การปฏิรูปการศึกษาในช่วงเวลาที่ผ่านมา
รัฐบาลได้มีแนวทางในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
โดยมุ่งไปที่การพัฒนาครูที่เข้าสู่วิชาชีพให้มีมาตรฐานสูงขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น
การกำหนดให้ครูทุกคนต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
การจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู
การตั้งองค์กรวิชาชีพครูและผู้บริหาร
การบัญญัติกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนครู
การปรับปรุงหลักสูตรการฝึกหัดครู
เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม
ผมเห็นว่าแนวทางดังกล่าว
ไม่ได้เป็นหลักประกันในระยะยาวว่า
คนเก่งจะมาเป็นครู
ดังนั้น
หากมุ่งหวังให้การปฏิรูปวิชาชีพครูประสบผลสำเร็จ
ควรมีมาตรการจูงใจ
และคัดสรรคนเก่งเข้าสู่ระบบครูที่มีประสิทธิผล
อาทิ
การดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอาชีพที่ขาดแคลนเข้ามาเป็นครู
โดยการให้นักวิชาการ
ผู้เชี่ยวชาญในองค์กรต่าง
ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน
หรือคนทำงานที่มีความรู้ความสามารถสูง
เข้ามาสอนในสาขาที่ขาดแคลน
และไม่สามารถผลิตครูได้ทันความต้องการ
ตัวอย่างเช่น
วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ ศิลปศาสตร์
ทั้งนี้รัฐควรเปิดช่องทางให้บุคลากรเหล่านี้เข้าสู่วิชาชีพครูได้ง่าย
เช่น
การแก้ไขการออกใบประกอบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
ให้เปิดกว้างเพื่อให้คนกลุ่มนี้
สามารถเทียบโอนความรู้
ทักษะ ความสามารถ
เพื่อรับใบประกอบวิชาชีพครูได้ง่ายขึ้น
การเรียนหลักสูตรเพื่อการเป็นครูแบบเข้มข้น
การคัดเด็กเรียนเก่งในชนบทให้ได้ทุนเรียน
เพื่อกลับไปเป็นครูในท้องถิ่นของตน
โดยการเลือกเด็กที่เรียนเก่งตั้งแต่ระดับมัธยมปลายที่อยู่ในชนบท
ซึ่งมีโอกาสได้รับการศึกษาต่อน้อยเพราะขาดแคลนเงินทุนสำหรับการเรียน
โดยให้ทุนเรียนฟรีเพื่อให้ศึกษาต่อคณะศึกษาศาสตร์
ครุศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแต่ละภูมิภาค
และมีข้อเสนอให้จบแล้วกลับไปสอนที่โรงเรียนในท้องถิ่นของตน
ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีครูเก่งกระจายอยู่ทั่วไปทุกพื้นที่
ลดปัญหาครูชนบทขาดแคลน
ซึ่งในที่สุดจะมีผลช่วยปรับยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีความเท่าเทียมกันในด้านคุณภาพมากขึ้นทั่วประเทศ
ทั้งนี้กระบวนการข้างต้นจะสำเร็จได้นั้น
จะต้องมีการสร้างหลักประกันด้านรายได้
ให้แก่ครูในทุกพื้นที่
โดยการสนับสนุนให้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2547
พระราชบัญญัติเงินเดือน
เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2547
ให้เป็นหลักประกันการมีรายได้ของครูอย่างแท้จริง
เพื่อทำให้ผู้ที่จะมาเป็นครูมั่นใจได้ว่า
สามารถมีรายได้ที่เพียงพอ
ทัดเทียมกับวิชาชีพอื่น
และจะไม่เป็นหนี้