เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
จากความเข้าใจไม่ครบถ้วนของสื่อต่างประเทศที่หยิบเอาแนวคิด
”เศรษฐกิจพอเพียง”
ขึ้นมาเปรียบเทียบกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบ
“ทักษิโณมิคส์”
จึงให้ทัศนะที่ออกมาค่อนข้างผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง
ดังนั้นผมจึงอยากชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างของทั้งสองแนวคิด
และเพื่อความเข้าใจที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น
โดยบทความนี้จะขอเปรียบเทียบลักษณะการเลือกกลยุทธการตัดสินใจแบบ
Maximax
และ
Maximin
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในทฤษฎีเกม
(Game
theory)
ของ John
Nash
เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี
1994
กลยุทธ์การตัดสินใจแบบทักษิโณมิคส์
ลักษณะกลยุทธในการเลือกตัดสินใจในแนวคิดทักษิโณมิคส์เป็นแบบ
Maximax
Strategy
โดยจุดเด่นของกลยุทธดังกล่าวคือ
เป็นลักษณะของคนที่มองโลกในแง่ดีแบบสุดโต่ง
โดยผู้ที่ตัดสินใจจะพิจารณาเฉพาะผลตอบแทนที่มากที่สุดที่เป็นไปได้
ซึ่งจะมีผลตอบแทนสูงสุดอยู่เพียง
1
ค่าในทางเลือกแต่ละทาง
และจะเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในบรรดาผลตอบแทนที่มากที่สุดที่เป็นไปได้ของทางเลือกทั้งหมด
ในทางตรงข้าม
หากตัดสินใจผิดจะมีความเสี่ยงสูงสุดเช่นเดียวกัน
เนื่องจากผลตอบแทนจากทางเลือกที่เลือกนั้น
ขึ้นอยู่กับบริบทของสภาพแวดล้อมที่มีพลวัตร
ซึ่งนอกจากองค์กรธุรกิจจะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงแล้ว
ยังรวมถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติที่บรรดาประเทศทั้งหลายต่างพร้อมที่จะงัดเอามาตรการของตนออกมา
เพื่อโต้ตอบประเทศคู่ค้าและชิงความได้เปรียบ
ดังนั้นในโลกแห่งความเป็นจริงการตัดสินใจด้วยกลยุทธ์นี้อาจไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับการบริหารประเทศ
เนื่องจากเป็นการนำประเทศอย่างสุ่มเสี่ยง
ไม่คำนึงมาตรการใด
ๆ
รองรับความไม่แน่นอนซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เสมอ
การตัดสินใจดำเนินนโยบายส่วนใหญ่ของรัฐบาลทักษิณเต็มไปด้วยความสุ่มเสี่ยง
ซึ่งหากพิจารณาผลของนโยบายดังกล่าวเพียงผิวเผินอาจดูสวยหรู
เช่น
โครงการเมกะโปรเจกต์โดยใช้งบประมาณมหาศาล
การเร่งผลักดันการเจรจาเปิดเสรีทางการค้า
การเน้นการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
หรือหวยบนดิน
เป็นต้น
แต่โครงการเหล่านี้ขาดมาตรการรองรับความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ซึ่งหากสถานการณ์เปลี่ยนผลของนโยบายคงไม่สวยหรูอย่างที่คิด
เช่น
อาจเกิดต้นทุนบานปลายในโครงการเมกะโปรเจกต์
ประชาชนเป็นหนี้มากขึ้น
ภาคการเกษตรล่มสลายอันเนื่องจากการเปิดเสรี
เป็นต้น
กลยุทธ์การตัดสินใจแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ในทางกลับกัน
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมีการเลือกตัดสินใจแบบ
Maximin
Strategy
ซึ่งเป็นกลยุทธการตัดสินใจที่เลือกทางที่เสียหายน้อยที่สุด
หรือเป็นการเลือกทางที่เจ็บตัวน้อยที่สุด
อาจเรียกว่าเป็นกลยุทธของคนที่มองโลกในแง่ร้ายมากกว่าแนวคิดทักษิโณมิคส์
โดยจะตัดสินใจจากผลตอบแทนที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้
ซึ่งมี
1
ค่าในทางเลือกแต่ละทาง
และเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดจากบรรดาผลตอบแทนที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ของทางเลือกทั้งหมด
กลยุทธ์นี้อาจเรียกง่าย
ๆ ว่า
“ปลอดภัยไว้ก่อน”
ตัวอย่างในกรณีการตัดสินใจออมเงิน
คนที่ใช้กลยุทธ์แบบ
maximax
อาจออมเงินโดยซื้อสลากออมสินเนื่องจากมีโอกาสสูงสุดในถูกรางวัลถึง
3
ล้านบาท
แต่คนที่ใช้กลยุทธ์แบบ
maximin
อาจออมเงินโดยฝากประจำ
12
เดือนในธนาคารที่มั่นคง
เนื่องจากแม้มีผลตอบแทนเพียงร้อยละ
4.5
ต่อปี
แต่สามารถแน่ใจได้ว่า
จะสามารถได้ผลตอบแทนดังกล่าวอย่างแน่นอน
เป็นต้น
ในสถานการณ์ที่เราไม่ทราบบริบทแวดล้อมที่แน่นอน
โดยเฉพาะการไม่อาจรู้ถึงการตัดสินใจของคู่แข่งขัน
ดังนั้น
กลยุทธ
Maximin
จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยเพราะเป็นทางที่คาดว่าจะเสียหายน้อยที่สุด
ซึ่งกลยุทธนี้สอดคล้องกับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงที่ตระหนักถึงความไม่แน่นอนของโลกที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนจากทางเลือกที่เราได้เลือกไปลดลงกว่าที่คาดไว้
และการลดลงนั้นอาจเป็นได้ว่าจะลดลงจนถึงค่าต่ำสุดที่เป็นไปได้
สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ
ประเทศไม่ใช่เป็นเพียงหน่วยธุรกิจเดียวที่สามารถนำเข้าไปเลี่ยงได้
และสามารถรับผลเสียหายของความเสี่ยงเองได้
โดยไม่มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ
ซึ่งเกิดจากการตัดสินใจของคนเพียงไม่กี่คนที่มีอำนาจบริหารประเทศ
ผมคิดว่าการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศก่อนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ในโลกที่กำลังมุ่งหน้าไปสู่เศรษฐกิจแบบเสรี
ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจจากความผันผวนต่าง
ๆ ของ
โลกเพิ่มสูงขึ้น
ที่สำคัญการจัดให้มีระบบป้องกันความเสี่ยง
เป็นการแทรกแซงกลไกเพื่อลดความเสี่ยงที่ภาคเอกชนอาจต้องแบกรับ
เป็นการแก้ไขจุดอ่อนของเศรษฐกิจเสรี
ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน
และผู้ที่เข้าแข่งขันโดยไม่รู้เท่าทันโลก
และเป็นภูมิคุ้มกันระบบเศรษฐกิจของประเทศจากความแปรปรวนของเศรษฐกิจโลก
|