เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
การเดินทางไปยังสหภาพพม่าของรักษาการนายกฯ
และคณะ
ในวันที่
2
สิงหาคมที่ผ่านมา
โดยรักษาการนายกฯ
ได้ให้สัมภาษณ์ก่อนขึ้นเครื่องบินถึงประเด็นการไปเยือนพม่าว่า
“ประเด็นการหารือจะครอบคลุมทุกเรื่อง”
สำหรับรูปแบบการเจรจาเป็นการเจรจาในระดับผู้นำ
เพื่อปรึกษาหารือทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
ตามกำหนดการที่ผู้นำของไทยและพม่าได้หารือและวางแผนไว้ล่วงหน้า
ตามโอกาสและเวลาที่ทั้งสองฝ่ายสะดวกร่วมกัน
โดยจะหารือในประเด็นความร่วมมือที่ได้หารือกันไว้ให้มีความก้าวหน้า
อาทิ
การเกษตร
พลังงาน
รวมถึงมุ่งกระชับความสัมพันธ์ในเวทีระหว่างประเทศ
หากพิจารณาจากประเด็นข้างต้น
ผมพบข้อสังเกตเกี่ยวกับการชี้แจงเรื่องการเดินทางไปเยือนประเทศพม่าของรักษาการนายกฯ
ผ่านกรมประชาสัมพันธ์ว่า
เป็นการเดินทางตามแผนที่วางไว้
และเป็นประเด็นการพูดคุยแบบทั่วไป
แต่เหตุใดจึงรีบเร่งเดินทาง
เห็นได้จากการที่รักษาการนายกฯ
ได้เลื่อนการประชุมและรับประทานอาหารร่วมกับระดับปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เร็วขึ้นกว่าเดิม
1
ชั่วโมง
รวมถึงมีรายงานข่าวว่า
พล.อ.สนธิ
บุญยรัตนกลิน
ต้องยกเลิกกำหนดการลงไปบัญชาการในพื้นที่
3
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในเวลา
07.00
น.
ของวันที่
2
ส.ค.
เพราะต้องติดตาม
พ.ต.ท.ทักษิณ
เดินทางไปประเทศพม่าอย่างเร่งด่วน
ตลอดจนการตรวจสอบของนักข่าวในวาระงานทำเนียบไม่พบกำหนดการเยือนพม่าแต่อย่างใด
ความไม่สอดคล้องและความคลุมเครือในประเด็นของการเยือนพม่าครั้งนี้
ทำให้ผมเกิดความห่วงใยว่า
การกระทำดังกล่าวอาจสร้างความคลางแคลงใจต่อหลายฝ่ายที่ได้รับทราบเรื่อง
และอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตานานาชาติ
อาทิ
เป็นการสร้างคำถามในใจคนไทยว่า
“รักษาการนายกฯ
เดินทางไปพม่าเพื่อเหตุใด?
”
การเดินทางอย่างกระทันหันดังกล่าว
มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า
เป็นการไปเพื่อเจรจาผลประโยชน์ส่วนตัว
โดยอาศัยอ้างบทบาทหน้าที่
และช่องว่างในช่วงก่อนเลือกตั้ง
ที่กลไกการตรวจสอบยังไม่เกิดเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวใช่หรือไม่
ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเงินกู้จำนวน
4,000
ล้านบาทที่เคยอนุมัติให้กับรัฐบาลชุดที่แล้วก่อนมีการยึดอำนาจ
หรืออาจไปเพื่อหารือเรื่องการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่แม่น้ำสาละวิน
ซึ่งคนในรัฐบาลมีส่วนได้เสียกับโครงการดังกล่าว
เป็นการสร้างความแคลงใจแก่นานาชาติว่า
“ประเทศไทยมีจุดยืนอย่างไรต่อประเทศพม่า?”
การเดินทางไปเยือนพม่า
โดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจน
รวมถึงความคลุมเครือในเรื่องประเด็นการเจรจา
อาจทำให้ไทยถูกตั้งคำถามจากนานาประเทศ
ทั้งในกลุ่มอาเซียน
และในเวทีสหประชาชาติว่า
“ไทยมีจุดยืนอย่างไรต่อพม่า”
เพราะขณะนี้กลุ่มประเทศอาเซียน
และประเทศสมาชิกองค์กรสหประชาติ
ต่างมีท่าทีที่ไม่พอใจการกระทำของรัฐบาลพม่า
ดังเห็นได้จากในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ร่วมกันประณามการกระทำของรัฐบาลพม่าที่ไม่ฟังเสียงเรียกร้อง
และคำขอจากเพื่อนร่วมอาเซียนให้ปล่อยอองซาน
ซูจี
แม้แต่น้อย
ตลอดจนการปฏิบัติตัวของพม่าที่ไม่ยอมทำตามคำร้องขอของสหประชาชาติในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ทำให้มีการเสนอเรื่องของพม่าให้คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติถกกันอย่างตรงไปตรงมา
นอกจากนี้
การที่รักษาการนายกฯ
ไปเยือนพม่าในฐานะผู้นำประเทศ
โดยอ้างการเจรจาแบบทวิภาคี
และพหุภาคี
แต่กลับไม่มีในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องของนานาชาติในประเด็นข้างต้นนั้น
อาจทำให้ประเทศต่าง
ๆ
สงสัยในท่าทีที่อาจขัดแย้งกับจุดยืนที่กระทรวงต่างประเทศของไทยได้เคยประกาศเกี่ยวกับท่าทีต่อพม่าว่า
ต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีในพม่า
และต้องการให้ปัญหาในประเทศพม่าได้รับการแก้ไข
และยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า
การไปเยือนพม่าในช่วงเวลานี้
อาจกลายเป็นประเด็นที่ทำให้หลายประเทศทบทวนการสนับสนุนตัวแทนของประเทศไทยในการชิงเก้าอี้เลขาธิการองค์กรสหประชาติได้ด้วยหรือไม่
เพราะเข้าใจว่ารัฐบาลไทยหนุนหลังหรือเห็นด้วยกับการดำเนินงานภายในของพม่า
ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอให้รักษาการนายกฯ
เร่งชี้แจงรายละเอียดในการไปเยือนพม่าในทุกประเด็น
เพื่อสร้างความชัดเจนและตอบคำถามที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้
และขอให้ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นอุทธาหรณ์แก่ทุกฝ่ายในการดำเนินงานด้วยความโปร่งใส
มีความชัดเจนและคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อไป
|