เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ในรายการนายกทักษิณคุยกับประชาชน
เมื่อวันเสาร์ที่
1
กรกฎาคม
ที่ผ่านมา
รักษาการนายกรัฐมนตรีได้บรรยายถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
โดยระบุว่า
ในไตรมาสที่
1 ของปี
2549
เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี
แต่มีแนวโน้มแย่ลงในไตรมาสที่เหลืออยู่
ด้วยปัจจัยราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
การบริโภคหดตัวลง
และการลงทุนชะลอตัว
การส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจของรักษาการนายกฯ
ดังกล่าวข้างต้น
เป็นพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับพฤติกรรมในอดีตของนายกฯ
เพราะตลอดระยะเวลากว่า
5
ปีของการบริหารประเทศ
นายกฯ
ทักษิณมักจะส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจในเชิงบวก
และแทบไม่เคยกล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจในเชิงลบมาก่อน
แม้ในยามที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงก็ตาม
ดังจะเห็นได้จากการที่นายกฯ
เคยประกาศว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ
6 ร้อยละ
8
และร้อยละ
10
ในช่วงปี
2546
–2548
ตามลำดับ
แต่ในความเป็นจริงเศรษฐกิจในช่วงปีดังกล่าวกลับขยายตัวลดลงเรื่อย
ๆ
จากร้อยละ
7 ร้อยละ
6.2
และร้อยละ
4.5
ตามลำดับ
หรือตัวอย่าง
ในช่วงกลางปี
2548
ที่นายกฯ
ได้เชิญนักธุรกิจมาประชุม
และส่งสัญญาณเชิงบวกว่า
เศรษฐกิจปี
2548
จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ
5
ทั้ง ๆ
ที่ไตรมาสที่
1 ของปี
2548
เศรษฐกิจชะลอตัวลง
โดยขยายตัวเพียงร้อยละ
3.3
เช่นเดียวกับคนในรัฐบาลที่มักจะออกมาประสานเสียงในทิศทางเดียวกับนายกฯ
มาโดยตลอด
ดังตัวอย่างของรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่มักจะกล่าวถึงเศรษฐกิจในเชิงบวก
แม้หลังจากที่ศาลตัดสินให้การเลือกตั้งในวันที่
2
เมษายนเป็นโมฆะ
รมว.คลังยังออกมากล่าวว่าปัญหาการเมืองจะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
แต่ในเวลาต่อมาไม่นานนัก
รมว.คนเดิมกลับส่งสัญญาณในทางตรงกันข้าม
ล่าสุด
เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ
(เฟด)
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ
0.25 รมว.คลังรีบออกมาให้ความเห็นทันทีว่า
การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน
ทั้ง ๆ
ที่ประธานของเฟดส่งสัญญาณว่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย
ในขณะที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.)
ระบุว่า
ธปท.จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยของสหรัฐ
หรือในกรณีของ
ดร.โอฬาร
ไชยประวัติ
ซึ่งเป็นนักวิชาการและผู้บริหารที่ใกล้ชิดกับท่านนายกฯ
ได้ออกมาพยากรณ์เมื่อเร็ว
ๆ นี้ว่า
ในกรณีที่แย่ที่สุด
เศรษฐกิจปี
2549
อาจจะขยายตัวเพียงร้อยละ
2
นับเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าการพยากรณ์ของทุกสำนัก
ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ
3 ถึง
4.5
แม้ผมไม่ทราบว่า
ดร.โอฬาร
กำหนดข้อสมมติ
(Assumption)
ในการพยากรณ์ครั้งนี้อย่างไร
แต่ผมเชื่อว่าเป็นข้อสมมติที่ค่อนข้างเป็นแง่ลบมาก
ๆ
พฤติกรรมการพร้อมใจกันส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจในเชิงลบแบบสุดโต่งของรัฐบาลในเวลานี้
ทำให้เกิดผมข้อสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลที่เคยมีพฤติกรรมมองโลกในแง่บอกแบบสุดโต่ง
เมื่อพิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองที่รักษาการนายกฯ
กำลังถูกตำหนิและฟ้องร้องในกรณีที่กลับมาทำหน้าที่หลังจากที่เว้นวรรคไป
ข้อวิพากษ์เกี่ยวกับการกลับมาจัดรายการวิทยุ
และการใช้งบประมาณและจัดทำนโยบายต่าง
ๆ
ที่ถูกมองว่าเสียมารยาทในการสร้างภาระผูกพันไปยังรัฐบาลต่อไป
ผมจึงได้คำตอบของพฤติกรรมดังกล่าวว่า
อาจเป็นเพียงกลยุทธ์เดิม
ๆ
ที่รัฐบาลเคยใช้
คือการสร้างความกลัวให้แก่สังคม
เพื่อสร้างความชอบธรรมในการกลับมาทำหน้าที่นายกฯ
และการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
ไม่แตกต่างจากการสร้างกระแสว่า
ยาเสพติดกลับมาระบาดอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง

|