เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ผมจะขอขยายความข้อเปรียบเทียบระหว่างการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบ
“ทักษิโณมิกส์”
กับ
“เศรษฐกิจพอเพียง”
ให้กว้างออกไป
โดยใช้แนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์ของสำนักนีโอคลาสสิก
(Neoclassical
economics)
ซึ่งเป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ศึกษากันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
เป็นหลักอ้างอิงในมุมมองระหว่าง
Maximize
output
และ
Optimize
output
แนวคิดของเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอคลาสสิกได้เริ่มก่อตัวและพัฒนามาตั้งแต่ปี
พ.ศ.2413
จนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่
1
เศรษฐศาสตร์สำนักนี้ได้
มุ่งเป้าหมายที่การทำให้สวัสดิการของสังคมสูงสุด
(Maximize
social
welfare)
แต่เนื่องจาก
“สวัสดิการ”
เป็นเรื่องความสุขและความพอใจของปัจเจกบุคคล
ประกอบกับบริบทของสังคมในเวลานั้น
นักเศรษฐศาสตร์ในยุคนั้นจึงมีแนวคิดแบบวัตถุนิยม
(materialism)
จึงทำให้คิดว่าความสุขของมนุษย์เกิดจากการบริโภคสินค้าและบริการต่าง
ๆ
ดังนั้นปริมาณของสินค้าและบริการจึงถูกนำมาเป็นตัวแทนของระดับความสุขของคน
กล่าวคือ
หากสังคมสามารถผลิตและบริโภคสินค้าและบริการได้มากขึ้น
หมายความว่าสังคมได้รับสวัสดิการมากขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์จึงต้องมีวิธีวัดผลิตภัณฑ์มวลรวม
โดยกำหนด
GDP
ขึ้นมาเพื่อวัดมูลค่าของสินค้าและบริการที่ประเทศผลิตได้
การกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจแบบทักษิโณมิกส์
ทักษิโณมิกส์รับความคิดที่ใช้สินค้าและบริการมาเป็นตัวแทนของสวัสดิการประเทศอย่างเต็มรูปแบบ
สังเกตได้จากการที่รัฐบาลทักษิณให้ความสำคัญสูงสุดกับเป้าหมายทางด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
นับครั้งไม่ถ้วนที่
พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร
อดีตนายกฯ
ประกาศตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้นมายืนยันความสำเร็จในการบริหารประเทศของตน
การตั้งเป้าหมายการเติบโตของ
GDP
สูงสุดเป็นเป้าหมายแรก
ทำให้
GDP
กลายฐานะเป็นเป้าหมายปลายทางแทนที่จะเป็นเพียงตัวแทน
อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดทักษิโณมิกส์มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจคือการทำให้
GDP
สูงที่สุด
(Maximizing
GDP)
ดูเหมือนว่าทักษิโณมิกส์ได้ละเลยเป้าหมายด้านสวัสดิการสังคม
ซึ่งเป็นเบื้องหลังที่แท้จริงของการใช้
GDP
ตัวแทน
เช่น
รัฐบาลทักษิณพยายามเร่งอัดฉีดเงินลงในระดับรากหญ้า
โดยมุ่งทำให้อุปสงค์มวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้น
และสุดท้าย
GDP
ของประเทศจะเพิ่มขึ้น
โดยอาจลืมไปว่าการอัดฉีดเงินลงไปในลักษณะสินเชื่อนั้น
ในอีกด้านหนึ่งทำให้ชาวบ้านมีหนี้สินมากขึ้น
ซึ่งการเป็นหนี้สินนี้กลับทำให้คนเป็นทุกข์ต่อมาในระยะยาว
เพื่อแลกกับการได้บริโภคสินค้าและบริการในระยะสั้น
การกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ในทางตรงกันข้าม
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการวิพากษ์การใช้ปริมาณสินค้าและบริการในฐานะตัวแทนของ
“สวัสดิการ”
ของประเทศ
ทั้งเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกและเศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายปลายทางคือ
สวัสดิการสังคมเหมือนกัน
แต่เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้เชื่อว่าสินค้าและบริการเท่านั้นที่นำมาซึ่งความสุข
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ไม่ได้เชื่อว่าการที่ได้บริโภคสินค้าและบริการที่สูงขึ้นหมายความว่าคนจะมีความสุขมากขึ้นตามไปด้วย
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ได้ตั้งเป้าหมายเป็นการทำให้ปริมาณสินค้าและบริการสูงสุด
หรือการทำให้การเติบโตของ
GDP
สูงที่สุด
ทั้งนี้เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าปัจเจกควรผลิตและบริโภคสินค้าและบริการ
ในปริมาณที่เหมาะสม
(optimal
product)
ซึ่งจะทำให้แต่ละคนได้รับความสุขสูงสุด
(Maximizing
Happiness)
นอกจากนี้เศรษฐกิจพอเพียงยังมองปัจจัยที่กำหนดความสุขของคนว่า
มีหลากหลายตามความเฉพาะเจาะจงของปัจเจกบุคคล
ดังนั้น
การสร้างสวัสดิการของสังคมจึงมิใช่การพยายามสร้างวัตถุหรือทำให้คนมีรายได้ให้มากที่สุดเพื่อจะให้ตนเองมีความสุขมากที่สุดเท่านั้น
แต่เป็นการทำให้แต่ละคนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะตัวของเขาเอง
แม้เศรษฐกิจพอเพียงจะเห็นว่า
บุคคลไม่ได้ทำการโดยมีเหตุผลเชิงเศรษฐศาสตร์เสมอไป
แต่ไม่ได้เห็นด้วยกับการตัดสินใจที่ขาดเหตุผล
แต่กลับเห็นว่ามนุษย์ควรตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
และใช้สติปัญญาในการดำเนินกิจกรรมต่าง
ๆ
ทางเศรษฐกิจ
หลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ต้องการให้มนุษย์ใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และความพึงพอใจส่วนตนสูงสุด
แต่เป็นการใช้เหตุผลในการแสวงหาผลประโยชน์และความพึงพอใจอย่างพอประมาณหรืออย่างสมดุล
ผมจึงเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า
“บุคคลที่ได้ทรัพย์สมบัติในโลกนี้มากที่สุด
ไม่ได้หมายความว่า
เขาจะมีความสุขมากที่สุด
แต่บุคคลที่ให้ออกไปมากที่สุดและดำรงตนอยู่ด้วยความพอดี
อาจมีความสุขมากที่สุดก็เป็นได้”
|