เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
หากยังคงให้วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง
รูปแบบการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก
ตามรัฐธรรมนูญ
2540
ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
เพราะไม่ได้สะท้อนความเป็นตัวแทนประชาชนที่แท้จริง
เมื่อปี
2543
ผมได้ทำวิจัยเพื่อวิพากษ์และนำเสนอวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทย
ภายใต้เขตเลือกตั้งจังหวัด
โดยวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือในการศึกษาที่เรียกว่า
การจำลองสถานการณ์แบบมอนติคาร์โล
(Monte
Carlo
Simulation)
มาประกอบในการวิเคราะห์
เพื่อชี้ให้เห็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
งานวิจัยฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นปัญหาสำคัญของระบบการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ส.ว.
ที่ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
โดยกำหนดให้แต่ละจังหวัดมีจำนวน
ส.ว.
ไม่เท่ากัน
และวิธีการลงคะแนนที่บังคับให้กาหมายเลขเลือกผู้สมัครได้เพียงเบอร์เดียวนั้น
เกิดปัญหาสำคัญคือ
ส.ว.
บางคนที่ได้รับเลือกในบางจังหวัดจะไม่สะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัด
เนื่องจากอาจเกิดเหตุการณ์ที่ผู้สมัครที่เป็นที่นิยม
“คนดัง”
ของประชาชนในจังหวัด
ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดึงคะแนนเสียงของประชาชนในจังหวัดไปในสัดส่วนที่สูง
ส่งผลให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น
ส.ว.
ในลำดับถัดลงมา
เกิดการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าจำนวนหลายคนเมื่อเทียบกับกรณีปกติที่ไม่มีคนดังลงสมัครรับเลือกตั้ง
ปัญหานี้จะเกิดกับจังหวัดที่มีผู้แทนได้มากกว่า
1
คนขึ้นไป
โดยเฉพาะจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในจังหวัดใหญ่อย่างเช่น
กรุงเทพฯที่มี
ส.ว.
ได้ถึง
18 คน
หรือ
นครราชสีมาที่มี
ส.ว. ได้
8 คน
เป็นต้น
ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งเป็น
ส.ว.
จำนวนหลายคนในกรณีที่มีคนดังลงสมัคร
จึงถูกกำหนดด้วยเสียงส่วนน้อยของผู้ลงคะแนนในจังหวัด
แทนที่จะถูกกำหนดด้วยเสียงส่วนใหญ่ตามหลักประชาธิปไตยเสียงข้างมากแบบตัวแทน
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้
ส.ว.
หลายคนที่ได้รับเลือกไม่สะท้อนความเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ในจังหวัดอย่างแท้จริง
ในงานวิจัย
ผมได้นำเครื่องมือการคำนวณทางสถิติที่เรียกว่า
Monte
Carlo
Simulation
มาประยุกต์ใช้
เพื่อจำลองสถานการณ์การเลือกตั้ง
ส.ว.
ในกรณีที่มีคนดังเข้ามาสมัครและมีผู้ลงคะแนนให้เป็นจำนวนมาก
เปรียบเทียบกับกรณีปกติที่ไม่มีคนดังลงสมัคร
แล้ววัดจำนวน
ส.ว.
ที่เปลี่ยนแปลงไปในกรณีของการกา
1
หมายเลข
เปรียบเทียบกับการกาได้มากกว่า
1
หมายเลขขึ้นไป
เพื่อดูว่าจำนวนหมายเลขที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถกาได้
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงตัว
ส.ว.
ที่ได้รับเลือกแตกต่างกันอย่างไร
จากผลการจำลองสถานการณ์กรณีการเลือกตั้ง
ส.ว.
กรุงเทพฯในการเลือกตั้งวันที่
4 มีนาคม
พ.ศ.
2543
พบว่า
มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน
ส.ว.
เปรียบเทียบกรณีการกาแบบต่าง
ๆ
อย่างมีนัยสำคัญ
กรณีกาได้
1
หมายเลขมีการเปลี่ยนแปลงจำนวน
ส.ว.
มากกว่าการกาได้เกิน
1
หมายเลขขึ้นไป
เช่น
กาได้ 2,3,4
…
18
หมายเลข
เป็นต้น
คำถามสำคัญ
คือ
ควรเลือก
ส.ว.
อย่างไร
จึงจะทำให้ได้
“ตัวแทน”
ประชาชนที่แท้จริง?
คำตอบที่ได้จากการวิจัยชิ้นนี้คือ
ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนตามจำนวน
ส.ว.
ในจังหวัด
จึงสะท้อนตัวแทนประชาชน
มากที่สุด
ในงานศึกษาชิ้นนี้ได้นำเสนอวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ส.ว.
รูปแบบใหม่
(ภายใต้เงื่อนไขความจำกัดของกรอบรัฐธรรมนูญฉบับ
พ.ศ.
2540
ในขณะนั้น)
ที่ให้
ส.ว.
เป็นตัวแทนระดับจังหวัด
โดยเสนอให้ผู้ลงคะแนนเลือกตั้งสามารถกาหมายเลขที่ตนต้องการได้มากกว่า
1
หมายเลข
แต่ไม่เกินจำนวน
ส.ว.
ที่จังหวัดนั้น
ๆ
พึงมีได้
ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแปลงในตัว
ส.ว.
ลดน้อยลงกรณีที่มีคนดังเข้ามา
อีกทั้ง
ยังทำให้
ส.ว.
ที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนมีโอกาสได้รับเลือกตั้งมากกว่า
อันทำให้
ส.ว.
ในจังหวัดนั้น
ๆ
โดยส่วนใหญ่สะท้อนถึงความเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ได้มากกว่าวิธีการกาหมายเลขได้เพียงหมายเลขเดียว
แม้ว่า
งานศึกษาชิ้นนี้จะได้จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี
2543
แต่งานศึกษาชิ้นนี้ยังคงคุณค่าในฐานะผู้เปิดมิติใหม่ทางความคิดในการเลือกตั้ง
ส.ว.
ไทย
และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในวาระแห่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้
เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบการเลือกตั้ง
ส.ว.
ที่มีความชอบธรรม
เพราะ ส.ว.
ที่ได้รับเลือกทุกคนสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเลือกตั้งนั้น
ๆ
อย่างแท้จริง
นอกจากนี้
ยังสามารถนำมาปรับใช้กับการเลือก
ส.ส.ได้
โดยหากให้มีการเลือกตั้ง
ส.ส.แบบรวมเขต
ควรให้ประชาชนสามารถลงคะแนนเลือก
ส.ส.ได้เท่ากับจำนวน
ส.ส.ที่มีในเขตนั้น
ๆ เช่น
เขตเลือกตั้งมี
ส.ส.3 คน
ประชาชนควรลงคะแนนเลือกได้
3 คน
เป็นต้น
จะทำให้
ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งในเขตนั้นสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนมากที่สุด
|