้นด้วย

            อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาลงลึกถึงวิธีคิดของเด็กและเยาวชน ซึ่งสะท้อนถึงวิธีคิดของสังคมไทย (หรืออย่างน้อยในสังคมของเด็กและเยาวชนไทย) ซึ่งมีสิ่งที่อาจมิได้เปลี่ยนแปลงไปตามแฟชั่น

การให้ความสำคัญกับเปลือกนอก เหตุที่นิสิตนักศึกษานิยมใส่ชุดรัดรูป ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะต้องการได้รับการรยอมรับจากสังคมหรือกลุ่มเพื่อน หรือดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้าม ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงค่านิยมในการให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ภายนอกมากกว่าจิตใจภายในหรือความรู้ความสามารถ ไม่แตกต่างจากสังคมภาพรวมที่มองกันเพียงเปลือกนอก เช่น คนที่ใส่สูทผูกไทด์ ใช้สินค้าแบรนด์เนม หรือขับรถยนต์ราคาแพงจะได้รับการยอมรับหรือเชื่อถือมากกว่าคนอื่น เป็นต้น

การเป็นทาสทางความคิด แม้การแต่งกายอย่างไรนั้นเป็นสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลที่พึงจะกระทำได้ แต่หากมองในมุมกลับ ความพยายามแต่งกายในรูปแบบคล้าย ๆ กัน สะท้อนถึงการขาดเสรีภาพ เป็นทาสทางความคิดและทางสายตาของคนอื่น จนทำให้ต้องทำตามกระแสความนิยมในสังคม จนขาดความมั่นใจในตัวตนและขาดอัตลักษณ์ของตนเอง วิธีคิดเช่นนี้ปรากฏในสังคมภาพรวม โดยเฉพาะการไม่ยอมรับคนที่คิดแตกต่าง ทำให้คนในสังคมไทยจำนวนมากไม่กล้าที่จะคิดแตกต่างจากคนส่วนใหญ่

การขาดการคิดประยุกต์และสร้างสรรค์ การแต่งตัวรัดรูป กระโปรงสั้นของเด็กและเยาวชนไทย สะท้อนถึงการขาดการคิดประยุกต์ให้เหมาะสมกับตนเองและบริบทของสังคม แต่เป็นเพียงการรับแฟชั่นจากต่างประเทศหรือจากสื่อสารมวลชนมาทั้งดุ้น โดยไม่ปรับให้เหมาะสมกับรูปร่างของตน และวัตถุประสงค์ของการแต่งกาย รวมทั้งบทบาทของตนที่เป็นนักศึกษา เช่นเดียวกับสิ่งที่ปรากฏในสังคมไทย เช่น การขายสินค้าเหมือน ๆ กัน หรือการลอกเลียนแบบสินค้าต่างประเทศ หรือแม้แต่การที่รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐนำนโยบายของต่างประเทศมาใช้โดยขาดการประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของไทย เป็นต้น

            ปรากฏการณ์มิใช่เพียงกระแสชั่วครู่ชั่วยาม แต่เป็นปัญหาในระดับวิธีคิด และปัญหาดังกล่าวมิใช่ปัญหาของกลุ่มเด็กและเยาวชนเท่านั้น หากแต่เป็นปัญหาของภาพรวมสังคมไทยด้วย

    



-------------------------------