เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ท่าทีของรัฐบาลในการนำร่าง
แก้ไข
พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
พ.ศ.2517
กลับมาพิจารณาอีกครั้งภายหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกา
ยืนยันว่า
ร่างดังกล่าวที่จะให้ออกหวย
2 ตัว 3
ตัวนั้น
ไม่ได้เป็นการล้างมลทินให้กับรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
การเตรียมเรื่องเพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อนั้นได้เกิดเสียงสะท้อนถึงความกังวลใจจากหลายฝ่าย
กระแสสังคมที่มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ในการนำหวยบนดินกลับมาอีกครั้ง
ทำให้รัฐบาลต้องระมัดระวังอย่างมาก
เพราะเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน
ที่อาจกลายเป็นเป้าโจมตีในเรื่องการมอมเมาประชาชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจน
หรืออาจเป็นการชักนำเยาวชนให้เข้าสู่วงจรพนันเพิ่มขึ้น
เพราะหวยบนดินเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย
และมีราคาไม่แพง
ทั้งมีรางวัลก้อนโตเป็นสิ่งล่อใจ
การแก้ไขเรื่องพฤติกรรมที่คนที่นิยมเล่นพนันนั้น
อาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา
โดยเฉพาะการยกเลิกหวยในระยะเวลาอันใกล้คงไม่ใช่เรื่องง่าย
เนื่องจากหวยยังคงเป็นความหวังสำหรับหลายคนที่ใช้เงินลงทุนไม่มากและมีสิทธิในการรับรางวัลก้อนใหญ่
ประกอบการแนวคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่มองว่า
ผลกระทบด้านความเสี่ยงจากการเล่นหวยมีน้อยกว่าความเสี่ยงในชีวิตประจำวันอื่น
ๆ เช่น
อุบัติเหตุ
อาชญากรรม
และภัยธรรมชาติ
จึงกล้าเสี่ยงที่จะเล่นหวยต่อไป
อย่างไรก็ตามผมเห็นว่ารัฐบาลไม่ควรสนับสนุนให้เกิดการมอมเมาประชาชนในทุกรูปแบบ
เชิงเศรษฐศาสตร์เองมองว่า
การซื้อหวยบนดินจะทำให้ประเทศและประชาชนขาดเงินออม
เป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภาพ
เป็นเพียงการเปลี่ยนมือผู้เป็นเจ้าของเงิน
(Zero-sum
game)
ทำให้ผู้ซื้อสูญเสียโอกาสในการนำเงินไปบริโภค
ออม
หรือลงทุนอื่น
ๆ
รวมถึงขัดแย้งกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ขณะเดียวกันก็เข้าใจว่า
การจำกัดพฤติกรรมของคนที่นิยมเล่นหวยนั้น
เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลา
ด้วยเหตุนี้หากต้องนำหวยบนดินกลับมาอีกครั้ง
ผมเห็นว่า
ควรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่
เป็น
“สลากการออม”
ที่นำรายได้จากการขายสลากสร้างหลักประกันชีวิตแก่ประชาชน
ทั้งผู้ซื้อที่จะได้รับเป็นเงินออมระยะยาว
และเป็นการคืนสวัสดิการแก่สังคมได้ด้วย
แนวคิดที่ผมเสนอคือ
การกำหนดรูปแบบใหม่
“สลากการออม”
คล้ายการซื้อสลากออมสิน
ที่ผู้ซื้อจะได้รับประโยชน์ภายหลัง
หากแต่ผลตอบแทนแก่คนซื้อสลากชนิดนี้จะไม่ครบ
100%
เพราะผู้ซื้อมีแรงจูงใจในการลงทุนเพื่อให้ได้รางวัล
ไม่ใช่เกิดจากความตั้งใจนำเงินมาออม
โดย
แบ่งเงินที่ได้จากการขายสลากเป็น
3 ส่วน
ส่วนที่หนึ่งสำหรับใช้เป็นเงินรางวัล
ส่วนที่สอง
คืนแก่ผู้ซื้อในรูปของเงินออมหลังเกษียณ
ส่วนที่สาม
นำคืนสู่สังคม
โดยผ่านกระทวงการคลังที่จะนำไปจัดสรรใหม่ในรูปงบประมาณเพื่อสร้างสวัสดิการแก่สังคม
มีสถาบันทางการเงินรับเป็นเจ้าภาพ
ทำหน้าที่บริหารจัดการคล้ายกับธนาคารออมสินที่ดูแลเรื่องสลากออมสิน
อาจเปิดโอกาสให้ผู้ค้ารายย่อยนำสลากการออมที่สถาบันการเงินดูแลไปจำหน่ายได้
แต่ควรกำหนดเงื่อนไข
เพื่อสามารถรวบรวมข้อมูลผู้ซื้อนำกลับมาคิดเป็นเงินออมส่วนบุคคลต่อไป
การเพิ่มจำนวนแต่ลดมูลค่ารางวัลจูงใจ
เป็นการกระจายรางวัลไม่ให้เป็นเงินก้อนโตจนล่อใจผู้ซื้อ
จนทำให้เกิดนักเล่นหน้าใหม่เกิดขึ้น
ทั้งการเพิ่มจำนวนรางวัลทำให้ผู้ซื้อน้อยมีโอกาสถูกรางวัลมากขึ้น
คงต้องฝากให้รัฐบาลชุดนี้
รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พิจารณาอย่างรอบคอบ
ในการดำเนินการในเรื่องนี้
รวมถึงการหันมาให้ความสำคัญในการศึกษาผลกระทบ
และแนวทางป้องกันพฤติกรรมเล่นพนันทุกประเภทอย่างจริงจัง
เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยไม่หันชีวิตเข้าสู่วงจรพนัน
|